
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP สรุปผลการดำเนินงานในปี 2567 มีกำไรสุทธิ 4,985 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 8.4% เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับตัวลดลง 11 .0% อยู่ที่ 19,848 ล้านบาท การชะลอตัวของสินเชื่อตามมาตรการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารที่มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อในประเทศที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินตามอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลงหากเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปรับตัวลดลงตามคุณภาพสินเชื่อที่มีสัญญาณทยอยปรับตัวดีขึ้น และการมุ่งเน้นบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
ทางด้านอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.3% จาก 7.1% ในปี 2566 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยจ่าย ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันตามภาวะอตัราดอกเบี้ยในตลาด อยู่ที่ 2.5% หากเทียบกับ 1.9% ในปี 2566 รวมแล้วส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงอยู่ที่ 4.8% จาก 5.2% ในปี 2566
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 6,954 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 7.5% จากปี 2566 ทางด้านรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิโดยรวมแล้วทำได้ในระดับที่ดีภายใต้ภาวะตลาดทุนที่ยังคงซบเซา และการชะลอตัวลงของสินเชื่อ
ทางด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยรวมแล้วยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดี มีจำนวน 16,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.3% จากปี 2566 โดยหลักมาจากรายการที่เกิดจากการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขายที่เกิดขึ้นปี 2566 โดยธนาคารมีการโอนกลับรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขาย จากการที่ธนาคารได้มีการปรับประมาณการค่าเผื่อการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขาย ในขณะที่ปี 2567 ธนาคารไม่มีรายการดังกล่าว ทางด้านผลขาดทุนจากการขายรถยึด มีจำนวน 4,832 ล้านบาท ปรับลดลงเล็กน้อยจากปี 2566 ตามปริมาณรถยึดที่ทยอยปรับตัวลดลง
โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มีจำนวน 3,974 ล้านบาท ปรับลดลง 34.7% หากเทียบกับจำนวน 6,082 ล้านบาท ในปี 2566 ตามสัญญาณปรับตัวดีขึ้นของสินเชื่อจากการบริหารคุณภาพ ประกอบกับการตั้งสำรองที่ลดลงตามการชะลอตัวของปริมาณสินเชื่อ โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและรายการขาดทุนจากการขายรถยึด (credit cost) สำหรับปี 2567 คิดเป็นอัตรา 2.30% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย ปรับลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 3.01%

สรุปข่าว
สำหรับไตรมาส 4/2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 1,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 109.9% จากงวดเดียวกันของปี 2566 จากการปรับลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ปรับตัวลดลง 36.0% รวมถึงผลขาดทุนจากการขายรถยึดที่ปรับตัวลดลงเช่นกันตามปริมาณรถยึดที่ทยอยปรับตัวลดลง
ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 55.3% หากเทียบกับไตรมาส 4/2566 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมในส่วนของธุรกิจตลาดทุน นอกจากนี้มีรายได้ในส่วนของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด สุทธิกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับลดลง 16.4% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยตามมาตรการชะลอตัวของสินเชื่อของธนาคารและการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินตามภาวะอัตราดอกเบี้ย
ณ สิ้นไตรมาส 4/2567 สินเชื่อรวมของธนาคาร (ไม่รวม POCI) มีจำนวน 367,547ล้านบาท หดตัว 7.8% จากสิ้นปี 2566 ซึ่งเป็นไปตามแผนการของธนาคารในการชะลอการเติบโตของสินเชื่อภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอนรวมถึงความท้าทายในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการขยายตัวของสินเชื่อจะเน้นการเติบโตอย่างระมัดระวังในกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและมีคุณภาพสินเชื่อที่ดี
ธนาคารมีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 20,801 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ที่134.2% ณ สิ้นปี 2567
ณ สิ้นไตรมาส 4/2567 ปริมาณสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Stage 3) ของธนาคารและบริษัทย่อย(ไม่รวม POCI) มีจำนวน 15,503 ล้านบาท อยู่ในระดับที่บริหารควบคุมได้ดี โดยอยู่ใกล้เคียงกับระดับในไตรมาส 3/2567 ที่มีจำนวน 15,464 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 4.2% อยู่ในระดับใกล้เคียงไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตช้าลง และการขยายตัวยังคงแตกต่างกันมากในแต่ละธุรกิจ โดยภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวจะขยายตัวได้ จากคาดการณ์นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 38 ล้านคนในปี 2568 จากระดับ 35.5 ล้านคน ในปี 2567 อย่างไรก็ตามผลบวกของภาคการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจไทย จะเผชิญกับปัจจัยลบที่สำคัญจาก ภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตได้ไม่ดีนักต่อจากปีที่ผ่านมา จากทางการผลิตที่ต่ำและสินค้าคงคลังที่เริ่มปรับตัวลดลงในหลายกลุ่ม
ซึ่งเป็นผลจากความสามารถและการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ปรับตัวแย่ลง และการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นแรงกดดันต่อการบริโภคสินค้าคงคลังโดยเฉพาะบ้านและรถยนต์ ความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ อาจจะกดดันภาคการส่งออกของไทยได้อีกด้วย สถานการณ์เศรษฐกิจ ที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดี อัตราอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายประกอบกับสถานการณ์การเงินที่ตึงตัวจากสินเชื่อที่ชะลอตัวแล้วก็คุณภาพสินเชื่อที่แย่ต่อเนื่องทำให้ธนาคารหลายแห่งในประเทศประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.75% ในปี 2568 มาอยู่ที่หนึ่ง 1.50%
โดยความเสี่ยงสัมพันธ์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ได้แก่สถานการณ์ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งกระทบไทยในหลายช่องทางทั้งการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และนำเข้าสินค้าจากจีนฯ มีแนวโน้มเร่งขึ้นและกระทบภาคการผลิตในประเทศ ซึ่งการแข่งขันจากสินค้าอุตสาหกรรมจีน รุนแรงขึ้น ประกอบกับปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทย อาจจะกดดันภาคการผลิตให้หดตัวลงต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบ อย่างมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจใน ส่วนหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงแล้วก็หนี้เสียที่ยังเร่งตัวขึ้นซ้ำให้สินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงในอัตราที่เร่งตัวขึ้นซึ่งอาจจะกลับมากระทบต่อการบริโภคสินค้าสินค้าคงทนในประเทศให้หมดตัวต่อเนื่องได้
ที่มาข้อมูล : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่มารูปภาพ : ธนาคารเกียรตินาคินภัทร