โลกร้อนกระทบขั้วโลกเหนือ ในอนาคตอาจไม่เหลือ “หมีขั้วโลก”

โลกร้อนกระทบขั้วโลกเหนือ ในอนาคตอาจไม่เหลือ “หมีขั้วโลก”

สรุปข่าว

การที่อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกเหนือสูงขึ้นเรื่อย ๆ น้ำแข็งที่ปกคลุมก็ลดน้อยลง กระทบต่อการดำรงชีวิตของหมีขั้วโลกเพราะพวกมันไม่สามารถลงทะเลไปล่าเหยื่อได้ ต้องหาอาหารบนบกเพื่อประทังชีวิตแทน ปกติแล้วหมีขั้วโลก หรือ หมีขาว มักล่าแมวน้ำวงแหวน (ringed seal) เป็นอาหาร โดยพวกมันจะจับแมวน้ำเหล่านี้บนแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่เมื่อแผ่นน้ำแข็งหายไป หมีขาวจำนวนมากจึงต้องหาอาหารบนบก เช่น ซากสัตว์, ไข่ของนกทะเล, ผลเบอร์รี และหญ้าแทน ตามรายงานพบว่าน้ำหนักตัวของหมีขั้วโลกส่วนใหญ่ลดลงอย่างมาก องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN ประเมินว่ามีความเป็นไปได้มากที่จำนวนหมีขั้วโลกทั่วโลกจะลดลงมากกว่า 30% ภายในปี 2050 หรืออาจจะลดลงมากกว่านั้น โดยปัจจุบันพบว่า มีหมีขั้วโลกทั่วโลกประมาณ 31,000 ตัว 60-80% ของหมีขั้วโลกอยู่ที่แคนาดา ยกตัวอย่างประชากรหมีขั้วโลกในประเทศต่างๆ ที่ IUCN ประเมินไว้ว่า หมีขั้วโลกในแคนาดาอยู่ในเกณฑ์ น่ากังวล ส่วนที่กรีนแลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ อยู่ในเกณฑ์มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ส่วนที่สหรัฐฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ถูกคุกคาม โดยพบว่าไม่มีพื้นที่ไหนเลยที่ประชากรหมีขั้วโลกจะไม่อยู่ในภาวะที่พบเห็นอยู่ทั่วไปและไม่ถูกคุกคาม จากข้อมูลต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อ หมีขั้วโลก เป็นอย่างมาก และในอนาคตหากสถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้ที่หมีขั้วโลกอาจจะสูญพันธุ์และหายไปได้ในอนาคต

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :