TNN เมื่อตลาดหุ้นไม่น่ารัก ก็แค่พักตั้งสติ หาโอกาสเติมพอร์ตในภาวะผันผวน

TNN

Wealth

เมื่อตลาดหุ้นไม่น่ารัก ก็แค่พักตั้งสติ หาโอกาสเติมพอร์ตในภาวะผันผวน

เมื่อตลาดหุ้นไม่น่ารัก ก็แค่พักตั้งสติ หาโอกาสเติมพอร์ตในภาวะผันผวน

เปิดตลาดลงทุนในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ที่ผานมา คงไม่มีใครคาดคิดว่าในวันจันทร์ที่ 5 ตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวลดลงอย่างหนัก จนกลายเป็น Black Monday version 2024

ทำไมตลาดหุ้นไม่น่ารัก.. เหมือนน้อง ‘หมีเนย’ เลยนะ? บรรดามัมหมีและแด๊ดดี๊สายลงทุนคงบ่นกันอุบกับภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกที่ผันผวนอย่างหนักในช่วงเดือนที่ผ่านมา เล่นกับใจนักลงทุนเป็นอย่างมาก ใครที่ใจบาง จิตไม่แข็งพออาจจะดำดิ่งไปกับสถานการณ์รอบด้านที่เข้ามากระทบ ไหนจะภาวะหลอน Recession ที่กลับมาสั่นประสาทกันอีกแล้ว ไหนจะเรื่องที่คุณปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เทหุ้น Apple เหมือนไร้เยื่อใย ไหนจะ Black Monday version 2024 ที่โผล่เข้าซีนแบบไม่ได้รับเชิญ แล้วโอกาสลงทุนอยู่ตรงไหนกัน?

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว อับดับแรกต้อง “ตั้งสติ” กันก่อนครับ.. ค่อยๆ Calm Down Yourself.. แล้วมาหาโอากาสลงทุนไปพร้อมๆ กัน Black Monday version 2024 เปิดตลาดลงทุนในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ที่ผานมา คงไม่มีใครคาดคิดว่าในวันจันทร์ที่ 5 ตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวลดลงอย่างหนัก จนกลายเป็น Black Monday version 2024 โดยตลาดหุ้นในฝั่งตะวันตกร่วงนำร่องมาก่อนตั้งแต่วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลอัตราว่างงานล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ทำให้นักลงทุนกังวลว่าการจ้างงานที่ชะลอตัวลง อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession ในสหรัฐฯ นักลงทุนทั่วพากันเทขายหุ้นออกมาอย่างหนัก หุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงหนักสุด

หลายคนอาจจะทราบจุดกำเนิดของ Black Monday ในปี 1987 กันแล้วนะครับ แต่วันนี้ผมจะพาย้อนประวัติศาสตร์กลับไปเมื่อ 37 ปีก่อน เผื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักลงทุนคนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทัน Black Monday ในเวอร์ชั่น Original เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987
ซึ่งตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงอย่างหนักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย โดยตลาดหุ้นดาวโจนส์ -2.6% ในวันเดียว ตลาดหุ้นสหราชอาณาจักร -26.5% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -24.9% และตลาดหุ้นฮ่องกงหนักสุด -45.8% 

