TNN เปิดใจ “ผู้ควบคุมเนื้อหา” TikTok นั่งตรวจคลิปจนเป็น PTSD

TNN

World

เปิดใจ “ผู้ควบคุมเนื้อหา” TikTok นั่งตรวจคลิปจนเป็น PTSD

เปิดใจ “ผู้ควบคุมเนื้อหา” TikTok นั่งตรวจคลิปจนเป็น PTSD

เปิดใจ “ผู้ควบคุมเนื้อหา” ใน TikTok เผยพวกเขานั่งจ้องคลิปวิดีโอที่รุนแรงจำนวนมากต่อวัน จนทำให้บางครั้งรู้สึกเหมือนเป็นโรค PTSD

ใครเล่น TikTok จะทราบดีว่าฟีดคอนเทนต์ที่เราเลื่อนดูมันจะมีการควบคุมไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราได้เห็นเนื้อหาที่มีความรุนแรงต่าง  แต่คนที่ต้องมานั่งดูแทนเราคือคนที่ทำหน้าที่เป็น “ผู้ควบคุมเนื้อหา” หรือ content moderators ที่จะตกเป็นเป้าหมายของคลิปความรุนแรงเหล่านั้น


สำนักข่าว BBC อธิบายว่าผู้ควบคุมเนื้อหามักจะเป็นคนของบริษัทภายนอกที่บริษัทโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใหญ่  จ้างมาทำงาน โดยจากรายงานผลการสำรวจของ BBC เผยว่าบุคคลเบื้องหลัง TikTok ได้พบ “ด้านมืด” ของแอพลิเคชันยอดนิยมแห่งยุค โดยพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับคอนเทนต์รุนแรงประเภทต่าง  ทั้ง การตัดหัว การสังหารหมู่ การทารุณทางเพศต่อเด็ก และ คําพูดแสดงความเกลียดชัง (hate speech) ในทุกวัน 


Mojez อดีตผู้ควบคุมเนื้อหาของ TikTok ออกมาเผยความคิดเห็นว่าปกติแล้วเมื่อเปิด TikTok ก็จะเห็นคอนเทนต์สนุกๆ มากมายจากผู้ใช้งานทั่วโลกทั้งคลิปเต้นหรือคลิปตลก แต่เบื้องหลังความสนุกนั้นเต็มไปด้วยความมืดมนและเธอคือหนึ่งในคนที่เห็นคอนเทนต์แย่  เหล่านั้นที่มีจำนวนมากตั้งแต่หลายร้อยไปจนถึงหลักพันคลิปต่อวันอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งผู้ควบคุมเนื้อหาก็จะมีหน้าที่ คัดแยก ลบ และรีพอร์ต คอนเทนต์เหล่านั้นให้หายไปจากแพลตฟอร์ม


เมื่อต้องเสพคอนเทนต์แบบนี้ทุกวันจึงไม่แปลกที่จะมีผู้ควบคุมเนื้อหาต้องทรมานกับความรู้สึกบอบช้ำทางจิตใจซึ่งในบางรายที่อาการหนักมาก  ก็เข้าข่ายเป็นโรค PTSD หรือ ภาวะความผิดปกติหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ โดยจากคำบอกเล่าของผู้ควบคุมเนื้อหาท่านหนึ่งบอกว่าเพื่อนร่วมงานของเธอรู้สึกแพนิกอย่างหนักทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ ส่วนอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเขารู้สึดไม่สบายใจเมื่อต้องพูดคุยกับภรรยาและลูก หลังจากไปเห็นคอนเทนต์รุนแรงโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเด็กมาตลอดทั้งวัน


ในความเป็นจริงเมื่อปี 2022 เรื่องนี้เคยเป็นประเด็นนี้มาแล้วครั้งหนึ่งและเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ควบคุมเนื้อหาเรื่อยมาจนถึงในปีนี้ ขณะที่มีรายงานว่าบริษัทโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มรายใหญ่ทั้ง TikTok รวมไปถึง Meta เจ้าของ Facebook ได้ทุ่มเงินราว 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,800 ล้านบาท เป็นงบประมาณสำหรับรักษาและเยียวยาสภาพจิตใจให้กับผู้ควบคุมเนื้อหาในแพลตฟอร์มของตน 


อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ควบคุมเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียได้เรียงร้องให้มีการนำ AI มาใช้คัดแยกคอนเทนต์รุนแรงแทนการใช้คนจริง  ซึ่งพวกเขากล่าวว่างานนี้มันหนักเกินไปและไม่ควรมีมนุษย์คนไหนสมควรมาทำงานที่น่าหดหู่เช่นนี้อีกแล้วในโลกที่ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีอย่าง AI ที่น่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาความบอบช้ำที่เกิดขึ้น 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง