ชี้เก็บภาษีต่างชาติร้อยละ 15 จูงใจลงทุน

สรุปข่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรณีที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึง การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากอัตราเดิมร้อยละ 7 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในหลายประเทศทั่วโลก ที่จัดเก็บ VAT ในช่วงร้อยละ 15-25 


ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สิ่งที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดในการเก็บภาษีในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะภาษีนิติบุคลต่างชาติที่วางไว้ร้อยละ 15 มองว่า ตรงกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  เพราะเมื่อนักลงทุนเหล่านี้ย้ายเข้ามาจะเกิดการจ้างงาน และมีการลงทุนเพิ่มขึ้น 


ส่วนกรณีที่นิติบุคคลไทยยังจัดเก็บที่ร้อยละ 20 นั้น หากจะดูลึกลงไป การจัดเก็บก็สามารถเก็บเป็น 2 อัตราได้ อยู่ที่นโยบายรัฐบาล เหมือนการสนับสนุนของ BOI หรือ มาตรการด้านสนับสนุนการลงทุนโดยตรง (FDI) หรือการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศศภาพตะวันออก หรือ อีอีซี  เป็นต้น   หรือแม้แต่มาตรการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมาตรการยกเว้นภาษี 5-8 ปี หรือ 13 ปี เป็นต้น จุดนี้จึงเป็นนโยบายดึงดูดการลงทุนเช่นเดียวกัน แต่ก็จะต้องมีเงื่อนไขประกอบด้วย


ทั้งนี้ การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของประเทศไทยตามกฏหมายอยู่ที่ร้อยละ 10 เป็นมาตลอด 10 ปีแล้ว แต่ไม่มีใครสามารถเก็บได้จริง เมื่อจะเก็บหลายคนบอกว่าจะทำให้สินค้าราคาพุ่ง ดันเงินเฟื้อเพิ่ม ประชาชนแบกภาระไม่ไหว จึงเป็นการเก็บชั่วคราวทุก ๆ ปี ราวร้อยละ 7 ก่อน และมารีวิวปีต่อปี สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหาหลักคือ 1. หนี้สาธารณะ ที่บวมมากจากกรอบเพดานที่ ร้อยละ 60 และขยายมาที่ร้อยละ 70 ซึ่งขณะนี้อยู่ระดับร้อยละ 68


ส่วนที่ 2. หนี้ภาคครัวเรือน มีอัตราถึงร้อยละ 90 ของ GDP ดังนั้นทั้ง 2 เรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ภาครัฐเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า โดยรายรับของภาครัฐคือ การเก็บภาษีต่าง ๆ ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายภาครัฐ เพราะหนี้สาธารณะสูงมาก 


ที่มา TNN

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :