กระทรวงการคลังเสนอการเปลี่ยนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เป็นกองทุน Thai ESG เข้าประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม. ) ในวันที่ 3 มี.ค. 2568 เพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อตลาดทุน และกระตุ้นการลงทุนในกองทุน Thai ESG ที่ยังมีมูลค่ากองทุนค่อนข้างน้อยเพียง 32,000 ล้านบาท
แต่เมื่อพิจารณาเงื่อนไขกองทุนพบว่า กองทุน LTF ลงทุนในตลาดหุ้นเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงหลักการ ESG เพื่อกระตุ้นตลาดทุนในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่กองทุน Thai ESG ลงทุนในบริษัทที่ปฏิบัติตามหลัก ESG เท่านั้น
สรุปข่าว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้หุ้นและตราสารหนี้ของบริษัทที่ไม่ผ่าน ESG โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก (Small Cap) จำนวนมากมีความเสี่ยงที่จะถูกเทขาย และพลาดโอกาสในการรับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเติมจากมาตรการดังกล่าว แต่จะไม่กระทบภาพรวมของตลาดเงิน จากมูลค่าที่ค่อนข้างน้อย
โดยในปี 2567 มีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ESG กว่า 695 บริษัท หรือร้อยละ 75 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่คิดเป็นมูลค่าเพียงร้อยละ 18 ของมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด
ในทางกลับกัน เงินลงทุนจะไหลเข้าและกระจุกในบริษัทขนาดใหญ่ (Large Cap) ที่ผ่านมาตรฐาน ESG ซึ่งมีเพียง 288 บริษัท หรือร้อยละ 25 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่กลุ่มบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าหลักทรัพย์รวมกันกว่าร้อยละ 82 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด หรือ 14.87 ล้านล้านบาท
ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็กต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ESG เพื่อการระดมทุนและการลงทุนที่ยั่งยืนในอนาคต อาทิ ใช้พลังงานทดแทน //สนับสนุนการจ้างงานี่หลากหลายทั้งในแง่ของเพศ อายุ และเชื้อชาติ //การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น