สาเหตุของ Black Monday 1987 เกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งหลักๆ มาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของตลาดสหรัฐฯโดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งในเวลานั้นสหรัฐฯกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดดุลการค้า และการอ่อนค่าอย่างหนักของเงินดอลลาร์รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้นที่สูงเกินจริงไปมากและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการซื้อขายอัตโนมัติ หรือ Programing trading ท่ามกลางปัจจัยลบรุมเร้า สร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดและเกิดการเทขาหุ้นอย่างหนักหน่วง หรือเรียกได้ว่าตลาดอยู่ในภาวะ ‘ขาดสติ’ และเหตุการณ์ Black Monday ในครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 167 ล้านล้านบาท ความผันผวนเพื่อนแท้ตลาดหุ้น นักลงทุนที่อยู่ในตลาดหุ้นมาเป็น 10 หรือ 20 ปี เช่นเดียวกับผม คงเข้าใจกันดีนะครับว่าความผันผวนกับตลาดหุ้นเป็นของคู่กันหลายคนผ่านช่วงตกต่ำของตลาดมาในหลายวิกฤติจนเข้าใจธรรมชาติของตลาดการลงทุน และมีภูมิต้านทานที่แข็งแกร่งรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ แต่นักลงทุนรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์กับตลาดหุ้นไม่เกินปี อาจรู้สึกหวั่นไหวไปกับ Black Monday ที่เกิดขึ้นล่าสุด อย่างตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ดัชนีทรุดฮวบลงไปกว่า 12% ภายในวันเดียว แต่ในสัปดาห์ถัดมาดัชนีนิเกอิค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวขึ้นมาได้ และกลับมา +8% โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับอดีต และนักลงทุนที่อยู่กับตลาดหุ้นมายาวนาน จะทราบกันดีว่าความผันผวนคือโอกาสในการทำกำไร เราจึงควรใช้ประโยชน์จากความผันผวนหรือวิกฤติให้ถูกต้อง ทั้งนี้ มีข้อมูลให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การลงทุนในช่วงวิกฤติมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ ยกตัวอย่าง วิกฤติสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี 2482-2488 ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์สามารถปรับตัวขึ้นมา +24.65% ได้ ขณะที่สงครามรัสเซีย- ยูเครน ตั้งแต่ 25 กุมภาพันธ์ุ 2565 - 16 สิงหาคม 2567 ดัชนี S&P500 +26.67% หรือวิกฤติโรคระบาด Spanish Flu ระหว่างปี 2461 - กุมภาพันธ์ 2463 ดัขนีดาวโจนส์ +19.07% ส่วนช่วง Covid-19 ตั้งแต่ 20 มกราคม 2563 - 16 สิงหาคม 2567 ดัชนี S&P500 +140.97% รวมถึงประเด็นร้อนที่นักลงทุนทั่วโลกจับตาคือทิศทางดอกเบี้ย Fed ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากสถิติการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ระหว่างปี 2558 - 2561 ปรากฏว่าดัชนี S&P500 +21.79% ระหว่างเมษายน 2565 - 16 สิงหาคม 2567 ดัชนี S&P500 +22.18% ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการปรับดอกเบี้ยไม่ได้กระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเสมอไป ขณะที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ หลายบริษัทไม่ได้มีภาระหนี้สินมากมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมดาวรุ่งอย่างธุรกิจเทคฯ หุ้นเทคฯ รุ่ง แต่ทำไมปู่วอร์เรนเท Apple? เราต่างทราบกันดีว่าหุ้นเทคฯ คือผู้นำตลาดในขณะนี้ แต่หลายคนที่ถือหุ้นกลุ่มเทคฯอยู่อาจ Surprise และรู้สึกหวั่นไหวไปบ้าง เมื่อกองทุน Berkshire Hathaway ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ลดพอร์ตลงทุนในหุ้น Apple ซึ่งเป็น 1 ในหุ้น 7 นางฟ้า หรือ Magnificent 7 เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยได้ขายหุ้นออกไป 389 ล้านหุ้นแม้จะยังถืออยู่อีก 400 ล้านหุ้น อย่างไรก็ตาม Apple ยังเป็นหุ้นที่มีมูลค่ามากที่สุดในพอร์ตลงทุนของ Berkshire Hathaway

สำหรับ Jitta ที่ใช้หลักการลงทุน VI ตามอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ ผมมองว่ามี 3 สาเหตุหลักที่ทำให้คุณลดสัดส่วนลงทุนในหุ้น Apple นั่นคือ 
1. การลงทุนใน Apple เป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากๆ เมื่อเทียบกับพอร์ตรวมซึ่งคุณปู่เริ่มลงทุนตั้งแต่ปี 2016 และปู่เคยบอกว่า‘อย่าวัดความลึกของแม่น้ำด้วยขาทั้ง 
2 ข้าง’ นั่นหมายถึงอย่าถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป หรือเกินครึ่งหนึ่งของพอร์ต เพื่อเป็นการกระจายควมเสี่ยง 2. ราคาหุ้น Apple ขึ้นมาเยอะมากแล้วอัตราการเติบโตในระยะยาวจึงน้อยลง และ 
3. ความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ของหุ้น AI ที่เพิ่มขึ้นแต่หลังจากที่วอร์เรน บัตเฟตต์ ปรับลดสัดส่วนลงทุนในหุ้น Apple ลงก็ได้เข้าลงทุนในบริษัทใหม่ 2 รายซึ่งเป็นชื่อที่เราอาจไม่คุ้นหูกันนัก นั่นคือ Ulta Beauty และ Heico ตามมาดูกันครับว่า 2 หุ้นน้องใหม่ในพอร์ต Berkshire Hathaway  ทำธุรกิจอะไรกันบ้าง Ulta Beauty เป็นธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอางรายใหญ่ของสหรัฐฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโบลิงบรูค รัฐอิลลินอยส์ โดยมีสาขาครอบคลุมทั่วทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ ปัจจุบันมีร้านค้าประมาณ 1,395 แห่ง ซึ่ง Berkshire Hathaway ลงทุนประมาณ 690,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 266.3 ล้านดอลลาร์ 

