นโยบายภาษี Tariffs ของทรัมป์กระทบอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยและสหรัฐฯ อย่างไร ?

วันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแบบฐานขั้นต่ำในอัตรา 10% จากทุกประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ  และประเทศไทยอยู่รายชื่อลำดับแรก ๆ ที่โดนจัดเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 36% ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ โดยอ้างอิงข้อมูลสัดส่วนสินค้าส่งออกที่ไทยส่งไปยังสหรัฐอเมริกาพบว่ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้วยมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 69,400 ล้านบาท 

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย

ปัจจุบันไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีศุลกากรใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ซึ่งเป็นสินค้าหลักของการส่งออกไทยไปยังตลาดโลก ก่อนหน้านี้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 การส่งออกรถยนต์ลดลง 18.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากประเทศคู่ค้าลดคำสั่งซื้อเพื่อรอความชัดเจนทางนโยบายภาษีของทรัมป์

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัยด้วยเช่นกัน และจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นหรือจีน ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มเติม เนื่องจากประเทศเหล่านี้เองก็ถูกเก็บภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยหลายรายการต้องย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือปรับกลยุทธ์ในการจัดหาชิ้นส่วน

นโยบายภาษี Tariffs ของทรัมป์กระทบอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยและสหรัฐฯ อย่างไร ?

สรุปข่าว

ผลกระทบของนโยบายภาษี Tariffs ของทรัมป์ต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา โดยไทยส่งไปยังสหรัฐอเมริกาพบว่ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้วยมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 69,400 ล้านบาท

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนในการเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับสหรัฐอเมริกา เพราะนอกจากอุตสหกรรมรถยนต์ของไทยมีมูลค่าสูง คิดเป็น 10-11% ของ GDP ประทเศไทย ยังมีการจ้างงานกว่า 850,000 คน การลดลงของยอดการส่งออกและคำสั่งซื้ออาจส่งผลกระทบต่อแรงงานในอุตสาหกรรมนี้โดยตรง

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา

ภาษีศุลกากรทำให้ราคารถยนต์ใหม่สูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะรถยนต์ที่นำเข้าซึ่งคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรถยนต์ที่ขายในสหรัฐฯ ต่อปี ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหลายพันดอลลาร์สำหรับรถยนต์ใหม่ ภาษีที่ขยายไปถึงชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น เครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง จะเพิ่มต้นทุนการผลิตรถยนต์ในประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ 

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บางราย เช่น บริษัท Stellantis ได้ประกาศหยุดการดำเนินงานบางส่วนในโรงงานที่ตั้งอยู่ในเม็กซิโกและแคนาดา และปลดพนักงานกว่า 900 คน ในรัฐมิชิแกนและอินเดียนา บริษัท Hyundai และ Kia ได้ประกาศแผนเพิ่มการผลิตในสหรัฐอเมริกา โดยการเพิ่มต้นทุนจากภาษีอาจส่งผลให้เกิดการลดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอาจนำไปสู่การปิดโรงงานนอกสหรัฐอเมริกาเพิ่มเติมในอนาคต

แม้ว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาจะดูเป็นไปในแนวทางที่สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตโรงงานเข้ามายังสหรัฐอเมริกา แต่ยังมีความท้าทายหลายอย่างสำหรับเจ้าของบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการย้ายฐานการผลิต เช่น ค่าแรงในสหรัฐอเมริกาที่สูงกว่าหลายประเทศ การนำเข้าชิ้นส่วนของรถยนต์จากต่างประเทศมีต้นทุนที่สูงขึ้น

avatar

พีรพรรธน์ เชื้อจีน