

สรุปข่าว
การดื่มและสังสรรค์ ถือเป็นของคู่กันกับมนุษย์มาอย่างเนิ่นนาน ในอดีตผู้คนเรียนรู้ที่จะสร้างความสุข สนุกสนานให้กับตัวเองด้วยการจัดงานเลี้ยง งานสังสรรค์ และของที่มักอยู่คู่กันก็ไม่พ้นสุรา ของมึนเมาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิถีปฏิบัตินี้ถูกส่งต่อมายังปัจจุบันและยังเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และของมึนเมาต่างๆ สามารถสร้างความสนุกสนานได้ก็จริง แต่หากเราดื่มมากเกินไป สิ่งเหล่านี้ก็สามารถกลับมาทำลายสุขภาพของเราได้เหมือนกัน
"5 โรคยอดฮิต" ที่มาพร้อมฤทธิ์จากแอลกอฮอล์ มีอะไรบ้าง?
การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นสุรา เบียร์ ไวน์ และอื่นๆ สามารถส่งผลต่อสุขภาพของคุณ บางกรณีอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปดู 7 โรคยอดฮิตที่มาพร้อมฤทธิ์จากแอลกอฮอล์ ดังนี้
1. โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ คุณจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น สมองเสื่อม และการพัฒนาสมองบกพร่อง ประสาทหลอน และระบบประสาทเสียสมดุล มากกว่าคนทั่วไป
2. โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
การดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โดยมีการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 100 กรัม หรือ 7 - 10 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าคนปกติทั่ว และอาจทำให้อายุสั้นลง 6 เดือน - 5 ปี
3. ไขมันพอกตับ/ตับแข็ง
ไขมันพอกตับและตับแข็ง ถือเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของผู้ที่ดื่มสุราอย่เป็นประจำต้องประสบพบเจอ เพราะตัวแอลกอฮอล์นี้มีน้ำตาลอยู่ในปริมาณที่สูงมาก อาจนำไปสู่การเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมัน และไปสะสมอยู่ที่เซลล์ตับเป็นต้น
4. โรคเบาหวาน
อย่างที่ทุกคนรู้ ตัวเครื่องแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ มักเต็มไปด้วยน้ำตาลในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นหากเราดื่มเครื่องดื่มแอลกอออล์เป็นประจำ จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้
5. โรคความดันโลหิตสูง
และโรคยอดฮิตที่มักมาคู่กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก โรคความดันโลหิตสูง โดยตัวแอลกอฮอล์นี้จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและนำไปสู่การเป็นภาวะความดันโลหิตสูงได้
ข้อเสียอื่นๆ จากการดื่มสุรา มีอะไรบ้าง?
1. ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจลดลง
2. ความสามารถในการมองเห็นลดลง
3. การควบคุมร่างกาย และการทรงตัวประสิทธิภาพลดลง
4. คลื่นไส้ อาเจียน
5. การตอบสนองและตัดสินใจช้าลง
6. อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ควบคุมตัวเองไม่ได้
ที่มาข้อมูล : กรมสุขภาพจิต, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาภาพ : freepik/jcomp
ที่มาข้อมูล : -