“รอยเลื่อนสะกาย” ต้นตอแผ่นดินไหวมรณะ สั่นไหวเมียนมา สะเทือนถึงกรุงเทพฯ

รอยเลื่อนสะกายคืออะไร ต้นตอแผ่นดินไหว สะเทือนกรุงเทพฯ 

จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ในเมียนมา ตามด้วยอาฟเตอร์ช็อคขนาดอีกหลายครั้ง ที่สะเทือนมาถึงใจกลางกรุงเทพฯ และทำให้อาคารสั่นไหว และมีตึกถล่มที่จตุจักร

รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมปฐพี เปิดเผยกับสื่อว่า นี่เป็นแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสะกาย

“รอยเลื่อนสะกาย” ต้นตอแผ่นดินไหวมรณะ สั่นไหวเมียนมา สะเทือนถึงกรุงเทพฯ

สรุปข่าว

รอยเลื่อนสะกายคืออะไร ทำไมถึงเป็นแหล่งที่มาแผ่นดินไหวเมียนมา สะเทือนถึงใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รอยเลื่อนสะกาย เป็นต้นตอแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล้วเกือบ 10 ครั้ง

แล้วรอยเลื่อนสะกายคืออะไร 

นี่คือรอยเลื่อนที่อยู่ในแถบมัณฑะเลย์ของเมียนมา เป็นต้นตอของแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมามาแล้วหลายครั้ง โดยครั้งรุนแรงสุด นับได้ 7-8 ครั้งเลยทีเดียว ในช่วงปี ค.ศ. 1912, 1930, 1940 รวมถึงในปี 1950

ตามสถิติแล้ว มันจะเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนนี้ทุก ๆ 10-20 ปีเลยทีเดียว แต่ครั้งนรี้ ขนาด 7.6 ถือว่ารุนแรงมาก รับรู้ตั้้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงภาคกลาง และดินอ่อนของกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย

บทความวิชาการว่าด้วย รอยเลื่อนสะกาย ของภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า รอยเลื่อนสะกาย   เป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลังที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร

วางตัวใน แนวเหนือ-ใต้ผ่ากลางประเทศพม่า จากทางตอนเหนือของเมืองมิตจีนา และพาดผ่านเมืองสำคัญมากมาย 

นักธรณีวิทยาเชื่อว่ารอยเลื่อนสะกายเป็นขอบหรือ รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา (Sunda Plate) และแผ่นพม่า (Burma Plate) ซึ่งปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย

ผลจากการเคลื่อนที่ ในยุคปัจจุบัน ของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ( Indian Plate) เข้า ชนและมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือโดยประมาณ ส่งผลให้รอย เลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยต่อที่ยังไม่เชื่อมประสานติดกันอย่างสมบูรณ์เกิดการขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย

นับแต่ปี 2507 - 2555 เคยเกิดแผ่นดินไหวหลัก (Mainshock) บริเวณรอบๆ รัศมี 100 กิโลเมตรจากรอยเลื่อนสะกายประมาณ 276 เหตุการณ์ โดยมีขนาดแผ่นดินไหวระหว่าง 2.9-7.3 ริกเตอร์

บทความวิชาการนี้ ยังชี้ว่า รอยเลื่อนสะกายมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ทั้ง ระดับ 7.0-8.0 ริกเตอร์ ซึ่งผลจากการเกิดแผ่นดินไหวในระดับนี้ อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนเพียงพอที่จะ เดินทางมาถึงประเทศไทย

งานวิชาการยังประเมินว่า หากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ระดับนี้ บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีโอกาสได้รับ ผลกระทบด้านแรงสั่นสะเทือนในรูปการณ์ต่อไปนี้  

หมายถึงระดับแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้ถ้วยชามขยับ หน้าต่างประตูสั่น ผนังมีเสียงลั่น รถยนต์ที่จอดอยู่สั่นไหวชัดเจน จนไปถึง เกือบทุกคนรู้สึก ถ้วยชามตกแตก ของในบ้านแกว่ง หน้าต่างพัง ของที่ตั้งไม่มั่นคงล้ม นาฬิกาลูกตุ้มหยุดเดิน และอาคารถล่มได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในไทยในวันที่ 28 มีนาคม นั่นเอง

ที่มาข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ TNN Online รวบรวม

ที่มารูปภาพ : Freepik

avatar

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล