TNN ระทึก!หุ้นกลุ่มไหนร่วง หลังเมียนมาออกกฎเข้มระงับจ่ายหนี้ตปท.

TNN

Wealth

ระทึก!หุ้นกลุ่มไหนร่วง หลังเมียนมาออกกฎเข้มระงับจ่ายหนี้ตปท.

ระทึก!หุ้นกลุ่มไหนร่วง  หลังเมียนมาออกกฎเข้มระงับจ่ายหนี้ตปท.

ตลาดหุ้นปั่นป่วน ! หลังจากเมียนมา สั่งระงับการจ่ายหนี้ต่างประเทศ เพื่อรักษาปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ จะกระทบกลุ่มธุรกิจไหนบ้างนั้นตามไปดูกันเลย

บล.เอเซียพลัส ระบุว่า จากกรณีที่เมียนมาห้ามสั่งจ่ายหนี้ต่างประเทศเบื้องต้นฝ่ายวิจัย ASPS ทำการรวบรวมข้อมูลจากนักวิเคราะห์พื้นฐาน ว่ามีหุ้นอะไรที่ธุรกิจได้รับผลกระทบ “กรณีพม่าห้ามสั่งจ่ายหนี้ต่างประเทศ” เพื่อรักษาปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง ซึ่งมีรายละเอียดรายกลุ่มและรายบริษัทดังนี้


1.กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างมีการส่งออกสินค้าไปพม่าอาทิ ปูนซีเมนต์ กระเบื้องเซรามิค และสินค้าวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ในสัดส่วนไม่ถึง 5% ของยอดขายรวม โดยเป็นการค้าขายตามปกติ ขณะที่ SCC  ที่เคยมีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ 1.8 ล้านตัน/ปี ได้ยุติธุรกิจดังกล่าวไปตั้งแต่ปี 2563 จากข้อพิพาทกับพันธมิตรท้องถิ่นและได้เคยตั้งสำรองด้อยค่าสินทรัพย์ไปแล้ว 4,335 ล้านบาท โดยปี 2563 ก่อนยุติธุรกิจโรงปูนซีเมนต์ในพม่า SCC มีรายได้จากธุรกิจปูนซีเมนต์ในพม่า คิดเป็น 0.7% ของรายได้รวม ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากพม่าน่าจะลดลงจนแทบไม่มีนัยสำคัญต่อ SCC


2.กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : มี 4 บริษัทใน Coverage ของฝ่ายวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพม่าได้แก่ ITD ที่มีการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยใช้เงินลงทุนไปแล้ว 7,843.6 ล้านบาทและได้ถูกรัฐบาลพม่ายกเลิกสัมปทานตั้งแต่ 30 ธ.ค 63 โดยที่ ITD ยังไม่ได้มีการตั้งสำรอง

ด้อยค่าโครงการดังกล่าว เพราะยังมีความมั่นใจว่าจะสามารถเจรจากับรัฐบาลพม่าได้


NWR มีลูกหนี้ค่าก่อสร้างโรงแรมในพม่าคงค้างอีกประมาณ 191 ล้านบาท ซึ่งลูกหนี้จะทยอยชำระคืนเงินแก่ NWR ตั้งแต่ ธ.ค 2565 ถึง ธ.ค 2579 ตาม Projection กระแสเงินสดของโรงแรมดังกล่าวในอนาคต โดยปี 2565 มีกำหนดชำระหนี้ 5 ล้านบาทTTCL มีการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยถือหุ้น 40% ในโรงไฟฟ้า Ahlone#1 ขนาด120MW และรับส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า Ahlone#1 ประมาณ 100 ล้านบาท/ปี และ

อยู่ระหว่างการลงทุนโรงไฟฟ้า Ahlone#2 ขนาด 388MW โดยได้รับ PPA จากรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปี 2564 แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้


SEAFCO มีบริษัทลูกในพม่าคือ SEAFCO(Myanmar) โดยถือหุ้น 80% ปัจจุบันไม่มีการรับงานในพม่าแล้ว โดยมีเครื่องจักรทำเสาเข็ม 3 ชุด รถเครน 4 คัน และรถแบ็ดโฮ ที่รอขายหรือนำกลับประเทศไทย


3.กลุ่มเครื่องดื่ม – OSP(FV@B37) โดยพิจารณายอดขายปี 2554 ราว 2.7 หมื่นล้านบาท มีสัดส่วนยอดขายจากต่างประเทศประมาณ 4.3 พันล้านบาท (สัดส่วน 16% ของยอดขาย,+17% YoY) ส่วนใหญ่มาจากเมียนมา จึงประเมินยอดขายจากเมียนมาร์อยู่ในระดับ 10%ของยอดขาย


