TNN จัดพอร์ตเพิ่มกำไรตลาดหุ้นเวียดนาม เน้นกลุ่มแบงก์-ไอที-สินค้าฟุ่มเฟือย

TNN

Wealth

จัดพอร์ตเพิ่มกำไรตลาดหุ้นเวียดนาม เน้นกลุ่มแบงก์-ไอที-สินค้าฟุ่มเฟือย

จัดพอร์ตเพิ่มกำไรตลาดหุ้นเวียดนาม  เน้นกลุ่มแบงก์-ไอที-สินค้าฟุ่มเฟือย

กูรูชี้หุ้นเวียดนามน่าลงทุน คาดกำไรบจ. VN Index ปีนี้โต 41.7% valuation น่าสนใจเทียบภูมิภาค เน้นกลุ่มแบงก์-ไอที-สินค้าฟุ่มเฟือย

ดร.กําพล อดิเรกสมบัติ  รองกรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office บล. ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า   เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง นำโดยภาคการส่งออกที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเร่งตัวขึ้นของอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม นอกจากนั้นการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัดจากการกลับมาระบาดของ COVID-19


ทั้งนี้เนื่องจากมีมาตรการควบคุมที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นโยบายการเงินและการคลังยังมีแนวโน้มอยู่ในภาวะผ่อนคลายเพื่อช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยคาดว่าเศรษฐกิจ เวียดนามจะเติบโตได้ในระดับ  6.5%-7.0% ในปี 2021-22F อัตราเงินเฟ้อที่เริ่มขยับขึ้นน่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เสถียรภาพด้านต่างประเทศของเวียดนามอยู่ในภาวะแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตเนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะหลังอยู่ในภาวะเกินดุล 


การกลับมาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจแล้วจะยังมีส่วนทำให้ดุลการชำระเงินแข็งแกร่งขึ้นด้วย ความเสี่ยงที่ต้องจับตาในระยะข้างหน้าประกอบด้วย การกลับมาระบาดของ COVID-19 ในจังหวัดอุตสาหกรรมใกล้ Hanoi การมีภูมิคุ้มกันหมู่ที่ช้ากว่าคาดทำให้ต้องเลื่อนการเปิดรับนักท่องเที่ยวออกไป และการเร่งตัวของภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เร็วกว่าคาด 


ทั้งนี้มีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นเวียดนาม การกลับมาฟื้นตัวได้เร็วของเศรษฐกิจเวียดนามการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนเวียดนามที่แข็งแกร่งช่วยให้ valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ไม่ตึงตัวจนเกินไปนักเมื่อเทียบกับในอดีต และค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค 


นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (จนถึง 31 พ.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) เพิ่มขึ้นถึงกว่า 20.3% นับเป็นหนึ่งในตลาด frontier/emerging markets ที่ให้ผลตอบสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เราคาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรใน VN Index ปี 2021/2022 จะเติบโต 41.7% / 21.5% (เทียบกับ -3.1% ในปี 2020) จะทำให้ 12m forward P/E (price/earing) ของตลาดหุ้นเวียดนาม อยู่ในระดับ 14.9 เท่า ซึ่งใกล้เคียงเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาที่ 14.3 เท่า  และเมื่อเทียบกับ 12m forward P/E และ 24m forward P/E ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย (18x, 19.2x) ฟิลิปปินส์ (16.7x, 18.5x) อินโดนีเซีย (16.7x, 18.1x) ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามยังมี valuation ที่ยังน่าสนใจอยู่


นอกจากนี้แนวโน้มการเข้าสู่ดัชนี  MSCI EM ของตลาดเวียดนามใน 2-3 ปีข้างหน้า น่าจะทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศกลับมาสูงขึ้น โดยในช่วงปี 2020 แม้จะมีการขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศ แต่เป็นการขายแบบกระจุกตัวอยู่ในหุ้นขนาดใหญ่จำนวนไม่มาก โดยในส่วนของราย sector เรามีมุมมองเป็นบวกกับกลุ่ม Financial and Banking  กลุ่ม IT และกลุ่ม consu mer discretionary นอกจากนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวน่าจะได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะทยอยมีขึ้นในช่วงปี 2022F


ล่าสุด กำไรบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 1/2021 ของตลาดหุ้นเวียดนามมีกำไรเติบโตถึง +90.61% YOY (vs +21.59% YOY ในไตรมาสที่ 4/2020 และ -1.02% สำหรับทั้งปี 2020) สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 1/2021 กลุ่มธุรกิจที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น ประกอบด้วย Financial and Banking, Oil and gas, Materials ตามมาด้วยกลุ่มธุรกิจประเภท Industrial, Consumer, Power and water อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีกำไรลดลงเล็กน้อย และ Transportation มีกำไรลดลงค่อนข้างมากตามการฟื้นตัวช้าของธุรกิจสายการบิน เราเชื่อว่าด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น บวกกับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามน่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง 


สภาพคล่องในระบบที่ยังมีอยู่สูง จากสภาพคล่องที่อัดฉีดจากรัฐบาล รวมถึงการกลับมากของเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งในด้านการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดหุ้น โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด FDI ในปี 2020 ชะลอตัวลงจากผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเวียดนาม รวมถึงข้อจำกัดในการเดินทาง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ FDI ในปี 2020 ลดลงถึง -61.7% เมื่อเทียบกับปี 2019 อย่างไรก็ตาม ตัวเลข FDI ไตรมาสที่ 1/2021 ส่งสัญญาณการผ่านจุดต่ำสุด จากแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคส่งออกของเวียดนามที่แข็งแกร่ง บวกกับความได้เปรียบด้านข้อตกลงทางการค้าที่ครอบคลุมประเทศคู่ค้าหลัก เราเชื่อว่าเวียดนามจะเป็นหนึ่งในภูมิภาค ASEAN ที่สามารถดึงดูด FDI ได้ในระยะข้างหน้า


 

การเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นอย่างมีนัยของนักลงทุนรายย่อย โดยในช่วงไตรมาส 1/2021 จำนวนบัญชีนักลงทุนรายย่อยในเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 2.98 ล้านบัญชี (คิดเป็น 25% YOY) โดยในเดือนเมษายน 2021 มูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นเวียดนามทั้ง 3 ตลาดเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น USD 888 mn (คิดเป็น 18.8% เทียบกับเดือน มีนาคม 2021) โดยมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนราย คิดเป็น 91.2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด  


การที่นักลงทุนรายย่อยมีมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมากจะเป็นประเด็นความเสี่ยงในตลาดหากการซื้อขายนั้นมาจาก leverage margin ในปริมาณที่สูง จากข้อมูลล่าสุดบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีสัดส่วนการ leverage สูงจนน่ากังวล  โดยตามกฎของ State Securities Commission of Vietnam บริษัทหลักทรัพย์มี margin trading  limit อยู่ที่ 200% ของทุน จากข้อมูลของ Principal Asset Management ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2021พบว่าบริษัทหลักทรัพย์ในเวียดนามที่มีสัดส่วน margin trading ต่อทุน สูงสุด 25 อันดับแรก มีสัดส่วนนี้อยู่ระหว่าง 42%-188% โดยส่วนใหญ่มักกจะควบคุมให้อัตราส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 170%

ข่าวแนะนำ