จีน-รัสเซียเลิกใช้ดอลลาร์เงินสกุลกลาง ส่งผลลดการใช้ไป50%
มาตรการ ของจีนกับรัสเซีย ในการ ่เลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินสกุลกลาง เริ่มส่งผลแล้ว มีการลดการไป ลดลงไปเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ ( 30 ก.ค. 63 )หลังจากที่ จีน กับ รัสเซีย ใช้เวลาหลายปีที่ผ่านมา ในการลดความสำคัญในการใช้ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินสกุลกลางในการ ทำธุรกิจระหว่างประเทศ ในขณะนี้ ความพยายามดังกล่าวเริ่มส่งผลชัดเจนขึ้น โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 การใช้เงินดอลลาร์ เพื่อซื้อขาย ระหว่างประเทศ ลดลงไปเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
รายงานของ สหนังสือพิมพ์ Moscow daily Izvestia ชี้ให้เห็นว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เงินดอลลาร์สหรัฐ หมุนเวียนอยู่ในระบบการค้าระหว่างประเทศ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะนี้ มีการใช้เงินดอลลาร์ เป็นสกุลกลาง อยู่ที่ประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ทั้งๆที่ในปี 2018 ยังมีการใช้ดอลลาร์สหรัฐในตลาดโลกอยู่ 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ลดลงอย่างรวดเร็วเกินคาดการณ์
ในขณะนี้ เงินสกุลอื่นๆ ที่หมุนวัยนอยู่ในตลาดโลก อีก 54 เปอร์เซ็นต์ แบ่งออกเป็นเงินหยวนของจีน 17 เปอร์เซ็นต์ , เงินยูโร 30 เปอร์เซ็นต์ และเงินรูเบิ้ล ของรัสเซียอีก 7 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินดอลลาร์ หายไปจากสตลาดโลกก็คือ สงครามการค้าระหว่างจีน กับ สหรัฐ เพราะเมื่อจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ถูกกีดกันออกไปจากการทำการค้ากับสหรัฐ ก็ย่อมมีการใช้เงินดอลลาร์ลดลง ตามไปด้วย และแม้ว่า ธุรกิจบางส่วนจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสงครามการค้า แต่การที่ประธานาธิบดืโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงการเป็นปรปักษ์กับจีนอย่างชัดเจน ก็ย่อมส่งผลกระทบไปถึงภาคส่วนอื่นๆเช่นกัน
เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ,นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีรต่างประเทศของ รัสเซีย ประกาศว่า รัสเซียจะหันไปใช้สกุลเงินท้องถิ่น ของประเทศคู่ค้าให้มากขึ้น เช่น การใช้เงินยูโร กับประเทศในยูโรโซน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า รัสเซียใช้เงินดอลลาร์ในการค้าระหว่างประเทศลดลง
เมื่อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาคมโลก รวมทั้ง จีน กับ รัสเซีย เริ่มหันไปหาสินทรัพย์ที่มั่นคง กว่าการเก็บเงินตรา ด้วยการกว้านซื้อทองคำไปเก็ยไว้เป็นหลักประกัน จนราคาทองพุ่งขึ้นสูงในขณะนี้ ก็ยิ่งทำให้ เงินดอลลาร์มีความสำคัญลดลง ไปอีก
หากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลหลัก ลดลงไปอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ภาครธุรกิจทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ในการสำรองเงินตรา หลังช่วงโควิด-19
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline