
ต้นเหตุของแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.7 ตามมาตราริกเตอร์ ในวันนี้ (28 มีนาคม) นั้น สาเหตุมาจาก “รอยเลื่อนสะกาย”รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) คือหนึ่งในรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง (active fault) สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยเป็นรอยเลื่อนที่ทอดผ่านใจกลางของเมียนมาเป็นระยะทาง 1,200 กิโลเมตร และพาดผ่านเมืองสำคัญหลายแห่งตั้งแต่เหนือจรดใต้ ตั้งแต่ เมืองมิตจีนา, สะกาย, มัณฑะเลย์, เนปิดอว์, พะโค, ย่างกุ้ง และออกไปยังทะเลอันดามันบทความวิชาการในวารสารอุตินิยมวิทยา

สรุปข่าว
โดย สันติ ภัยหลบลี้ และสัณธวัฒน์ สุขรังสี เผยว่า ในทางธรณีแปรสันฐาน (Tectonic Setting) นักธรณีวิทยาเชื่อว่า รอยเลื่อนสะกายเป็นขอบ หรือรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา (Sunda Plate) และแผ่นพม่า (Burma Plate) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย (Eurasian Plate)โดยผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian Plate) เข้าชนและมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ทำให้ “รอยเลื่อนสะกาย” ซึ่งเป็นรอยต่อที่ยังไม่เชื่อมประสานติดกันอย่างสมบูรณื เกิดการขยับ และเลื่อนตัวตามไปด้วยและมีการเคลื่อนที่เฉลี่ยราว 18-20 มม. ต่อปี
“รอยเลื่อนสะกาย” ต้นตอแผ่นดินไหวหลายครั้งแผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นตัดสะท้อนชัดเจนว่าเมียนมายังเป็นจุดเสี่ยง และอ่อนไหวสำหรับแผ่นดินไหวอย่างมาก และที่ผ่านมารอยเลื่อนแห่งนี้สั่นไหว ทำให้เกิดความเสียหายมาแล้วหลายครั้งตัวอย่างเหตุแผ่นดินไหวจาก “รอยเลื่อนสะกาย”
ปี 1931 แผ่นดินไหวมิตจีนา ความแรง 7.7 (ไม่มีรายงานตัวเลขความเสียหายที่แน่ชัด)
ปี 1946 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 เสียชีวิต 50 ราย
ปี 1956 แผ่นดินไหวขนาด 7.1 (ไม่มีรายงานตัวเลขความเสียหายที่แน่ชัด)
ปี 2012 แผ่นดินไหวขนาด 6.8 เสียชีวิต 26 รายจะเกิดสึนามิหรือไม่?ไม่เกิด เพราะศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ อยู่ที่ภูมิภาคสะกาย ซึ่งเป็นผืนดิน ไม่ได้เกิดกลางทะเล จึงไม่ทำให้เกิดสึนามิตามมาอย่างแน่นอน แม้ว่ารอยเลื่อนสะกายนี้จะทอดตัวยาวไปจนถึงทะเลอันดามันก็ตาม
ที่มาข้อมูล : ถังข่าว
ที่มารูปภาพ : Dora the Axe-plorer

ณัฐณิชา นิจผล