 ซึ่งส่วนนี้หลักๆ แล้วขายเป็นสกุลเงินเมียนมาร์ ผ่าน บ. ย่อยในเมียนมา(OSP ถือหุ้นรวมกัน 85%) จึงมองผลกระทบในส่วนของยอดขายจากการมาตรการของธนาคารกลางเมียนมาร์ ค่อนข้างจำกัด แต่ปัจจัยด้านกำลังซื้อของผู้บริโภคในเมียนมาร์และการจัดเก็บเงินจากคู่ค้า รวมถึงสถานะการค่าเงินเมียนมา ยังต้องติดตามต่อไป


ทั้งนี้ งวด1Q65 ยอดขายต่างประเทศยังเติบโตดี 17.8% YoY ท่ามกลางความอ่อนแอของเศรษฐกิจเมียนมาร์หลังผ่านการรัฐประหารในช่วงต้นปี 2564 นอกจากนี้OSP มีเงินกู้ยืมสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ผ่าน บ. ร่วม (2 บริษัท ถือหุ้น 35% ในโรงงานผลิตขวดแก้ว และ 51.8%ธุรกิจจำ หน่ายขวดแก้ว) ในเมียนมา เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังบริษัทฯ บ. ร่วม มีภาระหนี้ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ


ฯ โดยเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินไทย (ชำระเงินกู้ครั้งเดียวในอีก 7 ปีข้างหน้า) แม้ภาระหนี้ตามสัดส่วนการถือหุ้น ไม่เกินระดับ EBITDAของ OSP ที่ราว 5 พันล้านบาทต่อปี (สถานะการเงิน ณ สิ้นงวด 1Q65 เป็น Net cash ราว3 พันล้านบาท) 


อย่างไรก็ตาม OSP อยู่ระหว่างบริหารจัดการภาระดอกเบี้ยจ่ายส่วนนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากสุด ผ่านการเจรจากับสถาบันการเงิน ภาพรวมยังคงประมาณการกำไรปี 2564 ที่ 3.25 พันล้านบาท สำหรับ CBG เนื่องจากฝ่ายวิจัยไม่ได้Coverage โดยโครงสร้างรายได้ปี 2564 ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท ราว 33% มาจากการส่งออกไปยัง CLMV แต่โครงสร้างการขายมาจากกัมพูชาเป็นหลัก จึงคาดว่ายอดขายจากเมียนมาจะอยู่ในระดับประมาณ 10% ของยอดขาย


4.กลุ่มธนาคารและการเงิน – หากอิงจากมูลค่าการส่งออกจากไทยไปยังเมียนมา ราว 1%ของมูลค่าการส่งออก เบื้องต้นจึงประเมินผลส่วนนี้จำกัด ส่วนหุ้นในกลุ่มการเงิน อย่าง AEONTS (FV@B250) จะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะหลังจากรัฐประหารในพม่าเมื่อก.พ.64 AEONTS กํได้หยุดปล่อยสินเชื่อในพม่าแล้ว จนปัจจุบันแทบไม่มีสินเชื่อคงค้างในพม่าแล้ว


5.กลุ่มพลังงาน - PTTEP (FV@B175) มีโครงการในเมียนมา อาทิ ซอติก้า, ยาดานา และ เยตากุน เป็นต้น แต่ไม่มีรายการเงินกู้ต่างประเทศสำหรับโครงการในเมียนมา ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อบริษัท 


ส่วนในด้านรายรับจากโครงการในเมียนมา ทาง PTTEP รับเงินจากPTT โดยตรงเป็น USD เข้าบัญชีในประเทศไทย ดังนั้นไม่มีความเสี่ยงเรื่องการรับเงินหรือการถูกบังคับให้แปลงเป็นเงินจ๊าด เช่นเดียวกับในด้านรายจ่าย การจ่ายเงินในเมียนมาเป็นจ๊าดทำในประเทศเมียนมา โดยการแปลงเงิน USD เป็นจ๊าด สำหรับรายจ่ายของโครงการเมียนมาที่เป็นสกุลต่างประเทศ จะทำจ่ายจากบัญชีนอกประเทศเมียนมา ดังนั้นยัง

สามารถบริหารจัดการได้ตามปกติ


6.กลุ่มชิ้นส่วน - DELTA (FV@B280) มีโรงงานอยู่ในประเทศพม่า พื้นที่การผลิต 4.5 พันตารางเมตร หรือคิดเป็น 2% ของพื้นที่โรงงานทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศของ DELTAโดยโรงงานดังกล่าวผลิตชิ้นส่วนขั้นกลาง แล้วส่งมาประกอบต่อในไทยเป็นหลัก จึงประเมิน

ว่าจะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะไม่ได้มีรายได้จากการขายภายนอกมากนัก


ที่มา  บล.เอเซียพลัส  

ภาพประกอบ บล.เอเซียพลัส  

ข่าวแนะนำ