มูฮัมหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ผู้ก่อตั้งธนาคารคนจน

นายธนาคารของคนจนที่สุดในหมู่คนจน


ตั้งแต่มูฮัมหมัด ยูนุส ได้ก่อตั้งธนาคารกรามีนในปี 1976 เขาได้ช่วยให้คนยากจนกู้ยืมเงินจำนวนไม่มาก โดยไม่ได้ตั้งเงื่อนไขเยอะ ซึ่งเรียกว่าสินเชื่อขนาดเล็ก ด้วยความเชื่อที่ว่า การให้สินเชื่อเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน และมีเป้าหมายที่จะช่วยคนจนให้หลุดพ้นจากความยากจน


ในปี 1972 หลังจากสำเร็จการศึกษาในบังกลาเทศและสหรัฐอเมริกา ยูนุสได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจิตตะกอง ของบังกลาเทศ ต่อมาในปี 1974 บังกลาเทศประสบกับความอดอยาก เขารู้สึกว่าเขาต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อคนยากจนมากกว่าแค่การสอนหนังสือ เขาจึงตัดสินใจให้เงินกู้ระยะยาวแก่ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็กของตนเอง ความคิดริเริ่มนี้ได้รับการขยายไปสู่วงกว้างมากขึ้นผ่านธนาคารกรามีน


ยูนุสกล่าวว่า ความยากจนหมายถึงการถูกพรากคุณค่าความเป็นมนุษย์ไป เขามองว่า สินเชื่อขนาดเล็กเป็นทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน และเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการหลุดพ้นจากความยากจน ยูนุสอ้างว่า ให้คนจนกู้เงินในจำนวนที่เหมาะสม สอนหลักการทางการเงินพื้นฐานบางประการแก่พวกเขา แล้วพวกเขาจะสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันมีธนาคารที่นำธนาคารกรามีนเป็นต้นแบบ ไปเปิดดำเนินการในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก


ตั้งแต่ปี 1993-1995 ศาสตราจารย์ยูนุสเป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาระหว่างประเทศสำหรับการประชุมระดับโลกครั้งที่ 4 ว่าด้วยสตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เลขาธิการสหประชาชาติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งนี้ เขาเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสุขภาพสตรี สภาที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสตรีและการเงินของสหประชาชาติ


ศาสตราจารย์ยูนุสได้รับรางวัลระดับนานาชาติมากมายจากแนวคิดและความพยายามของเขา ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Mohamed Shabdeen Award for Science (1993) จากศรีลังกา, รางวัลด้านมนุษยธรรม (1993) จาก CARE สหรัฐอเมริกา, รางวัล World Food Prize (1994) จาก World Food Prize Foundation สหรัฐอเมริกา, รางวัล lndependence Day Award (1987) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของบังกลาเทศ, รางวัล King Hussein Humanitarian Leadership Award (2000) จาก King Hussien Foundation ประเทศจอร์แดน, รางวัล Volvo Environment Prize (2003) จาก Volvo Environment Prize Foundation ประเทศสวีเดน, รางวัล Nikkei Asia Prize for Regional Growth (2004) จาก Nihon Keizai Shimbun ประเทศญี่ปุ่น, รางวัล Franklin D. Roosevelt Freedom Award (2006) จาก Roosevelt Institute of The Netherlands และรางวัล Seoul Peace Prize (2006) จาก Seoul Peace Prize Cultural Foundation ประเทศโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยเขาเป็นสมาชิกคณะกรรมการของมูลนิธิองค์การสหประชาชาติ

มูฮัมหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ผู้ก่อตั้งธนาคารคนจน

สรุปข่าว

มูฮัมหมัด ยูนุส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 2006 มีบทบาทในการก่อตั้งธนาคารกรามีน ธนาคารสำหรับคนจน ซึ่งช่วยในการสร้าง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมจากรากฐาน

รู้จัก “ธนาคารกรามีน”


ดร. มูฮัมหมัด ยูนุส ได้รับแรงบันดาลใจในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารในบังกลาเทศเมื่อปี 1974 ให้กู้เงินส่วนบุคคลจำนวนเล็กน้อยเพียง 27 ดอลลาร์สหรัฐ (914 บาท) ให้กับกลุ่มครอบครัว 42 ครอบครัว เพื่อเป็นทุนเริ่มต้น เพื่อที่พวกเขาจะได้ผลิตสินค้าเพื่อขายโดยไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยสูงจากการกู้ยืมเงินแบบเอารัดเอาเปรียบ ยูนุสเชื่อว่า การปล่อยให้คนมีสิทธิกู้เงินมากขึ้น แม้จะเป็นจำนวนเล็กน้อยก็ตาม จะช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจ และบรรเทาความยากจนในพื้นที่ชนบทของบังกลาเทศได้


