TNN KYC คืออะไร? รู้จักระบบยืนยันตัวตน ไม่อยากพลาดเงินดิจิทัล 10,000 เช็กที่นี่

TNN

Wealth

KYC คืออะไร? รู้จักระบบยืนยันตัวตน ไม่อยากพลาดเงินดิจิทัล 10,000 เช็กที่นี่

KYC คืออะไร? รู้จักระบบยืนยันตัวตน ไม่อยากพลาดเงินดิจิทัล 10,000 เช็กที่นี่

ทำความรู้จัก "KYC" ระบบยืนยันตัวตน รัฐบาลเตรียมเปิดให้ลงทะเบียนรับ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แต่จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน KYC

ทำความรู้จัก "KYC" ระบบยืนยันตัวตน รัฐบาลเตรียมเปิดให้ลงทะเบียนรับ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แต่จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน KYC


จากกรณีโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ล่าสุดนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เงื่อนไขและเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการในเบื้องต้นนั้น การรับสิทธิโครงการไม่ต้องมีการลงทะเบียน แต่ประชาชนยังต้องยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)


โดยผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐที่ดำเนินการมาแล้วก่อนหน้านี้ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ สามารถเริ่มต้นใช้จ่ายผ่านโครงการได้เลย ส่วนผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐเลย และผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จะต้องยืนยันตัวตนอีกครั้ง เพื่อดำเนินการในขั้นตอน KYC หรือ Know Your Customer



ทำความรู้จัก KYC คืออะไร


KYC ย่อมาจากคำว่า Know Your Customer หรือแปลได้ว่า “การทำความรู้จักกับลูกค้า” ซึ่งหมายถึง กระบวนการพิสูจน์ตัวตนในการทําความรู้จักลูกค้า ที่สามารถระบุตัวตน และพิสูจน์ตัวตนได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของลูกค้า ป้องกันการทุจริตหรือปลอมแปลงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงเป็นการป้องกันการฟอกเงิน การสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล 


โดยเป็นการป้องกันการแอบอ้างตัวตน เช่น กรณีที่เราไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร แล้วต้องใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน เป็นต้น โดย KYC ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้หน่วยงานดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องทํา KYC ให้กับลูกค้า เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยต่างๆ เป็นต้น



ทำไมต้องทำ KYC หรือทำไมต้องยืนยันตัวตน?


การทำ KYC เป็นการช่วยป้องกันการทุจริตหรือปลอมแปลงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงิน ป้องกันการแอบอ้างตัวตน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการคอรัปชัน หรือการฟอกเงิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบริการให้กับลูกค้าและผู้ให้บริการมากขึ้น



การทำ KYC สามารถทำได้ 2 ช่องทาง


-Face to Face: การไปแสดงตนที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารตรวจสอบบัตรประชาชนกับหน้าลูกค้าเจ้าของบัตรประชาชน


-Online/ Mobile: ทำผ่านช่องทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC



E-KYC คือการทำความรู้จักลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้แทนการทำความรู้จักลูกค้าแบบเดิม ที่ลูกค้าต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินด้วยตนเอง เป็นการลดความยุ่งยาก เสียเวลา

ตัวอย่างการใช้ E-KYC ในปัจจุบัน เช่น การพิสูจน์ตัวตน โดยสแกนใบหน้าผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อเปิดบัญชี โดยในช่วง COVID-19 ที่ต้องรักษาระยะห่าง การทำ E-KYC จึงเป็นการลดการสัมผัสที่นำไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี


ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนที่เรียกว่า KYC (Know Your Customer) จึงเป็นกระบวนการเพื่อเป็นความปลอดภัย และป้องกันการความเสี่ยงการจากปลอมแปลงข้อมูลให้แก่ลูกค้า



การยืนยันตัวตน KYC คล้ายคลึงกับการยืนยันตัวตนในแอปพลิเคชันเป๋าตัง เช่นเดียวกับโครงการของรัฐบาลก่อนหน้า โดยผู้มีสิทธิต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ถ่ายบัตรประชาชน กรอกเลขบัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์ พร้อมกับถ่ายรูปสแกนหน้าเพื่อยันยันตัวตน



กลุ่มผู้ที่จะได้สิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท แบ่งเป็น 2 กลุ่ม


กลุ่มที่ 1 กลุ่มคนที่เคยเข้าร่วมโครงการ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการ ชิม ช้อป ใช้ โครงการช้อปดีมีคืน และโครงการเราไม่ทิ้งกัน จำนวน 40 ล้านคน ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ สามารถเริ่มใช้จ่ายผ่านโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้เลย


กลุ่มที่ 2 กลุ่มคนที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐมาก่อน จำนวน 10 ล้านคน มีอายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องยืนยันตัวตนในขั้นตอน KYC ผ่านช่องทางสถาบันการเงินของรัฐ และใช้บัตรประชาชนผ่านกลไกของรัฐที่กำหนด


อย่างไรก็ตาม การแจกดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จะใช้แจกเงินในระบบบล็อกเชน (Blockchain) ผ่าน super App แอปพลิเคชันใหม่ที่กำลังพัฒนาขึ้นโดยธนาคารของรัฐบาล ไม่ใช่แอปพลิเคชันเป๋าตังอย่างที่เคยใช้กันก่อนหน้า




ขอบคุณข้อมูล : ธนาคารทหารไทยธนชาต / ธกส

แฟ้มภาพ AFP


ข่าวแนะนำ