TNN วิจัยพบทุเรียนจีนมีสารอาหารน้อยกว่าทุเรียนไทย

TNN

World

วิจัยพบทุเรียนจีนมีสารอาหารน้อยกว่าทุเรียนไทย

วิจัยพบทุเรียนจีนมีสารอาหารน้อยกว่าทุเรียนไทย

จะมาทุเรียนเหมือนกันไม่ได้ ! งานวิจัยพบว่า “พบทุเรียนจีน” มีสารอาหารน้อยกว่า “ทุเรียนไทย”

รายงานการศึกษาจาก Hainan Academy of Agricultural Sciences ที่เปรียบเทียบ “ทุเรียน” ที่ปลูกในประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศไทย พบว่า “ทุเรียนหมอนทอง” ที่นำไปปลูกที่มณฑลไห่หนานของจีน ไม่มี “สารเควอซิทิน” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองของไทย มี “สารเควอซิทิน” ในปริมาณมาก


ในขณะที่สายพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในไห่หนาน พบว่ามีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้าง แต่ก็ต่ำกว่าสายพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในต่างประเทศถึง 520 เท่า และต่ำกว่าที่อยู่ในทุเรียนหมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า


ส่วน “กรดแกลลิก” (gallic acid) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ, ต้านการอักเสบ และมีผลในการต้านมะเร็ง – ทีมวิจัยพบว่า ไม่พบในทุเรียนก้านยาวของจีน เหมือนที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้ - ส่วนในหมอนทองของจีน พบว่ามี แต่อยู่ในระดับที่น้อยมาก ที่ 22.85 นาโนกรัม ต่อทุเรียน 1 กรัม ขณะที่ผลการศึกษาเมื่อปี 2008 ทุเรียนหมอนทองของไทย มีกรดแกลลิก ถึง 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม – เรียกว่ามากกว่าจีนถึง 906 เท่าตัวเลยทีเดียว


จาง จิง นักวิจัยจากสถาบันดังกล่าว ระบุว่า ด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง และดินปลูกที่มีแร่ธาตุและสารอาหารที่แตกต่าง มีผลกระทบต่อการเติบโตของทุเรียนอย่างมาก จีนนับว่าเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ของโลก คือราว 95% ของการส่งออกทั่วโลก โดยปี 2018 เริ่มมีการนำทุเรียนไปปลูกที่มณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นเกาะร้อนชื้นเพียงแห่งเดียวของประเทศ ที่เหมาะสมสำหรับปลูกราชาแห่งผลไม้นี้

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง