หุ้นไทยเผชิญแรงกระเพื่อม ชูธีมบาทอ่อน-น้ำมันพุ่ง-เปิดเมือง
โบรกมองหุ้นไทยสัปดาห์หน้าเผชิญแรงกระเพื่อมจากปัจจัยเสี่ยงทั้งใน-นอกประเทศ จับตาโอเปกพลัสขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมัน 8.1 ล้านลาร์เรลต่อวันออกไปอีก 1 เดือนหนุนราคาน้ำมันดีดขึ้น ลุ้น ชูธีมหุ้นบาทอ่อน-น้ำมันพุ่ง-เปิดเมือง
นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (29 มี.ค.- 3 เม.ย.) คาดว่าแกว่งไซด์เวย์ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,560- 1,585 จุด โดยมีปัจจัยบวก- ลบทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญต่างประเทศนั้นพบว่า วันที่ 30 มี.ค. รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 5.1%mom
นอกจากนี้ในวันที่ 31 มี.ค. รายงาน PMI ภาคการผลิตจีน 1 เม.ย. PMI ภาคการผลิตของยุโรปและสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ซึ่ง Consensus ใน Bloomberg คาดจะขยายตัวดีขึ้นทุกประเทศ จากเดือน ก.พ. และ 4 เม.ย. การจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ และอัตราการว่างงานสหรัฐ และที่สำคัญ คือ รอการเปิดเผยความชัดเจนมาตรการ Infrastructure จากของทีมประธานาธิบดี โจ ไบเดนสหรัฐ วงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญฯ หากเป็นไปตามที่ตลาดคาดจะเป็น Sentiment บวกต่อตลาดหุ้นโลก และน่าจะยังหนุนให้ Dollar index ช่วงสั้นอยู่ในทิศทางแข็งค่า ส่งผลให้ทางตรงข้ามสกุล เงินบาท/ดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง
ล่าสุด 3.2% mtd ยังยืนเหนือ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐติดต่อกัน 3 วัน และมาอยู่บริเวณ ที่ 31.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นส่งออกทุกกลุ่ม ส่งออกอาหาร, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ โดยแนะนำหุ้นที่มี Upside และมี Valuation น่าสนใจ แนะนำซื้อ TU([email protected]) PER เพียง 10 เท่า พร้อมปันผลกว่า 5%, CPF (FV@B42) และ TFG ([email protected]) Div Yields กว่า 3-4%
ขณะเดียวกันวันที่ 1 เม.ย. การประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ตลาดและ ASPS คาดจะมีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตที่ 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 1 เดือน คือ พ.ค.64 หลังความต้องการใช้น้ำมัน Demand ยังคงได้รับแรงกดดันจาก การกลับมา Lockdown ในประเทศแถบยุโรป ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันอันดับ 2 รองจากสหรัฐ
พร้อมติดตามการแก้ไขสถานการณ์เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่เกยตื้นและขวางคลองสุเอซ ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่เรือบรรทุกสินค้า ขณะที่ผลกระทบต่อเรือขนส่งน้ำมันยังค่อนข้างจำกัด
โดยรวมยังเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาน้ำมันดิบโลกให้ยืนเหนือ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะดีต่อหุ้นพลังงาน น้ำมัน โดยเฉพาะ PTT (Buy: [email protected]) และ PTTEP (Buy: FV@B118)
ส่วนในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ ส่วนใหญ่ยังเกาะติด 1. ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2.สถานการณ์เมืองในประเทศ โดยประเด็นที่น่าสนใจคือ รอ 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงาน ภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน ของเดือน มี.ค. ให้น้ำหนักจะออกมาอย่างไร เบื้องต้นคาดดีขึ้นเพราะมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ และ การ Reopen ประเทศ ทำให้คาดการณ์ GDP Growth ปี 64 ธปท. คาดอยู่ที่ 3% ASPS คาด 2.6% ตอกย้ำความเชื่อ Down Side การปรับลด GDP Growth ลดลง ถือเป็นบวกหนุน Fund Flow ไหลเข้าหุ้นไทยในระยะถัดไป
ด้านกลยุทธการลงทุนเน้นหุ้นเด่น MAJOR (FV @ 24.00) อุตสาหกรรมโรงหนังทั่วโลกกำลังเข้าสู่โหมดฟื้นตัว โดยตัวเลข Box office ในสหรัฐฯดีขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน มี.ค. ทำยอดขายตั๋วเฉลี่ยราวสัปดาห์ละ 20 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ. และ ม.ค. ที่ทำได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 11 ล้านเหรียญที่สำคัญคือ กระแสหนังดังๆ Gozilla VS Kong ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก และหลังจากนี้จะมีต่อเนื่อง อาทิ Doremon2 , Fast & Furious 9 เป็นต้น ทำให้ผลประกอบการใน 2Q64 จะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY
ถัดมาเป็น CENTEL (FV @ 40.0) ภาครัฐ เห็นชอบข้อเสนอการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนมาแล้วเข้าภูเก็ต โดยไม่มีการกักตัว ในวันที่ 1 ก.ค. 2564 (เร็วกว่าแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งประเทศที่วางไว้วันที่ 1 ต.ค. 64) คาดจะขยายพื้นที่เปิดรับนักท่องเที่ยวไปยังจังหวัดอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง เช่น กระบี่ และพังงา และวัคซีน COVID-19 เริ่มกระจายในไทย หนุนต่อธุรกิจโรงแรมของ CENTEL ในไทย ขณะที่โรงแรมในมัลดีฟส์ มีพัฒนการที่ดี และเริ่มเห็นกำไรของโรงแรม 4 ดาว เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีการกักตัวนักท่องเที่ยว 14 วัน
ปิดท้ายที่ BBL (FV @ 154.00) ได้แรงหนุนประเด็นบวกจากมาตการ Soft Loan+ Asset Warehouse บวกกับ กนง.คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.5% ขณะที่ราคาหุ้น Laggard กลุ่มธพ.มาก โดยปรับตัวขึ้นเพียง 5.5%ytd ขณะที่กลุ่ม ธพ. ปรับตัวขึ้นถึง 17.3%ytd