

สรุปข่าว
นักกีฏวิทยาที่บังคลาเทศชี้ว่าจากการวิจัยเรื่องของยุงมาเป็นระยะเวลา 25 ปี เขาไม่เคยเห็นการระบาดที่รุนแรงของไข้เลือดออกในบังคลาเทศเท่าปี 2566 โดยยอดผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกในปี 2566 พุ่งสูงถึง 1,400 รายและติดเชื้อมากถึง 290,000 ราย ทำให้เป็นปีที่อันตรายที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกมาในรอบ 23 ปี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไข้เลือดออกรุนแรงขึ้นมาจากเรื่องของความชื้นและอุณหภูมิที่สูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากการเปลี่นแปลงด้านสภาพอากาศ โดยจากข้อมูลพบว่าภาวะโลกร้อนนั้นเกี่ยวข้องกับไข้เลือดออกเพราะ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะส่งผลให้ยุงลายเพิ่มประชากรได้เร็วขึ้นและมีวงจรชีวิตได้ยาวนานขึ้นด้วย จากปกติยุงลายมีชีวิตประมาณ 30 วัน แต่ถ้าหากโลกเราร้อนขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส มันจะมีวงจรชีวิตได้ยาวนานถึง 45-60 วันเลยทีเดียว ดังนั้นโอกาสแพร่เชื้อก็จะมีมากขึ้น นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็ยังทำให้ยุงลายโตเร็วขึ้นด้วย โดยนักวิจัยพบว่า อุณหภูมิที่ทำให้ยุงลายขยายพันธุ์ได้ดีที่สุดคืออุณหภูมิประมาณ 32-34 องศา จากเดิมถ้านับระยะตั้งแต่เป็นไข่มาเป็นยุงลายที่โตเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 10-12 วันอย่างในภาพ แต่ระยะหลังเมื่อโลกร้อนขึ้น อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 7 วันเท่านั้น มันก็สามารถโตเต็มวัยแล้ว และตามธรรมชาติยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวัน แต่ถ้าหากโลกร้อนขึ้นก็จะทำให้อุณหภูมิในช่วงเวลากลางคืนเอื้อต่อการออกหากินของยุงลายได้เช่นกัน
ที่มาข้อมูล : -