การขึ้นภาษีครั้งนี้จะกระทบการส่งออกของมาเลเซียอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำมันปาล์ม สินค้าที่ผลิตจากยาง และสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในการค้าระหว่างมาเลเซียกับสหรัฐฯ
วิลเลียม กล่าวว่า "ภาษีที่สูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนของทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ลดความสามารถในการแข่งขันของเราไม่เพียงแค่ในตลาดสหรัฐฯ แต่ในตลาดอื่น ๆ ด้วย และอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและการลงทุนในกลุ่ม SME"
ทั้งนี้ คาดว่าจะเกิดช่วงความไม่แน่นอนระยะสั้น ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคและประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือหรือบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นภาษีชุดนี้ สำหรับผลกระทบภายในประเทศ คาดว่าจะอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงกลาง"
สรุปข่าว
อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีครั้งนี้เป็น "สัญญาณเตือน" สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนปัจจุบัน ควรผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องการสร้างตลาดอาเซียนเดียวอีกครั้ง เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มศุลกากรในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรให้มากขึ้น "ความร่วมมือภายในภูมิภาคมีความสำคัญมาก เมื่อพิจารณาว่าตลาดแต่ละประเทศมีขนาดค่อนข้างเล็ก หากรวมกัน อาเซียนกำลังจะก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกภายในปี 2573"
ขณะเดียวกัน ในระดับอาเซียนนั้น ความเร่งด่วนในการลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรมีมากกว่าที่เคย การหารือเรื่องการสร้างตลาดอาเซียนเดียวต้องถูกหยิบยกขึ้นมาใหม่โดยด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสหภาพศุลกากรที่จะเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งในฐานะกลุ่มประเทศผู้ส่งออกและตลาดภูมิภาคขนาดใหญ่"
ที่มาข้อมูล : สำนักข่าวซินหัว
ที่มารูปภาพ : TNN

ชาคร หนูคงใหม่