ส่องหุ้นรับผลบวก-ลบ สินค้าโลหะปรับตัวลงมีอะไรบ้าง
โบรกประเมินราคาสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มโลหะได้ผ่านจุดแล้ว แต่ยังเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยลบต่างประเทศ แต่จะมีหุ้นตัวไหนได้รับผลบวก-ลบตามไปดูกันเลย
บล.เคทีบีเอสที มองแนวโน้มราคา commodities กลุ่มโลหะนั้นได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และจะ stable รวมถึงมี downside risk ซึ่งจะส่งผลดีต่อด้านต้นทุนของผู้ผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรม จาก 4 ปัจจัยดังนี้
1. เศรษฐกิจโลกยังมี downside risk ฝ่ายวิจัยมองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังมีโอกาสถูกปรับคาดการณ์ลงอีกจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะจากฝั่งของ US ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% โดยตลาดคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2565 จะอยู่ที่ 3.5%-4% ซึ่งยังเหลือ room ให้ขึ้นได้อีกประมาณ 1% โดยที่ผ่านมามีการปรับลดคาดการณ์ GDP อย่างต่อเนื่องหลังจากผลกระทบการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ซึ่งได้เห็นการเกิด technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปแล้ว รวมถึงรายงาน GDP ไตรมาสล่าสุดปัจจัยที่หดตัวแรงมาจาก private investment และ durable goodsconsumption แสดงให้เห็นถึงความกังวลเศรษฐกิจในอนาคต
2. เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงมากขึ้น ทางรัฐบาลจีนเริ่มกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้นและเริ่มเห็นปัญหาในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาธนาคารขนาดเล็กของจีนบางแห่งเริ่มมีปัญหา liquidity และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีนก็เริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
3. ราคาพลังงานปรับตัวลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดมาประมาณ 20% ซึ่งส่งผลให้ราคา commodities ตัวอื่นปรับลดลงไปด้วย เนื่องจากราคาพลังงานเป็นต้นทุนแฝงในสินค้า commodities ชนิดอื่นอย่างมีนัยยะ
4. สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสดีขึ้น มองว่าสถานการณ์สงครามไม่น่าจะหนักไปกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน และมีโอกาสดีขึ้น ซึ่งถ้าหากสงครามเริ่มคลี่คลายจะลดความกดดันของสินค้า commodities ลงได้ โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งออกหลักทั้งส่วนของพลังงาน และแร่สำคัญๆ ได้แก่ aluminum, palladium และ pig iron
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงมองว่าหุ้นที่น่าสนใจในภาวะที่สินค้ากลุ่มโลหะปรับตัวลงมีทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ดังนี้
หุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์
- KCE (ซื้อ/เป้า 80.00 บาท) – ได้ประโยชน์โดยเฉพาะจากราคาทองแดงที่ปรับตัวลง เนื่องจากต้นทุนทองแดงเป็นต้นทุนวัตถุดิบหลักคิดเป็นประมาณ 15% ของต้นทุนการขาย โดยหากราคาทองแดงปรับตัวลง 10% จะส่งผลให้ gross margin เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5% โดยในช่วงที่ผ่านมาค่าเฉลี่ยของ gross margin KCE อยู่ที่ประมาณ 25% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่มองว่าในช่วง 2H65 gross margin มีโอกาสไปอยู่ในระดับ 27-30% เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา KCE ได้มีการปรับขึ้นราคาขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในช่วงหลังบริษัทได้มีการเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นอย่างต่อเนื่อง และลดการพึ่งพารายได้กลุ่ม automotive ลงเรื่อยๆ ทำให้ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานน้อยลง
- CBG (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 126.00 บาท) - ได้ประโยชน์จากราคา Aluminum ที่ปรับตัวลดลงโดยราคา Aluminum ลงมา 35% จากจุดสูงสุดในช่วงเดือน มี.ค. 2565 ทั้งนี้ต้นทุน Aluminum มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 20% ของต้นทุนวัตถุดิบรวม ทั้งนี้ทุกๆ 100 usd/ton ของราคา aluminum ที่ลดลงจะเพิ่ม gpm ของ overseas branded own ที่ 1% (สัดส่วนรายได้ overseas branded own อยู่ที่ 35% ของรายได้รวมปี 2565) หรือจะเพิ่ม GPM รวมที่ 0.3% ฝ่ายวิจัยมองว่าผลประกอบการ 2H65 จะขยายตัวโดดเด่น YoY, HoH จาก market share ที่เพิ่มขึ้น และ GPM ขยายตัวจากต้นทุน Aluminum และพลังงานที่ปรับตัวลดลง
- SAT (ซื้อ/เป้า 22.50 บาท) - มีต้นทุนเหล็กคิดเป็นสัดส่วน 40% ของ COGS โดยวัตถุดิบเหล็กที่ใช้จะเป็นเหล็กเกรดพิเศษและมีการทาสัญญาซื้อล่วงหน้าตามคำสั่งซื้อที่จะเกิดขึ้นทำให้ต้นทุนเหล็กจะไม่ผันผวนมากนัก โดยปกติจะมีผลกระทบต่อ GPM ไม่เกิน +-2%
- CK (ซื้อ/เป้า 25.60 บาท) - สำหรับผู้ประกอบการรับเหมาขนาดใหญ่ ต้นทุนเหล็กคิดเป็นสัดส่วน 3-5% ขณะที่รับเหมาขนาดเล็กราว 10% ของต้นทุนรวม และ CK ยังมี catalyst จากcatalyst ก็จะมีโครงการหลวงพระบางอะ ที่คาดว่าสัญญา EPC จะได้ข้อสรุปใน 2H65
หุ้นที่เสียประโยชน์
- GLOBAL (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท)
- DOHOME (ถือ/เป้า 15.30 บาท) ต้นทุนเหล็กคิดเป็นประมาณ 15% แต่ไม่ได้ stock เหล็กไว้เยอะ ทำให้สามารถบวก margin ได้โดยตรง ส่วน privatebrand ที่วัตถุดิบหลักเป็นเหล็กมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย (<1%) ที่จะกระทบเป็นหลักจะเป็นตัว finish goods ที่วัตถุดิบหลักเป็นเหล็กแต่มองว่าราคาสินค้ายังมีผันผวนน้อยกว่าเหล็กมาก และส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ inventory days ต่ำ
ที่มา บล.เคทีบีเอสที
ภาพประกอบ เก็ตตี้ อิมเมจ