ส่อง "เคย" จากอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ทำไปทำไม เกี่ยวอะไรกับโลกร้อน

ทำไมนักวิทยาศาสตร์ต้อง ส่องลงมาดู “กุ้งเคย” จากอวกาศด้วย

คุณรู้จักกุ้งเคย หรือชื่อภาษาอังกฤษ คริล ใช่ไหม มันเป็นกุ้งขนาดเล็กจิ๋ว ยาวไม่เกิน 3.4 เซนติเมตร ที่เอามาทำกะปินั่นแหละ

แต่ที่สำคัญ มันเป็นฮีโร่ของท้องทะเล เพราะเป็นอาหารสำคัญของสัตว์น้ำหลายชนิด และมันช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย

รู้ไหมว่า กุ้งเคย ช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้หลายพันล้านตันต่อปี แล้วยังเป็นอาหารสำคัญของสัตว์ทะเล แล้วมนุษย์ยังนำมาเป็นอาหารให้ปศุสัตว์ด้วย 

มูลค่าการค้าเคยในตลาดโลก สูงถึง 14,600 ล้านบาทเลยทีเดียวในปี 2019 

ประโยชน์มหาศาล และถือเป็นสัตว์ปริมาณมากที่สุด และสำคัญที่สุดชนิดหนึ่ง แต่เคยกลับถูกเพิกเฉยมานาน 

ส่อง "เคย" จากอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ทำไปทำไม เกี่ยวอะไรกับโลกร้อน

สรุปข่าว

รู้จัก “กุ้งเคย” ไหม ที่เอามาทำกะปินั่นแหละ แต่รู้ไหมว่า เคย (krill) มีส่วนสำคัญต่อสัตว์ทะเล และช่วยลดโลกร้อนด้วย นำมาสู่โปรเจ็กต์ชื่อแปลกหู คือ “ภารกิจส่องเคยจากอวกาศ” และทำไปทำไมล่ะ

นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ภาพถ่ายดาวเทียม มาดูผลกระทบจากโลกร้อน ต่อประชากรเคย โดยเฉพาะเคยแอนตาร์กติก 

โดยพบว่า สีของมหาสมุทรนั้น เปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ตามจำนวนเคยที่ว่ายอยู่ ทำให้สามารถติดตามประชากรเคยจากอวกาศได้ 

และก็พบว่า ประชากรเคยชนิดนี้กำลังหดตัวลง และย้ายถิ่นอาศัยลงใต้มาเรื่อย ๆ 

หากโลกร้อนทำให้เคยลดลง ก็จะกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นไปอีกเป็นทอด ๆ ด้วย

ที่มาข้อมูล : AP

ที่มารูปภาพ : Ocean Twilight Show