มหาสมุทรอุ่นเร็วขึ้น 400% เพราะโลกสะท้อนแสงแดดสู่อวกาศได้น้อยลง

รายงานการศึกษาล่าสุดถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Environmental Research Letters ชี้ให้เห็นถึงอุณหภูมิของพื้นผิวมหาสมุทรในปี 2023-2024 เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยมีมา แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันนานถึง 450 วัน โดยบริเวณขอบมหาสมุทรอุ่นขึ้นเร็วกว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถึง 400% 

มหาสมุทรอุ่นเร็วขึ้น 400% เพราะโลกสะท้อนแสงแดดสู่อวกาศได้น้อยลง

สรุปข่าว

พื้นผิวมหาสมุทรอุ่นเร็วขึ้น 400% ในช่วง 40 ปี สาเหตุจากก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นขึ้นทำให้โลกสะท้อนแสงอาทิตย์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศน้อยลงจากอดีต และหากมหาสมุทรยังคงมีแนวโน้มดูดซับความร้อนในระดับนี้ต่อไปอีก 20 ปี ข้างหน้า อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยพบในรอบ 40 ปี
ในช่วงทศวรรษ 1980 อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.06 องศาเซลเซียสต่อ 10 ปี แต่ปัจจุบันอัตราการการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเร่งตัวขึ้นเป็น 0.27 องศาเซลเซียสต่อ 10 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เนื่องจากเป็นการเพิ่มแบบอัตราเร่งไม่ใช่เส้นตรง 


การเร่งตัวของอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรนี้เป็นผลมาจากความไม่สมดุลของพลังงานบนโลก ซึ่งเกิดจากการที่โลกดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าที่จะปล่อยขึ้นสู่อวกาศ และสาเหตุหลักก็มาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ทำให้โลกสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้น้อยลงเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา 

ในช่วงปี 2023 ถึงต้นปี 2024 เป็นช่วงของปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิมหาสมุทรแปซิฟิคสูงขึ้นกว่าปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2015-2016 ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกลับพบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร 44% มาจากการที่มหาสมุทรดูดซับความร้อนไวขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา และหากมหาสมุทรยังคงมีแนวโน้มดูดซับความร้อนในระดับนี้ต่อไปอีก 20 ปี ข้างหน้า อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยพบในรอบ 40 ปี อย่างไรก็ตาม การลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดอุณหภูมิโลกลง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้

ที่มาข้อมูล : Sciencealert.com

ที่มารูปภาพ : Envato

แท็กบทความ

Climateโลกร้อน
ทะเลเดือด
อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทร
แนวปะการัง