

สรุปข่าว
ข้อมูลจากดาวเทียมของ NASA เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำจืดทั่วโลกลดลงอย่างมากทั่วโลก ข้อมูลของปี 2015–2023 พบว่าว่าปริมาณน้ำจืดต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของช่วงปี 2002 ถึงปี 2014 มากถึง 1,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร การลดลงของปริมาณน้ำส่วนหนึ่งเกิดเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงปี 2014-2016 ซึ่งมีผลกระทบด้านภูมิอากาศทั่วโลก แม้ว่าเอลนีโญจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูปริมาณน้ำจืดกลับไปยังระดับเดิมได้
ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคต ได้แก่
พื้นที่บริเวณตะวันออกกลาง อย่างเช่นประเทศซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน กำลังเผชิญปัญหาน้ำจำกัดและต้องพึ่งพาน้ำทะเลที่ผ่านกระบวนการทำความเค็ม รวมถึงการใช้น้ำใต้ดินที่มากเกินไป ส่งผลให้แหล่งน้ำเหล่านี้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ส่วนเอเชียใต้ ที่น่ากังวลคือ อินเดียและปากีสถาน มีการขาดแคลนแหล่งน้ำธรรมชาติจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดี รวมถึงการขุดน้ำใต้ดินมากเกินไป ทำให้พื้นที่ลุ่มแม่น้ำหลายแห่งเจอกับปัญหาน้ำขาดแคลน
ขณะที่แอฟริกา ที่ต้องเฝ้าระวังคือ ชาด มาลี ไนเจอร์ และเอธิโอเปีย ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำส่งผลให้ประชาชนขาดแคลนน้ำสะอาดและสุขอนามัย การขาดแคลนน้ำในแอฟริกาเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายล้านคนในแต่ละปี
ส่วนยุโรปก็เจอปัญหานี้เช่นกัน โดยเฉพาะที่สเปนและอิตาลี ที่กำลังเผชิญกับภัยแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยและลดลงของปริมาณฝน ทำให้การจัดการน้ำยากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตร
การลดลงของปริมาณน้ำจืดอาจรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต ส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศและการจัดการน้ำทั่วโลก การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูแหล่งน้ำจืด
ที่มาข้อมูล : -