TNN 5 สิ่งไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือน หากทำแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร?

TNN

Wealth

5 สิ่งไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือน หากทำแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร?

5 สิ่งไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือน หากทำแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร?

ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดข้อมูล 5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือน หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยข้อมูล 5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือนบางอย่างเป็นมาตรการที่ไม่ควรทำ บางอย่างเป็นสิ่งที่ลูกหนี้ไม่ควรทำ เพราะอะไรจึงไม่ควรทำ แล้วจะส่งผลต่อตัวลูกหนี้อย่างไร 

การแก้หนี้อย่างถูกต้อง ต้องทราบว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ และต้องรักษาสมดุลที่ดีระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้

สิ่งที่ลูกหนี้ไม่ควรทำ

พักชำระหนี้เป็นวงกว้าง เป็นเวลานาน

หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

ลูกหนี้มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มในช่วงพักชำระหนี้ ลูกหนี้อาจเสียวินัยทางการเงินได้ เพราะชินกับการไม่ต้องจ่ายหนี้ จนอาจจูงใจให้ก่อหนี้เพิ่มอีก

สถาบันการเงินอาจมีสภาพคล่องไม่พอปล่อยสินเชื่อใหม่ หรือช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนจริง ๆ

ลบ / แก้ประวัติข้อมูล เครดิตของลูกหนี้ (NCB)

หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

สถาบันการเงินไม่มีประวัติผู้กู้เพื่อใช้พิจารณาปล่อยสินเชื่อ จนอาจไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ หรือหากปล่อยก็จะคิดดอกเบี้ยแพง ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ยากขึ้น

ผ่อนชำระขั้นต่ำต่อเนื่อง (บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด)

หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

ลูกหนี้ปิดหนี้ได้ยากขึ้น เพราะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่ยังค้างจ่าย

กู้หนี้ใหม่โปะหนี้เก่า (โดยเฉพาะกรณีกู้หนี้ใหม่ที่ดอกเบี้ยแพงขึ้น เช่น กดเงินจากบัตรกดเงินสดมาจ่ายหนี้บัตรเครดิต)

หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

หนี้ไม่ลดลง แต่ลูกหนี้จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่แพงกว่าเดิม

หยุดจ่ายหนี้หนี้เสีย

หากทำแล้ว จะเกิดผลเสียอย่างไร?

ลูกหนี้อาจถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์และเสียประวัติจนกู้สินเชื่อใหม่ได้ยากขึ้น

การแก้หนี้ต้องทำอย่างถูกหลักการ

รู้ว่าอะไรควรทำ และไม่ควรทำ ต้องรักษาสมดุลที่ดีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

เช่น แก้หนี้ให้ตรงจุดเหมาะกับปัญหาของแต่ละคน ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องร่วมมือและตั้งใจจริงในการแก้ปัญหา

5 สิ่งไม่ควรทำในการแก้หนี้ครัวเรือน หากทำแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร?

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย



ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย  / TNN ONLINE / AFP

ข่าวแนะนำ