ส่วน Heico เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน โดย Berkshire Hathaway เข้าลงทุนประมาณ 1.04 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 185.4 ล้านดอลลาร์ และหลังจากที่คุณปู่ได้เข้าลงทุนในหุ้นทั้ง 2 บริษัท ทำให้ราคาหุ้น Ulta Beauty พุ่งขึ้น 14% และ หุ้น Heico เพิ่มขึ้น 3% หากจะบอกว่านักลงทุนสายคุณค่าอย่างคุณปู่รอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดมูลค่าหุ้นก็คงไม่ผิด แต่ก่อนที่คุณปู่จะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหน นั่นหมายถึงได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้วเป็นอย่างดี ตามหลักการงทุนแบบ Value Investment เช่นเดียวกับที่ Jitta ยึดถือมาโดยตลอดที่ผ่านมา


เราได้เห็นการปรับพอร์ตลงทุนของของคุณปู่ในลักษณะการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น โดยขยายการลงทุนไปในตลาดหุ้นญี่ปุ่นด้วย ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นสหรัฐฯเหมือนในอดีต รวมทั้งขยายการลงทุนไปสู่หุ้นใหม่ๆ มากขึ้น เช่น หุ้นเทคฯซึ่งไม่ได้โฟกัสอยู่เฉพาะหุ้น Old economy อีกต่อไป
จัดพอร์ตลงทุนตามรอยคุณปู่ คำพูดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่กล่าวไว้ว่า Predicting rain doesn’t count, building the ark does ซึ่งหมายถึง การคาดเดาว่าฝนจะตกน้ำจะท่วมโลกไม่ได้มีประโยชน์อะไร แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์คือการสร้างเรือไว้รองรับน้ำท่วม(อ้างอิงจากตำนานน้ำท่วมโลกยุคเรือโนอาห์ หรือ Noah’s ark ตามคัมภีร์ใบเบิล) ซึ่งคำพูดนี้สะท้อนแนวคิดในการลงทุนของคุณปู่ ที่ไม่กลัวการลงทุนในภาวะวิกฤติ แต่ต้องอาศัยหลักการลงทุนที่ดี วิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนอย่างรอบด้านเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตลงทุน ให้ทนทานกับทุกสภาวะตลาด

โดยหลักการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุน หรือ Asset allocation ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่เน้นกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งประเทศที่เข้าลงทุนประเภทสินทรัพย์ลงทุน อุตสาหกรรม ซึ่งกลยุทธ์ลงทุนตามหลักการนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลตอบแทนที่คาดหวังของนักลงทุนแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ถ้ากระจายความเสี่ยงมากเกินไป อาจกระทบต่อผลตอบแทนได้เช่นกัน ดังนั้น การลงทุนแบบ DCA จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยสนับสนุนผลตอบแทนที่มั่นคงขึ้น และแม้ว่าคุณปู่ได้ปรับพอร์ตลงทุนโดยการลดสัดส่วนหุ้น Apple แต่หุ้นยังเป็นสัดส่วนหลักของพอร์ตลงทุน โดยมูลค่าหุ้นของ Berkshire Hathaway ยังสูงถึง 3.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับสัดส่วนเงินสด 2.76 แสนล้านดอลลาร์ โดย 2.3 แสนล้านดอลลาร์เป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสด ดังนั้น แม้ว่าตลาดลงทุนจะมีความผันผวนแต่การลงทุนอย่างต่อเนื่อง ในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าการถือเงินสดเพราะการถือเงินสดจะทำให้เราเสียโอกาสมากกว่าการลงทุนในช่วงตลาดผันวนจากสถิติพิสูจน์มาแล้วว่าการถือเงินสดจะทำให้เราจนลงในรยะยาว เช่น ตัวเลขสถิติตั้งแต่ 1 มี.ค.2547-1 ก.ค.2567 พบว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 50,000 บาทในตลาดหุ้น Nasdaq ผ่านไป 20 ปี พอร์ตลงทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 419,679.38 บาทหรือเฉลี่ยผลตอบแทนต่อปี 10.93% เทียบกับการถือเงินสดที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็น 67,987.98 บาท หรือเพียง 1.53% ต่อปี อย่างนี้เรียกว่า‘เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย’ แม้การถือเงินสดทำให้รู้สึกปลอดภัยในระยะสั้นแต่จริงๆ แล้วคือขาดทุนระยะยาว จึงต้องเลือกระหว่างความปลอดภัยกับความมั่งคั่ง 

