"สาหร่ายขนนก" เพาะเลี้ยงอยู่ในตะกร้าแช่น้ำในบ่อน้ำพลาสติก ภายในโรงเรือนปิด ที่ศูนย์เครือข่ายการผลิตสาหร่ายทะเลเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ตำบลคลองขุด ตำบลเจ๊ะบิลัง และตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ สวก.แหล่งทุนใน “โครงการพัฒนาทักษะด้านการเกษตรอัจฉริยะ” ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เปิดฝึกอบรมและสอนเกษตรกรในการสร้างโรงเรือนปิดเพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลในระบบน้ำหมุนเวียน
ผศ.ดร.ธีญาภรณ์ แก้วทวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่าสาหร่ายขนนก มักพบในน้ำทะเลชายฝั่งอันดามัน และขณะนี้ได้รับความนิยมในตลาดมาก จึงเป็นโอกาสที่ดีในการนำมาทำเป็นอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรในพื้นที่
รู้จัก "สาหร่ายขนนก" เป็นสาหร่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีสรรพคุณทางยา เช่น การต้านอนุมูลอิสระและป้องกันมะเร็ง
ปัจจุบัน ราคาของสาหร่ายขนนกในตลาด มีราคาต่ำ ถุงละ 20-25 บาท แต่เมื่อเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำเค็มที่สะอาดแล้วส่งขายร้านอาหาร จะสามารถขายได้ในราคาสูงถึงจานละ 200 บาท
ดังนั้น โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ยังส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดสตูลอีกด้วย
สรุปข่าว
ที่มาข้อมูล : ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาค
ที่มารูปภาพ : ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาค

วร สารธรรม