โลกร้อนทำพายุปั่นป่วน “ดร.ธรณ์” ชี้ ไซโคลนในออสเตรเลียเกิดยากมาก แต่เกิดขึ้นแล้ว

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางเทะล เปิดเผยผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า โลกร้อนทำให้พายุเริ่มผิดปรกติ ไซโคลนอัลเฟรดซัดถล่มโกลด์โคสต์อย่างรุนแรง ถือเป็นพายุแรงสุดในเขตนี้ในรอบเกิน 50 ปี นี่คือตัวอย่างของ Extreme Weather สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว ที่กลายเป็นความเสี่ยงอ้นดับหนึ่ง สูงสุดใน Global Risk Ranking

 

ผมเรียนที่ออสเตรเลีย ใช้ชีวิตอยู่ในชายฝั่งควีนส์แลนด์ 4 ปี พายุแถวนั้นเรียกไต้ฝุ่น หากจะเข้าก็เป็น North Queensland แถวเมืองที่ผมอยู่ พายุไม่เคยลงไปทางใต้แถวบริสเบน คนแถวนั้นไม่รู้จักไต้ฝุ่นด้วยซ้ำ เมื่อได้ยินว่า Cyclone Alfred พัดเข้าโกลโคสต์ อันดับแรกที่สงสัย ทำไมเรียกไซโคลน ทำไมไม่เรียกไต้ฝุ่น ที่จริงแล้วไต้ฝุ่น ไซโคลน เฮอริเคน ล้วนเป็นพายุหมุนเขตร้อน ไม่มีอะไรต่างกันในแง่พายุ แต่ต่างกันที่ชื่อเรียกเท่านั้น พายุแถวแปซิฟิกตะวันออก จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย เราเรียกไต้ฝุ่น เรียกเฮอริเคนในอเมริกา/แอตแลนติก เรียกไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลียก็เรียกไต้ฝุ่น แต่พอลงใต้มากๆ เรียกไซโคลนเฉยเลย ทั้งที่เป็นรัฐเดียวกันด้วยซ้ำ (รัฐควีนสแลนด์) 


จะอย่างไรก็ตาม ผมไม่คุ้นกับชื่อไซโคลน คนออสซี่แถวนั้นก็ไม่คุ้น เพราะมันเกิดยากมาก ชื่อพายุหมุนเขตร้อน พวกเราทราบดีว่าก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อน ทะเลที่ดูดซับความร้อนไว้กว่า 90% ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ปี 66 ทะเลร้อนจนเป็นสถิติใหม่ ซึ่งอยู่ได้แค่ปีเดียว เพราะปี 67 ร้อนกว่าปี 66 ส่วน ปี 68 ทะเลจะร้อนแค่ไหน ยังบอกไม่ได้ แต่บอกได้ว่าทะเลที่ร้อนมากขึ้น เริ่มทำให้พายุเกิดในเขตที่แทบไม่เคยเกิด

โลกร้อนทำพายุปั่นป่วน “ดร.ธรณ์” ชี้ ไซโคลนในออสเตรเลียเกิดยากมาก แต่เกิดขึ้นแล้ว

สรุปข่าว

ผลกระทบจากโลกร้อนทำให้พายุในบางพื้นที่รุนแรงขึ้น เช่น "ไซโคลนอัลเฟรด" ที่ถล่มโกลด์โคสต์ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ชี้ให้เห็นว่าโลกร้อนทำให้ทะเลร้อนขึ้น และส่งผลให้พายุเกิดในพื้นที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการกัดเซาะชายฝั่งที่อาจต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นฟู


“อัลเฟรด” พัดใส่ชายฝั่งแถวบริสเบน โกลโคสต์ที่อยู่ห่างบริสเบนไปทางใต้ 60-70 กม.เจอผลกระทบเข้าไปเต็มๆ ชายฝั่งแถวนี้เปิดรับลม หาดทรายสีทองกว้างใหญ่ คลื่นในทะเลปรกติก็สูงพอประมาณ เป็นแหล่งเล่นกระดานโต้คลื่นชั้นดี แต่พอพายุเข้ามา คลื่นพอประมาณกลายเป็นคลื่นยักษ์ สูง 15-16 เมตร ถล่มใส่ชายฝั่งรุนแรง ทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างหนัก บางแห่งทรายหายไปกลายเป็นเหวลึก 5-6 เมตร จึงเกิดภาพแบบที่เอามาโชว์เพื่อนธรณ์ ภาพบนเป็นภาพสมัยก่อน ผมถ่ายเอง ภาพล่างนำมาจากสำนักข่าวในออสเตรเลีย (ABC news) เป็นหาดหลังพายุ เมื่อทรายหายไปขนาดนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ที่สำคัญคือไม่มีใครรู้ว่าทรายจะกลับมาเมื่อไหร่ เพราะเดิมทีไม่มีพายุแบบนี้อยู่แล้ว การสะสมทรายใหม่ให้เป็นเหมือนเดิมอาจกินเวลาหลายต่อหลายปี ยากที่จะคาดคะเน หากจะขุดทรายในทะเลมาถม ก็ต้องคิดถึงเงินมหาศาล ว่าง่ายๆ คือที่หาดพัทยาบ้านเรา ลงทุนไปกว่า 500 ล้าน เพื่อถมทรายขยายหาด หากเป็นออสเตรเลีย ค่าแรงแพง หาดยาวกว่าหนากว่าเยอะ เรากำลังพูดถึงเงินเป็นพันๆ ล้าน นั่นคือตัวอย่างง่ายๆ ของโลกร้อนส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ยังไม่นับผลที่เกิดต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผลกระทบจากพายุและการกัดเซาะชายฝั่ง เกิดขึ้นหลายแห่งในเมืองไทย โดยเฉพาะในเขตที่เดิมทีพายุไม่ค่อยแรง

แต่โลกร้อนทำให้ทะเลร้อน พายุได้พลังจากทะเล คลื่นแรงขึ้น ทำให้ชายฝั่งโดนกัดเซาะหนัก ยกตัวอย่างก็ได้ เอาแบบที่เจอเลย ผมมีที่ชายทะเลอยู่แถวเพชรบุรี คุณพ่อซื้อไว้ 50 ปีแล้ว ตรงนั้นแทบไม่มีคลื่น ทรายงอกหาดสวยงาม ให้เขาเช่าทำที่พักกับคาเฟ่ริมทะเล พายุปีที่แล้วถล่มเข้ามา คลื่นพัดข้ามมา เสียหายไปเยอะเลย ทั้งที่สมัยก่อนคลื่นไม่เคยเข้ามาถึง ปัจจุบันเริ่มเกิดบ่อยขึ้น กะว่าจะปล่อยหาดโล่งอิงธรรมชาติ ไม่ทำเขื่อน แต่ตอนนี้ก็อาจต้องคิดใหม่ นั่นคือตัวอย่างง่ายๆ ของผลที่เกิดจากโลกร้อน และมันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดนกันทุกคนครับ คนออสเตรเลีย คนไทย อาจารย์ธรณ์ เราก็ต้องปรับตัวกันไป ควักกระเป๋ากันไป เกิดมายุคนี้ สู้ๆ นะครับทุกคน