DCA ตัวช่วยพยุงพอร์ตเมื่อตลาดผันผวน การลงทุนด้วยวิธี DCA สามารถพิสูจน์ให้เห็นมานักต่อนักแล้วว่าสามารถช่วยพยุงพอร์ตลงทุนได้จริงในภาวะตลาดผันผวน และยังช่วยสร้างบัฟเฟอร์ให้พอร์ตมีความทนทานต่อภาวะวิกฤติได้มากขึ้นที่สำคัญจะช่วยเพิ่มการเติบโตให้กับพอร์ตลงทุนในระยะยาวทั้งจากเงินต้นและผลตอบแทนที่ได้รับ ถ้าเปรียบเทียบการทำ DCA โดยการทยอยลงทุนด้วยเงินก้อนเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง กับการลงทุนตู้มเดียวด้วยเงินก้อนใหญ่ อย่างน้อยข้อดีของการลงทุนแบบ DCA คือ ช่วยให้เราสบายใจเมื่อตลาดอยู่ในภาวะวิกฤติหรือมีความผันผวนสูง สำหรับบางคนการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียวอาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าถ้า จับจังหวะตลาดได้ถูก แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถประเมินตลาดได้แม่นยำขนาดนั้น


ขณะเดียวกัน คนโดยทั่วไปไม่ได้มีเงินก้อนโตเพียงพอที่จะลงทุนได้ในคราวเดียว การค่อยๆ ทยอยลงทุนด้วยเงินก้อนเล็กๆ ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ยังเป็นการฝึกให้เราเรียนรู้กับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงให้เราสามารถปรับพอร์ต ปรับกลยุทธ์ลงทุนได้เท่าทันกับสถานการณ์ ที่สำคัญเป็นการค่อยๆ ฝึกจิตให้เข้มแข็งเมื่อวิกฤติมาเยือน เพราะตลาดทุนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้อยู่แล้ว แนวทางลงทุนของ Jitta เอง ก็อาศัยทั้งหลักการ Asset allocation และ DCA เช่น Global ETF ที่เป็นเสมือนพอร์ตลงทุนสามัญประจำบ้าน ซึ่งเปิดดำเนินการมา 4 ปีแล้วสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความทนทานต่อความผันผวนจากหลายวิกฤติที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Covid-19, สงครามรัสเซีย-ยูเครน, สงครามอิสราเอล-ฮามาส,วิกฤติเงินเฟ้อและดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จนนำไปสู่การปิดกิจการของ Sillycon Valley Bank (SVB) จนกระทั่ง Black Monday 2024 โดยกองทุนลทุนในหุ้นและพันธบัตรทั่วโลก และให้นักลงทุนเลือกลงทุนได้ 3 รูปแบบ ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ประกอบด้วย 1. พอร์ตพอเพียง โดยลงทุนในหุ้น 20% และพันธบัตร 80% ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปี 2. พอร์ตสมดุลลงหุ้น 50% และพัฯบัตร 50% ผลตอบแทน 6% ต่อปี และ 3. พอร์ตเติบโตลงทุนในหุ้น 80% และพันธบัตร 20% ให้ผลตตอบเทน 8% ต่อปี ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท ก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเเข้าถือหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ทั่วโลก 

นอกจากนี้  ยังสามารถลงทุนด้วยวิธี DCA ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาทต่อครั้ง ทุกวันนี้โลกของเราเผชิญกับความท้าท้ายมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนได้มากและเร็วขึ้น ต้องยอมรับนะครับว่าตลาดหุ้นไม่ได้น่ารักกับเราเสมอไป ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพอร์ตลงทุนให้ทานทนกับความผันผวนได้ดียิ่งขึ้น.. จะช่วยเพิ่มความ “น่ารัก”ให้กับผลตอบแทนได้อย่างแน่นอนครับ

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ 
CEO Jitta Wealth






ข่าวแนะนำ