เทคโนโลยี HealthTech ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยสู่อนาคต

แพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหาร และหัวหน้าฝ่าย Commercial Outsourcing ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก DKSH กล่าวว่า ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วภายใต้การขับเคลื่อนผ่านวิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 และแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลของกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2564-2568) โดยเทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือ เฮลท์เทค (HealthTech) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับการดูแลผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาล และขยายการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ระบบวินิจฉัยด้วย AI การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และอุปกรณ์ดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดในอนาคตอีกต่อไป แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการรองรับสังคมผู้สูงวัยขั้นสูง ตลอดไปจนถึงบริการจัดการผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases) ที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นและเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรไทย โดยคิดเป็นร้อยละ 75

การแพทย์ทางไกลในประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการใช้สมาร์ทโฟนที่สูงถึง ร้อยละ 92 และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัล กระทรวงสาธารณสุข (2564 – 2568) รวมถึงโครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์ทางไกลทั่วประเทศ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการสุขภาพในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ที่ขาดแคลนบริการ ตลาดบริการสุขภาพทางไกลคาดว่าจะเติบโตในอัตราสองหลักจนถึงปี 2568 เนื่องจากโรงพยาบาลและผู้ให้บริการสตาร์ทอัพด้านสุขภาพขยายบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ป่วยเริ่มดูแลสุขภาพของตนเองผ่านแอปพลิเคชันด้านสุขภาพบนมือถือ(mHealth) มากขึ้น ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวมาพร้อมคุณสมบัติต่างๆ อาทิ การติดตามการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การใช้ยา การวัดสัญญาณชีพ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ บริการ Home Pulse ของ DKSH ซึ่งให้บริการด้านการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทางไกล ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเช่นกัน 
 

เทคโนโลยี HealthTech ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยสู่อนาคต

สรุปข่าว

อนาคตของการดูแลสุขภาพในประเทศไทยขึ้นอยู่กับการบูรณาการเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และโครงสร้างพื้นฐานเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการสร้างระบบสุขภาพที่ชาญฉลาดและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และกำลังยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทย ด้วยการลงทุนและความร่วมมือที่ต่อเนื่องของภาครัฐและเอกชน ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นต้นแบบด้านนวัตกรรมสุขภาพดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ DKSH พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างดังกล่าวที่จะสนับสนุนการพัฒนานี้

ปัจจุบัน แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถให้บริการได้หลากหลายทั้งการวินิจฉัยทางไกล การสั่งจ่ายยาทางอิเล็กทรอนิกส์ และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เมื่อผนวกกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดูแลสุขภาพแบบสวมใส่ เช่น นาฬิกาเพื่อสุขภาพ และเซ็นเซอร์ตรวจสุขภาพทางไกล จึงช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถติดตามสัญญาณชีพ สถานะสุขภาพ การดูแลตนเองของผู้ป่วยได้จากระยะไกล การบูรณาการเครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถติดตามผู้ป่วยหลายรายได้พร้อมกัน ช่วยลดผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ลดเวลารอคิวของผู้ป่วย และช่วยให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เกิดการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในวงกว้างนั้น ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ และความเชื่อมั่นของผู้ป่วย การดำเนินงานในปัจจุบันยังประสบความท้าทายในด้านต่างๆ เช่น  การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข และการเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบาย และบริษัทเทคโนโลยี ล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับการแพทย์ทางไกล

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในกระบวนการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และการสร้างความมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในประเทศไทย งานวิจัยระดับโลกเผยให้เห็นว่าการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ สามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวานและมะเร็งปอดได้อย่างแม่นยำมากกว่า 90% โดยเฉพาะในแอปพลิเคชันทางรังสีวิทยา เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และเอ็กซเรย์ ซึ่งช่วยลดเวลาการวินิจฉัยได้ถึงร้อยละ 30-50 โรงพยาบาลชั้นนำในประเทศไทยกำลังนำการถ่ายภาพที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้เพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการรักษา นอกจากการวินิจฉัยแล้ว AI ยังช่วยปรับการดูแลให้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคนได้มากยิ่งขึ้น แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับดูแลผู้ป่วยใช้ AI ในการให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่ผ่านการตรวจสอบทางการแพทย์ทางออนไลน์แบบเฉพาะบุคคล ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์สามารถประเมินการตอบสนองต่อการรักษาและแนะนำแนวทางการดูแลที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำที่โรงพยาบาลและยกระดับผลลัพธ์ทางสุขภาพในระยะยาว


DKSH พันธมิตรทางธุรกิจและผู้นำในด้านการให้บริการด้านการขยายตลาดที่ครบวงจร ได้ริเริ่มบูรณาการเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อาทิ การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการจัดการกระบวนการของสินค้าและบริการองค์รวม ทำให้การจัดส่งยาช่วยชีวิตและอุปกรณ์การแพทย์ไปถึงแพทย์และผู้ป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการการจัดการสินค้าคงคลัง และลดการขาดแคลนสินค้าและเวชภัณฑ์ต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ในการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น 

ในขณะเดียวกัน ConnectPlus แพลตฟอร์มของ DKSH ที่นำเทคโนโลยี AI และการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบ 360 องศา ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์ การวางกลยุทธ์การสื่อสารแบบหลายช่องทาง ช่วยให้ตัวแทนของบริษัทฯ สามารถสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ เครือข่ายร้านขายยา และคลินิกทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากชึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยี AI ในวงกว้าง ได้แก่ การรับประกันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความโปร่งใสของอัลกอริทึม และความเชื่อมั่นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ขณะที่ระบบ AI กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง การร่วมมือระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้พัฒนาเทคโนโลยีจะเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดบทบาทของ AI ในการดูแลสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต

ตลาดสุขภาพดิจิทัลของไทยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 50,000 ล้านบาทภายในปี 2568 และเติบโตต่อเนื่องด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 5.31% จนถึงปี 2572 และคาดว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 61,700 ล้านบาท ภายในปี 2572 ซึ่งมาจากแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาครัฐ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย ทั้งนี้ การเติบโตอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แผนแม่แบบสุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ (National Digital Healthcare Roadmap) มีเป้าหมายในการปรับปรุงความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างระบบ (interoperability) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสุขภาพจะเชื่อมต่อกันและมีความปลอดภัยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บริษัทชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพกำลังผนวกการใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วย AI และการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์เพื่อขยายการเข้าถึงและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ

ที่มาข้อมูล : DKHS

ที่มารูปภาพ : CANVA

avatar

กองบรรณาธิการ TNN

แท็กบทความ

DKSH
เฮลท์เทค
HealthTech
นวัตกรรมสุขภาพ
เทคโนโลยีสุขภาพ