ตัวอย่างหินดวงจันทร์ บ่งชี้ครั้งหนึ่งพื้นผิวดวงจันทร์เคยเป็นมหาสมุทรแมกมา

กลุ่มนักวิจัยที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน เปิดเผยข้อมูลลงในวารสาร ไซแอนซ์ (Science) ฉบับล่าสุด โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาตัวอย่างที่ได้มาจากดวงจันทร์ ซึ่งเก็บมาจากภารกิจฉางเอ๋อ-6 ของจีน เมื่อปีที่แล้ว ทำให้พบว่า องค์ประกอบของหินบะซอลต์ ที่มีอายุกว่า 2,800 ล้านปี ซึ่งเก็บมาจากจุดที่ห่างกันบนดวงจันทร์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเป็นการยืนยันทฤษฎีที่ว่า ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เกิดใหม่ เคยมีเหตุการณ์หลอมละลายเกิดขึ้นทั่วทั้งดวงจันทร์ และเกิดเป็นแมกมาปริมาณมหาศาล หรือเรียกว่า มหาสมุทรแมกมา

ตัวอย่างหินดวงจันทร์ บ่งชี้ครั้งหนึ่งพื้นผิวดวงจันทร์เคยเป็นมหาสมุทรแมกมา

สรุปข่าว

หินบะซอลต์บนดวงจันทร์มีลักษณะคล้ายกันทั่วทั้งดวงจันทร์ บ่งชี้ได้ว่าดวงจันทร์เคยมีมหาสมุทรแมกมาเมื่อก่อตัวขึ้นใหม่

มีการอธิบายว่า เมื่อแมกมาเย็นลงและเกิดการตกผลึก แร่ที่มีความหนาแน่นต่ำจะลอยขึ้นมาสร้างเป็นเปลือกดวงจันทร์ ส่วนแร่ที่มีความหนาแน่นสูงก็จะจมลงไปก่อตัวเป็นชั้นผิวของดวงจันทร์ ส่วนแมกมาที่เหลือที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เข้ากันได้ยาก ก็รวมกันก่อตัวเป็นชั้นผิวของดวงจันทร์ที่มีชื่อว่า “ครีพ” หรือ KREEP  ที่มีอยู่แทบจะทุกบริเวณ 


องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ระบุว่า ข้อมูลการวิจัยนี้จะช่วยให้สามารถศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของดวงจันทร์ได้มากยิ่งขึ้น และทางองค์กรก็ยังมุ่งมั่นที่จะวิจัยเกี่ยวกับดวงจันทร์ พร้อมทั้งแบ่งปันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กับประชาคมระหว่างประเทศ

ที่มาข้อมูล : Reuters

ที่มารูปภาพ : Reuters