"ซื้อหนี้ประชาชน" ฉุดเครดิตรัฐบาล "ศิริกัญญา" หวั่นซ้ำรอย "ดิจิทัลวอลเล็ต"

น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีแนวคิดให้รัฐบาลรับซื้อหนี้เสียคืนจากประชาชน ว่า มีการระบุว่าจะไม่ใช้เงินจากรัฐบาลแม้แต่บาทเดียว ก็ต้องถามกลับว่าจะใช้เงินใคร รูปแบบการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ มีการทำกันในหลายประเทศ มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว แต่ต้องดูเหตุและปัจจัยอื่นด้วย

"ซื้อหนี้ประชาชน" ฉุดเครดิตรัฐบาล "ศิริกัญญา" หวั่นซ้ำรอย "ดิจิทัลวอลเล็ต"

สรุปข่าว

"ซื้อหนี้ประชาชน" ฉุดเครดิตรัฐบาล "ศิริกัญญา" หวั่นซ้ำรอย "ดิจิทัลวอลเล็ต" มองว่า เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดแน่นอน โดยมองว่าธนาคารพาณิชย์ได้ประโยชน์ที่สุด เพราะจะได้เคลียร์หนี้เสียที่มีอยู่ ถ้าถามว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีได้เลยหรือไม่ ก็ยังต้องทำอีกหลายเรื่อง

อีกทั้ง นายทักษิณได้ระบุว่าจะนำชื่อลูกหนี้ออกจากเครดิตบูโรด้วย ตนมองว่าหากลบออกหมด จะกลายเป็นคนไม่มีประวัติ ซึ่งจะทำการกู้ยาก ควรมีวิธีทำให้เป็นประวัติดี เพื่อให้มีประวัติในการที่จะไปกู้ใหม่น่าจะดีกว่า แค่ถ้าถามว่าลูกหนี้จะได้ประโยชน์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าจะต่อรองซื้อได้เท่าไร ยิ่งรัฐบาลจ่ายเงินซื้อลูกหนี้ จะต้องจ่ายหนี้ขึ้นมากด้วย

พร้อมมองว่า ยังไม่มีแนวทางชัดเจนจากกระทรวงการคลัง เพราะหลายครั้งที่รับนโยบายมาแล้วทำไม่เสร็จ ก็เสียเครดิตไปมาก ซึ่งอาจจะยังไม่เข็ดกับการออกมาพูดกลับไปกลับมาของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยตนมองว่า อาจจะซ้ำรอยกับดิจิทัลวอลเล็ต แต่ความเสียหายอาจจะมากกว่า

"ไม่แน่ใจว่าจะใช้วิธีใดในการช่วยเหลือประชาชน เป็นรายระเอียดที่เราตอบไม่ได้ ต้องรบกวนสื่อมวลชนไปถามนายทักษิณ อีกสักรอบ หรือไปคั้นจากตัวต้นคิด คือน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าตกลงตอนคุยกับพ่อคุยไว้ว่าอย่างไร ในเรื่องของรายละเอียด" น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

ประเด็นแรกจะซื้อออกมาในปริมาณเท่าไร ซึ่งนายทักษิณ ระบุว่าจะซื้ออกมาทั้งหมด เพียงแค่หนี้ Non-Performing Loan หรือ NPL ก็มีมูลค่าหนี้อยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท แต่เวลาธนาคารขายหนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ก็ไม่ได้ขายมูลค่าหนี้สินในราคา 100%

"ถึงแม้จะไม่ได้เงิน 1.2 ล้านล้านบาท ก็ยังต้องใช้ถึง 3-5 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะต่อรองกับธนาคารพาณิชย์ว่าจะซื้อในราคาเท่าไร แต่มูลค่าที่ต้องใช้ในการซื้อยังสูงมาก ปัจจุบัน เรามีบริษัทในการซื้อหนี้กับธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ที่มีอยู่เรียกว่าธนาคารบริหารสินทรัพย์อยู่ประมาณ 87 แห่ง มีมูลค่ารวมของหนี้ที่จัดการกันทั้งหมดแค่ 3 แสนล้านบาทเท่านั้น ถ้าจะต้องใช้เงินมากขนาดนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์อยู่เอาเงินมารวมกันก็ยังไม่มีเงินซื้อ" น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ได้เคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้นานแล้ว แต่รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร ในช่วงนี้คงต้องการดึงความเชื่อมั่นในการแก้ไขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่นายทักษิณเดินทางไป จ.พิษณุโลก จึงมีความจำเป็นที่ต้องพูดอะไรโดนใจประชาชนที่มีปัญหา จึงต้องนำเรื่องนี้กลับมาขายใหม่

พร้อมมองว่า เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดแน่นอน โดยมองว่าธนาคารพาณิชย์ได้ประโยชน์ที่สุด เพราะจะได้เคลียร์หนี้เสียที่มีอยู่ ถ้าถามว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีได้เลยหรือไม่ ก็ยังต้องทำอีกหลายเรื่อง เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตไม่ดี สุดท้ายธนาคารก็ยังไม่ปล่อยกู้ใหม่อยู่ดี เพราะเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตจะมีแต่ต่ำเตี้ยไปเรื่อย กลัวจะไม่ได้เงินคืน

อีกส่วนที่เป็นปัญหา เพราะเมื่อมีข่าวว่าจะช่วยประชาชนก็เริ่มลังเลว่าจะจ่ายดีหรือไม่ ถือเป็นอันตรายอีกแบบสำหรับระบบเศรษฐกิจ

ที่มาข้อมูล : ศิริกัญญา ตันสกุล

ที่มารูปภาพ : TNN

avatar

มงคล เกษตรเวทิน