พบ "พะยูน" ในรอบ 7 ปี พร้อมฝูงโลมาอิรวดี ทะเลตราด

เพจเฟซบุ๊กของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความ หลังออกสำรวจประชากรสัตว์ทะเลหายากในถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดีที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย บริเวณทะเลตราด โดยใช้วิธีการบินสำรวจด้วยเครื่องบินเล็กไร้คนขับแบบปีกตรึง ขณะบินสำรวจพบ “พะยูน” เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ของบ้านไม้รูด ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ นอกจากนี้ยังพบฝูงโลมาอิรวดี 20 ตัว จากการบิน 13 เที่ยวบิน ตลอดการสำรวจ ซึ่งมีโลมาคู่แม่ลูก จำนวน 6 คู่ ที่หาอาหารอยู่ในบริเวณเดียวกันอีกด้วย

ส่วนการพบพะยูน หาอาหาบริเวณบ้านไม้รูดครั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งหญ้ากุยช่ายเข็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในเมนูโปรดของพะยูน และเต่าตนุด้วย เบื้องต้นจากการสำรวจครั้งนี้ เจ้าหน้าที่พบสัตว์ทะเลรวม 3 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี 45 ตัว พะยูน 1 ตัว และเต่าทะเลไม่ทราบชนิด 1 ตัว โดยการพบเจอในครั้งนี้จะนำข้อมูลประเมินร่วมกับทางทีมที่ทำการสำรวจทางเรือ และสรุปเป็นจำนวนประชากรต่อไป

พบ "พะยูน" ในรอบ 7 ปี พร้อมฝูงโลมาอิรวดี ทะเลตราด

สรุปข่าว

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกได้ออกสำรวจประชากรสัตว์ทะเลหายากในทะเลตราด โดยใช้เครื่องบินเล็กไร้คนขับ พบพะยูนเป็นครั้งแรกใน 7 ปี ที่บ้านไม้รูด ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ รวมถึงฝูงโลมาอิรวดี 20 ตัว ซึ่งมีโลมาคู่แม่ลูก 6 คู่ด้วย พื้นที่นี้เป็นแหล่งหญ้ากุยช่ายเข็มที่เป็นอาหารโปรดของพะยูนและเต่าตนุ สรุปจากการสำรวจพบสัตว์ทะเล 3 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี 45 ตัว พะยูน 1 ตัว และเต่าทะเลไม่ทราบชนิด 1 ตัว ซึ่งการสำรวจนี้จะนำข้อมูลมาใช้ประเมินจำนวนประชากรสัตว์ทะเลในพื้นที่ต่อไป หากพบเห็นสัตว์ทะเลเกยตื้นหรือบาดเจ็บ แจ้งสายด่วน 1362

จากการสำรวจด้วยเครื่องบินเล็กที่พบพะยูนที่จังหวัดตราด ในปี 2561 หลังจากนั้นก็ไม่ได้พบอีกเลย คาดว่าไม่ได้มีการบินสำรวจอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2566 ได้มีการบินสำรวจด้วยโดรนขนาดใหญ่ บริเวณบ้านไม้รูด แต่ก็ไม่พบพะยูนหรือร่องรอยของพะยูนแต่อย่างใด จนในปีนี้ได้มีการกลับมาบินสำรวจด้วยโดรนขนาดใหญ่อีกครั้งถึงได้มีการพบพะยูนเข้ามาหากินในจุดดังกล่าว 

สุดท้ายนี้หาก พบเห็นโลมา พะยูน เต่าทะเล วาฬ เกยตื้นหรือบาดเจ็บ แจ้งสายด่วน 1362