เช็กลิสต์ สินค้าไทย "เสี่ยง" รับแรงกระแทก ภาษี "ทรัมป์"

ไทย "เสี่ยง" รับแรงกระแทก ภาษี "ทรัมป์"


2 เมษายน 2568 คือ เส้นตายล่าสุด ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าจะเริ่มใช้หรือจัดเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ต่อทุกประเทศที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ


ภายใต้ "แผนการค้าที่เป็นธรรมและเท่าเทียม (Fair and Reciprocal Plan)” สั่งให้มีการตรวจสอบมาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมของประเทศคู่ค้าอย่างครอบคลุม  แผนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อกำหนด “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariffs) กับประเทศที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ


“ภาษีศุลกากรตอบโต้” หมายถึง การเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้า ในอัตราเดียวกับที่ประเทศเหล่านั้นเก็บภาษีสินค้าส่งออกจากสหรัฐฯ

นโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิด “ความเท่าเทียมทางการค้า” ระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า หรือพูดง่ายๆสหรัฐ ไม่เสียเปรียบ ไม่ขาดทุน 


ภาษีตอบโต้ที่เกิดขึ้นนี้ ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในระดับสูง ซึ่งหมายรวมครอบคลุมไปถึงประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเดียว


ดังนั้น เมื่อหันกลับมามองที่บ้านเรา "ประเทศไทย" ก็ไม่อาจหนีพ้น"แรงกระแทก"ครั้งนี้ เมื่อประเทศไทยมีสหรัฐอเมริกาเป็นคู่ค้ารายสำคัญ และเราก็เกินดุลการค้ากับสหรัฐมาต่อเนื่อง และยังมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา 




เช็กลิสต์ สินค้าไทย "เสี่ยง" รับแรงกระแทก ภาษี "ทรัมป์"

สรุปข่าว

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม "เสี่ยง" ถูกขึ้นภาษีนำเข้า จากนโยบายภาษีตอบโต้ของ "ทรัมป์" ผู้นำสหรัฐฯ เนื่องจากมียอดเกินดุลการค้าระดับสูงในปีที่ผ่าน

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า สหรัฐฯ  เป็น ตลาดส่งออก อันดับ 1 ของไทย  มีสัดส่วน 18% ของ มูลค่าส่งออก ทั้งหมด 

ปี 2567 

ไทยส่งออกไปสหรัฐ มูลค่า 54,956.2 ล้านดอลลาร์ 

ไทยนำเข้าไปสหรัฐ มูลค่า 19,528.6 ล้านดอลลาร์

รวมไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐ 35,427.6 ล้านดอลลาร์ 

สูงสุดอันดับที่ 12 ของโลก 

(*บางข้อมูลระบุว่าอันดับที่ 11 )


สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในระดับสูง ที่ไทยอาจถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะความไม่สมดุลทางการค้า


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า  ผลกระทบของทรัมป์ 2.0 โดยเฉพาะมาตรการภาษี และมีการตอบโต้กันระหว่างสหรัฐ จีน ยุโรป รวมถึงเม็กซิโก และแคนาดา เป็นสิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ต้องติดตามว่าในอาเซียนจะมีการปรับขึ้นภาษีจากสหรัฐหรือไม่  เพราะมี 2 ประเทศที่เกินดุลการค้าสูง ได้แก่ เวียดนามและไทย  อาจมีผลต่อเศรษฐกิจไทย 


เบื้องต้นประเมินผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม  รวมเม็ดเงินที่อาจจะต้องสูญเสียไปประมาณ 160,472 ล้านบาท ส่งออกติดลบ 1.52% ผลต่อจีดีพีลดลง 0.87%


นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ยังต้องติดตามผลกระทบทางอ้อม ที่อาจมีสินค้าจีนทะลักเข้ามาในไทยมากขึ้น เพราะสินค้าจีนส่งไปขายสหรัฐด้วยราคาต้นทุนที่แพงขึ้น เช่น จีนขายโน๊ตบุ๊คให้สหรัฐ ราคาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 เหรียญสหรัฐ  เป็น 1,600 เหรียญสหรัฐ 


ไทยที่ส่งสินค้าชิ้นส่วนประกอบไปขายให้จีนก็จะส่งออกได้ลดลงเช่นกัน 


โดยกลุ่มสินค้าไทยที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ "เหล็ก ผลิตภัณฑ์เหล็ก อะลูมิเนียม รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ"



ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า" สินค้าไทย" กลุ่มเสี่ยง ถูกรีดภาษี

โดยวัดจากสถิติการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 61 – 66) )

พบว่ามีทั้งหมด กลุ่มหลัก 29 กลุ่มสินค้า

เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, 

เครื่องโทรศัพท์มือถือ 

ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำแบบไวแสง (โซลาร์เซลล์) 

ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่

หม้อแปลงไฟฟ้า 

เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่

เครื่องปรับอากาศ

เครื่องพิมพ์ที่ป้อนกระดาษเป็นม้วน

เครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์

วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ

และส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าว


กลุ่มสินค้าอื่น ๆ

เช่น 

เครื่องจักรไฟฟ้า 

ตู้เย็นตู้แช่แข็ง 

เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ 

ผลิตภัณฑ์จากไม้ 


กลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปบางรายการ

เช่น ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง ขนมหวานที่ไม่มีส่วนผสมจากโกโก้


กลุ่มเหล็ก

ผลิตภัณฑ์เหล็ก อะลูมิเนียม รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 


อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ยังต้องติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความไม่แน่นอนสูงและยังการเปลี่ยนแปลงคำสั่้งหรือนโยบายได้เสมอ

ทั้งนี้ล่าสุด เมื่อวันที่พุธที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา  ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้มีการลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร เพื่อเรียกเก็บ"ภาษีนำเข้ารถยนต์ทุกคันที่ไม่ได้ผลิตในสหรัฐฯ"  โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายน 2568  โดยภาษีนำเข้ารถยนต์ครั้งล่าสุดนี้ เพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ 2.5% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการฟื้นฟูการผลิตภายในประเทศและดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมเข้ามาในสหรัฐอเมริกา

ที่มาข้อมูล : กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าไทย

ที่มารูปภาพ : TNN

avatar

ทิฆัมพร อยู่กำเหนิด

Thailand Web Stat