ยูนุสพัฒนาหลักการของธนาคารกรามีนจากผลงานวิจัยและประสบการณ์ของเขา ธนาคารกรามีนเป็นภาษาเบงกาลี ที่แปลว่าธนาคาร ชนบท หรือหมู่บ้าน เขาเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับธนาคารพาณิชย์แห่งชาติและมหาวิทยาลัยจิตตะกอง โดยขยายสินเชื่อรายย่อยเพื่อทดสอบวิธีการในการให้บริการสินเชื่อของเขา และธนาคารสำหรับคนจนในชนบท โครงการธนาคารกรามีนเริ่มต้นในปี 1976 โดยเป็นโครงการนำร่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการในหมู่บ้านโจบรา ในเขตจิตตะกองของบังกลาเทศ ในปี 1983 โครงการนำร่องได้รับการแปลงเป็นธนาคารโดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความยากจน และช่วยคนจนในบังกลาเทศที่ถูกละเลยผ่านสินเชื่อรายย่อย


ยูนุสพัฒนาหลักการของธนาคารกรามีนจากผลงานวิจัยและประสบการณ์ของเขา ธนาคารกรามีนเป็นภาษาเบงกาลี ที่แปลว่าธนาคาร ชนบท หรือหมู่บ้าน เขาเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับธนาคารพาณิชย์แห่งชาติและมหาวิทยาลัยจิตตะกอง โดยขยายสินเชื่อรายย่อยเพื่อทดสอบวิธีการในการให้บริการสินเชื่อของเขา และธนาคารสำหรับคนจนในชนบท โครงการธนาคารกรามีนเริ่มต้นในปี 1976 โดยเป็นโครงการนำร่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการในหมู่บ้านโจบรา ในเขตจิตตะกองของบังกลาเทศ ในปี 1983 โครงการนำร่องได้รับการแปลงเป็นธนาคารโดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความยากจน และช่วยคนจนในบังกลาเทศที่ถูกละเลยผ่านสินเชื่อรายย่อย

คุณสมบัติพิเศษของธนาคารกรามีน คือไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์หลัก ที่ต้องพาลูกค้ามาที่สาขาของธนาคาร ซึ่งคนจนกลัวว่าจะถูกเหยียบย่ำ หรือดูถูก ธนาคารกรามีนให้บริการลูกค้าถึงหน้าประตูบ้าน ธนาคารได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงและกลุ่มคนที่อ่อนแอในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มกรามีน ธุรกรรมทางการเงินทั้งหมด ยกเว้นการเบิกจ่ายเงินกู้ จะดำเนินการในที่ประชุมของผู้กู้ยืม ที่ศูนย์ชุมชน ซึ่งจัดโดยผู้จัดการศูนย์ธนาคารกรามีน ธนาคารกรามีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ความสำคัญกับผู้หญิง และให้พวกเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงมีผู้กู้ยืมเป็นผู้หญิงถึง 98% ผู้หญิงเหล่านี้มากกว่าสองในสามได้ก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการบรรเทาความยากจน


ปัจจุบันธนาคารกรามีนมีสำนักงานอยู่ในหมู่บ้าน 81,678 แห่ง หรือ 94% ของหมู่บ้านทั่วประเทศ และให้บริการประชาชนเกือบ 45 ล้านคน ผ่านสมาชิกผู้กู้ยืม 10.68 ล้านคน ธนาคารกรามีนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2006 เพื่อเป็นการยกย่องในความพยายามในการสร้าง การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม จากฐานรากของสังคมผ่านสินเชื่อรายย่อย ธนาคารกรามีนไม่ได้ทำงานเพียงเพื่อบรรเทาความยากจนของสมาชิกผู้กู้ยืมเท่านั้น แต่ยังต้องการให้คนรุ่นถัดไปไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ธนาคารเสนอเงินกู้เพื่อการศึกษา เงินกู้สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ และทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของสมาชิกผู้กู้ยืมด้วย โปรแกรมที่เป็นมีมนุษยธรรมสูง และโดดเด่นที่สุดของธนาคารกรามีน คือ โปรแกรมสมาชิกผู้ดิ้นรน (ขอทาน)


ธนาคารกรามีนเสนอเงินกู้ดอกเบี้ย 0% เพื่อช่วยให้ขอทานมีศักยภาพทางการเงิน เพื่อที่พวกเขาจะไม่ต้องขอทานอีกต่อไป ขณะนี้มีสมาชิก 21,258 ราย เลิกขอทาน และสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว

อ้างอิง: https://www.nobelprize.org/prizes/peace/2006/yunus/facts/#:~:text=Muhammad%20Yunus%20and%20Grameen%20Bank,Yunus%20was%20the%20bank's%20founder

https://grameenbank.org.bd/about/introduction

ที่มาข้อมูล : Nobel, Grameenbank

ที่มารูปภาพ : Reuters

avatar

ณัฐณิชา นิจผล