เปิดภาพ "จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด" ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ เผยให้เห็นถึง "จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด" HH30 ภายในเนบิวลามืด LDN 1551 อยู่ในกลุ่มก้อนเมฆโมเลกุลบริเวณกลุ่มดาววัว มันกำลังถือกำเนิดขึ้นเป็น "ระบบสุริยะ" ใหม่ ซึ่งกล้อง JWST ได้เปิดเผยให้เห็นถึงรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งปกติดาวฤกษ์และดาวเคราะห์จะถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จากการรวมตัวของแก๊สในอวกาศภายใต้แรงโน้มถ่วง และค่อยๆ วนกันเป็นจาน (disk) ก่อนที่จะก่อตัวไปเป็นดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่อไป

เปิดภาพ "จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด" ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน

สรุปข่าว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพ "จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด" จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด หรือ protoplanetary disk นี้ มักจะถูกซ่อนอยู่ภายใต้เมฆอันหนาทึบ ทำให้สังเกตได้ยาก แต่กล้อง JWST อาศัยความถี่ในช่วงคลื่นอินฟราเรดที่สามารถทะลุทะลวงเมฆโมเลกุลออกมาได้ ทำให้เห็นแถบฝุ่นหนาในแนวระนาบ ที่จะก่อตัวไปเป็นระนาบสุริยวิถี หรือแนวที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ และจะพบดาวเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในบริเวณนี้ต่อไป นอกจากนี้ เรายังเห็นแนวแก๊สที่ค่อย ๆ หมุนวนลงไป รวมถึงแก๊สที่แก๊สค่อย ๆ ฟุ้งออกมาจากจานซึ่งดูคล้ายกับ "หาง"

อย่างไรก็ตามภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงส่วนของแก๊สร้อนที่ถูกผลักออกมาเป็น jet แคบตามขั้วในการหมุนทั้งสองของระบบดาว ซึ่งภาพทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถทำความเข้าใจกระบวนการก่อกำเนิดระบบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นเดียวกับระบบสุริยะของเราได้