หมีมีสัญชาตญาณในการจำศีลเพื่อประหยัดพลังงานในช่วงฤดูหนาว โดยจะเริ่มหาถ้ำหรือโพรงเมื่ออุณหภูมิเริ่มลดลงและแหล่งอาหารหายาก ในช่วงที่หมีจำศีล อุณหภูมิร่างกายจะลดลงจาก 43°C เหลือ 31°C และอัตราการหายใจจะลดลงจาก 6-10 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 1 ครั้งทุก 45 วินาที นอกจากนี้ การเต้นของหัวใจก็จะลดลงจาก 40-50 ครั้งต่อนาที เหลือแค่ 8-19 ครั้งต่อนาที การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยให้หมีประหยัดพลังงานและอยู่รอดได้ยาวนานขึ้น
สรุปข่าว
หมีจะหาถ้ำหรือโพรงที่มีขนาดพอดีตัวเพื่อจำศีล และมักจะกลับมาจำศีลในพื้นที่เดิมทุกปี โดยหมีสีน้ำตาลจะอยู่ห่างจากโพรงเดิมไม่เกิน 6 กิโลเมตร ส่วนหมีสีดำในพื้นที่ที่มีอากาศอุ่น เช่น เม็กซิโก อาจจำศีลได้แค่ 3-4 เดือน ในขณะที่หมีในพื้นที่ที่หนาวเย็น เช่นในประเทศแคนาดา อาจจำศีลได้ถึง 7 เดือน
การจำศีลของหมีนั้น เมื่ออุณหภูมิเริ่มลดลงและแหล่งอาหารหายาก จะช่วยให้หมีสามารถรักษาพลังงานในช่วงที่ไม่สามารถหาอาหารได้ แต่เนื่องจากการที่อุณหภูมิในโลกเพิ่มขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้หมีต้องตื่นจากการจำศีลเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งไม่สามารถจำศีลได้นานเท่าที่ควร นอกจากนี้อาจทำให้ลูกหมีในบางพื้นที่เสี่ยงต่อการเติบโตไม่เต็มที่ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้แม่หมีต้องออกจากถ้ำเร็วขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกหมีต้องการเวลาในถ้ำเพื่อเพิ่มน้ำหนักและเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญกับสภาพอากาศข้างนอก
การจำศีลของหมีช่วยให้มันอยู่รอดในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและอาหารจำกัด แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้หมีต้องออกจากถ้ำเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกหมีและความอยู่รอดในระยะยาวนั่นเอง
ที่มาข้อมูล : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มารูปภาพ : TNN EARTH

สุหัชชา สวัสดิพรพัลลภ