IAEA เยือนฟุกุชิมะ เก็บตัวอย่างน้ำทะเล

ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA หรือ องค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้เก็บตัวอย่างน้ำทะเลใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011

การเก็บตัวอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จัดตั้งโดยจีน เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น เพื่อขยายการเก็บตัวอย่างและทดสอบน้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบ ALPS ท่ามกลางกระบวนการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดจากถังเก็บน้ำลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

แล้วระบบ ALPS คืออะไร?

ALPS คือ ระบบการกรองน้ำด้วยของเหลวขั้นสูง เป็นระบบกรองน้ำที่ใช้ในการกำจัดวัสดุกัมมันตรังสีออกจากน้ำ ให้อยู่ระดับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด 

IAEA เยือนฟุกุชิมะ เก็บตัวอย่างน้ำทะเล

สรุปข่าว

IAEA หรือองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ลงพื้นที่ฟุกุชิมะ เก็บตัวอย่างน้ำทะเลใกล้กับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่น เพื่อตรวจหาสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนภายในน้ำ หลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนที่ผ่านการบำบัดลงทะเลกว่า 1 ล้านตัน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023

ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดมากกว่า 1 ล้านตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่ทะเล เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาหลายทศวรรษในการเสร็จสิ้น การตัดสินใจนี้ทำให้จีนระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมด ก่อนยกเลิกการระงับอาหารทะเลจากญี่ปุ่นในเวลาต่อมา 

ขณะนี้ IAEA ยืนยันแล้วว่าระดับทริเทียมในน้ำที่ผ่านการบำบัดด้วย ALPS ทั้ง 10 ชุดที่ได้ปล่อยออกไปนั้นต่ำกว่าขีดจำกัดการปฏิบัติงานของญี่ปุ่นอย่างมาก

ที่มาข้อมูล : IAEA, Reuters

ที่มารูปภาพ : IAEA

แท็กบทความ

ฟุกุชิมะ
IAEA
ญี่ปุ่น
กัมมันตรังสี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์