วัดอุณหภูมิหุ้นไทยเม.ย. สู่โหมดกระทิงหรือยัง!
ตลาดหุ้นไทยหน้าร้อนเข้าสู่โหมดภาวะหมีหรือกระทิง เกาะติดปัจจัยบวก-ลบอะไรบ้างไม่ให้ตกขบวน หุ้นกลุ่มไหนเจิดจรัสน่าเก็บไว้ลงทุนเติมพอร์ตตามไปดูกันเลย
นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการ ฝ่ายวิจัย บล. เอเซียพลัส เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. จากสถิติในอดีตรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 6 ครั้ง ขายสุทธิ 4 ครั้ง ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 8 ครั้ง ปรับลง 2 ครั้ง และค่าเฉลี่ย 10 ปีดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 3%
สำหรับเดือน เม.ย.ปีฉลูมองว่าตลาดหุ้นไทยเป็นขาขึ้น และแกว่งในกรอบ 1,530- 1,644 จุด โดยสาเหตุที่หุ้นไทยน่าสนใจและเป็นเป้าหมายหลักของ Fund flow เป็นผลมาจากหลายปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนเริ่มจากการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ เห็นภาพชัดขึ้น จาก 4 องค์ประกอบ คือ 1. การทยอยฉีดวัคซีนในไทยเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดในแต่ละเดือน รวมถึงการควบคุมการแพร่ระบาดทำ
ได้ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก
2. ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดูดีขึ้น อาทิ ตัวเลขส่งออกเดือน ก.พ. หากหักทองคำออกจะเติบโตถึง 4.6%YoY เป็นต้น ขณะที่มาตรการภาครัฐ การกระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยวต่อเนื่องยาวไปถึง เดือน ส.ค. ในระยะถัดไปทางภาครัฐน่าหันมาให้ความสำคัญกับการผลักดันการลงทุนของรัฐและเอกชน ที่มีมูลค่าโครงการปีนี้กว่า 4.7 แสนล้านบาท 3 แรงหนุนจาก นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เตรียมออกมาตรการกระตุ้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน, พลังงานสะอาด และสวัสดิการสังคม วงเงินราว 3-4 ล้านล้านเหรียญ ตามที่เคยหาเสียงไว้
4. ธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อเนื่องสภาพคล่องส่วนเกิน (เงินฝากในระบบปัจจุบันมีกว่า 15.72 ล้านล้านบาท) เริ่มเห็นการเคลื่อนย้ายเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ช่วยหล่อเลี้ยงดัชนีให้ปรับตัวขึ้นต่อได้ ทั้งจากการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน ก.พ. 64 มียอดการเปิดบัญชีใหม่ถึง 2.7 แสนบัญชี (สูงเกินกว่า 800% ของปริมาณการเปิดบัญชีใหม่ต่อเดือนในอดีต)
ขณะเดียวกันการลงทุนผ่านกองทุนรวมให้น้ำหนักกับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยปัจจุบันยังเห็น Momentum การย้ายเม็ดเงินจากสินทรัพย์ปลอดภัยมาสู่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง แม้ว่า Bond Yield ระยะยาวปรับตัวขึ้นเร็ว แต่ Bond Yield ระยะสั้นยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบายมานานกว่า 8 เดือน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีการค้นหาสินทรัพย์
ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจกว่า เช่น ตลาดหุ้น
นอกจากนี้ตามสถิติในอดีตหลังปี 52 ระบุว่า เวลา Bond Yield ระยะยาวขยับขึ้น พร้อมๆกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังอยู่ในระดับต่ำตลาดหุ้นมีแนวโน้มขาขึ้น ผนวกกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ บวกกับปัจจัยบวกที่หลากหลายเกือบทุกกลุ่มฯ ขณะที่แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 64 คาดฟื้นตัวเด่นกว่า 32% อีกทั้งปลายเดือน เม.ย. จะมีแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นปันผลเสมอ โดยทั้งหมดทั้งมวลทำให้ทาง ASPS มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยเดือน เม.ย. มีโอกาส Outperform ได้ตามสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้นเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ที่ 3.1% โดย ASPS วางเป้าหมายดัชนีปี ที่ 1,670 จุด
โดยรวมทำให้ กลยุทธ์การลงทุนเดือน เม.ย. แนะลงทุนในหุ้นสวยทั้งภายใน (Valuation ดี) และภายนอก (มีปัจจัยสนับสนุน) พร้อมกับได้ประโยชน์หากตลาดฯ เปลี่ยนวีธีการคำนวณดัชนีแบบ
Free float adjusted market Cap. คือ BBL ([email protected]) CENTEL ([email protected]), BDMS([email protected])STEC ([email protected]) SCC([email protected]) SPALI ([email protected])และ BLA([email protected])