"หมีขั้วโลก" เสี่ยงอดอยาก เหตุอาหารเริ่มหายาก น้ำแข็งละลาย!
ผลการศึกษาพบ "หมีขั้วโลก" เสี่ยงกับความอดอยากมากขึ้น เนื่องจากอาหารเริ่มหายากและใช้เวลาอยู่บนบกมากขึ้นในช่วงที่ไม่มีน้ำแข็ง
ผลการศึกษาพบ "หมีขั้วโลก" เสี่ยงกับความอดอยากมากขึ้น เนื่องจากอาหารเริ่มหายากและใช้เวลาอยู่บนบกมากขึ้นในช่วงที่ไม่มีน้ำแข็ง
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร “Nature Communications” พบว่า หมีขั้วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงอดอยากเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้เวลาบนบกมากขึ้นในช่วงฤดูที่ไม่มีน้ำแข็ง ซึ่งยาวนานขึ้น โดยในช่วง 3 สัปดาห์ บรรดานักวิจัยได้ใช้เวลาสังเกตหมีขั้วโลก 20 ตัวอย่างใกล้ชิดในบริเวณอ่าวฮัดสัน ทางตะวันตกของรัฐแมนิโทบา ประเทศแคนาดา ขณะที่หมีพยายามใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อรักษาพลังงานสำรอง ในขณะที่ แมวน้ำ เหยื่อที่หมีขั้วโลกต้องการนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม
การศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์หมีมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington State University Bear Center), โครงการวิจัยหมีขั้วโลกของสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (the U.S. Geological Survey Polar Bear Research Program), และสถาบันอื่น ๆ เปิดเผยว่า หมีเกือบทั้งหมดน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม (2.2 ปอนด์) ต่อวัน
นักวิจัย ซึ่งใช้ปลอกคอติดกล้องวิดีโอ และจีพีเอส ติดตามการเคลื่อนไหวของหมีขั้วโลกเหล่านี้ พบพฤติกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่หมีประหยัดพลังงานโดยการพักผ่อนไปจนถึงการหาอาหารบนบกอย่างกระตือรือร้น เช่น ซากนกและกวางแคริบู, ผลเบอร์รี่, สาหร่ายทะเล และหญ้า
อันโทนี ปากาโน หัวหน้านักเขียน นักชีววิทยาสัตว์ป่าประจำโครงการวิจัยหมีขั้วโลกของสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ กล่าวว่า หมีใช้เวลาอยู่บนบกมากขึ้นประมาณ 3 สัปดาห์นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ปากาโน กล่าวกับรอยเตอร์ว่า งานสร้างแบบจำลองที่ทำขึ้นในกรณีที่หมีขั้วโลกในภูมิภาคนี้จะอยู่บนบกมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนในอนาคต โดยจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ถึง 10 วันต่อ 10 ปีนับจากนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ปากาโนเสริมว่า หมีขั้วโลกรุ่นเยาว์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อความอดอยากมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเพิ่มไขมันในร่างกายให้เพียงพอ หรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการล่าเหยื่อชนิดอื่น
ภาพจาก reuters
ข่าวแนะนำ