![คาด วันมาฆบูชา เงินสะพัด 2.5 พันล้านบาท สูงสุดรอบ 4 ปี](/static/2025/82c58ea4-dca8-43df-aa1b-88b15a6ad9b9.webp)
คาดเงินสะพัด 2.5 พันล้านบาท ในวันมาฆบูชาปีนี้ พบคนไทยและชาวพุทธส่วนใหญ่เกินครึ่งยังวางแผนออกไปใช้จ่ายทำบุญไหว้พระ ขณะที่บางส่วนกังวลเรื่องเศรษฐกิจและฝุ่นจึงไม่ออกไปทำบุญ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในวันมาฆบูชา ปี 2568 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 คน ทั่วประเทศ พบว่า ภาพรวมผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 2,500 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 คลี่คลายลง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.8 % แต่ยังขยายตัวต่ำกว่าปี 2560 ที่มีมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมทำบุญมากกว่าการจับจ่ายใช้สอยในการเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นวันหยุดกลางสัปดาห์เงินสะพัดจากการการท่องเที่ยวจึงไม่คึกคัก
ทั้งนี้จากผลสำรวจพบว่า ประชาชน 51 % ยังวางแผนออกไปทำบุญไหว้พระ
โดยกิจกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่
• ไปเวียนเทียน 52.8%
งบประมาณเฉลี่ย 274.8 บาท
• ตักบาตร 50.7%
งบประมาณเฉลี่ย 234.5 บาท
• ทำบุญ 42.8%
งบประมาณเฉลี่ย 694.3 บาท
• ปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิตสัตว์ 33.4%
งบประมาณเฉลี่ย 399.2 บาท
• ซื้อสังฆภัณฑ์ 30.8%
งบประมาณเฉลี่ย 698.3 บาท
![คาด วันมาฆบูชา เงินสะพัด 2.5 พันล้านบาท สูงสุดรอบ 4 ปี](/static/2025/82c58ea4-dca8-43df-aa1b-88b15a6ad9b9.webp)
สรุปข่าว
ขณะที่ประชาชนอีก 35.1 % ไม่วางแผนออกไปไหนช่วงมาฆบูชา
โดยมีสาเหตุ คือ
อยากพักผ่อนอยู่บ้าน
ฝุ่น PM 2.5
กลัวโรคติดต่อ
อยากประหยัด
ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี
ติดธุระ
มีหนี้มาก
รายได้ลดลง
ป่วย
ขณะที่ยอดรวมการใช้จ่าย กทม. ปริมณฑล เฉลี่ยอยู่ที่ 1,540.62 บาท ต่อคน ต่างจังหวัด เฉลี่ยอยู่ที่ 1,606.25 บาท ต่อคน และโดยรวม เฉลี่ยอยู่ที่ 1,590.54 บาท ต่อคน
โดยใช้จ่ายจากเงินเดือนเป็นหลักที่ 77.7 % ตามด้วยเงินออม 18.3 %
ที่มาข้อมูล : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ที่มารูปภาพ : TNN