TNN ดักเก็งกำไรงบแบงก์ไตรมาส 1/65 ตัวไหนเด่นพร้อมวิ่ง

TNN

Wealth

ดักเก็งกำไรงบแบงก์ไตรมาส 1/65 ตัวไหนเด่นพร้อมวิ่ง

ดักเก็งกำไรงบแบงก์ไตรมาส 1/65  ตัวไหนเด่นพร้อมวิ่ง

บล.หยวนต้าประเมินงบไตรมาส 1/65 ของ 7 แบงก์ฟันกำไรสุทธิ 41,765 ล้านบาท โต 6.5% หลังตั้งสำรองลดลง-ขยายพอร์ตสินเชื่อเพิ่ม ผนวกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐหนุนการบริโภค-การลงทุนภาคเอกชนดีดตัวขึ้น แรงหนุนมอเตอร์โชว์ผสมโรง

นายตฤณ สิทธิสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์  บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า   สัปดาห์หน้าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะทยอยประกาศงบไตรมาส 1/65   โดยมองว่าหุ้นกลุ่มธนาคารภายใต้ Coverage ของเราทั้ง 7 แห่งจะมีกำไรสุทธิรวม 41,765 ล้านบาท  โต 6.5%YoY และโต17.1%QoQ   หลังการตั้งสำรองผ่อนคลายลง และมีปัจจัยบวกจากการขยายพอร์ตสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง  


โดยมีปัจจัยหนุนหลักจาก  1. พอร์ตสินเชื่อรวมที่ขยายตัวขึ้น สอดรับกับรายงาน ธพ.1.1. เดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่สะท้อนถึงการขยายสินเชื่อของหลายธนาคาร   หลัง Risk Appetite เพิ่มขึ้นสอดรับกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว รวมถึงผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจของมาตรการรัฐฯ ที่ทำให้ Sentiment การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนจากงาน Motor Show ในช่วงปลายเดือน มี.ค. ทำให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อ Floor Plan ปรับตัวขึ้นได้ดี 


2. คาดจะเห็น NIM ที่เริ่มกลับมาขยับขึ้นเล็กน้อย หลังเห็นทิศทางการปรับพอร์ตของหลายธนาคารที่เน้นมาโตสินเชื่อที่เป็น High Yield มากขึ้น เช่น สินเชื่อไม่มีหลักประกัน สินเชื่อดิจิตอล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ทำให้ Asset Yield รวมคาดว่าจะเริ่มทยอยเพิ่มขึ้นตามลำดับ


3.การลดลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามผลของ Seasonal หลังไม่มีค่าใช้จ่ายพนักงานและค่าใช้จ่ายลงทุนด้าน IT มากเท่ากับ 4Q64 

4.การตั้งสำรองจะปรับลดลง ตามนโยบายการตั้งสำรองปีนี้ที่จะทยอยผ่อนคลายลง หลังมีการตั้งสำรองจำนวนมากไปแล้วในหลายไตรมาสที่ผ่านมา และการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล อีกทั้งผลกระทบจากปัญหาในต่างประเทศจะกระทบกับลูกหนี้ค่อนข้างจำกัด ทั้งนี้ปัจจัยกดดันของไตรมาสนี้หลักๆ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียม และรายได้จากตลาดทุนที่คาดจะลดลงเทียบกับ 4Q64   

 

นอกจากนี้ประเมินว่าใน 1Q65 ธนาคารขนาดใหญ่จะ Outperform ธนาคารขนาดกลาง/เล็ก เนื่องจากได้รับผลบวกจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่ลดลงมากกว่า โดยคาด SCB จะเป็นธนาคารที่มีผลดำเนินงานโตเด่นสุด QoQ (คาดกำไรสุทธิ 10,306 ลบ. +2.2%YoY, +30.8%QoQ) หลังคาดการตั้งสำรองจะลดลงมาก หลังเร่งจัดชั้นลูกหนี้แบบ Qualitative ไปใน 4Q64 บวกกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง


รองลงคือ BBL (คาดกำไรสุทธิ 7,734 ลบ. +11.7%YoY, +22.4%QoQ) เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีการเร่งบันทึกเงินลงทุนด้าน IT จำนวนมากใน 4Q64 ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงมากในไตรมาสนี้ บวกกับคาดการตั้งสำรองจะผ่อนคลายลง 


สำหรับ KBANK (คาดกำไรสุทธิ 11,337 ลบ. +6.7%YoY, +14.5%QoQ) และ KTB (คาดกำไรสุทธิ 5,601 ลบ.  +0.4%YoY, +13.3%QoQ) ได้รับผลบวกจากการตั้งสำรองที่ลดลงน้อยกว่า SCB และ BBL เพราะไม่ได้ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมากนักใน 4Q64 แต่ผลดำเนินงานถือว่าโตดี หนุนจากพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะพอร์ตสินเชื่อรายย่อยที่มี Momentum ดีขึ้นต่อเนื่อง หนุน Asset Yield ให้เพิ่มขึ้น


ส่วนธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาด TTB (คาดกำไรสุทธิ 3,081 ลบ. +10.7%YoY, +10%QoQ) กำไรโตมากสุด เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างเหมือนปีก่อน และเริ่มรับรู้ผลจาก Cost Synergy ระหว่าง 2 ธนาคาร ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่ปรับตัวลง 


สำหรับ TISCO (คาดกำไรสุทธิ 1,854 ลบ. +5.1%YoY, +3.5%QoQ) พอร์ตสินเชื่อลดลง แต่มีการปรับสัดส่วนของพอร์ตไปกลุ่ม High Yield มากขึ้น ขณะที่ KKP (คาดกำไรสุทธิ 1,852 ลบ. +26.6%YoY, -8.5%QoQ) กำไรลดลง QoQ จากฐานที่สูงใน 4Q64 ที่มีการขายทรัพย์ NPA ออกไปบางส่วน แต่ผลดำเนินงานของธุรกิจหลักทั้งธุรกิจสินเชื่อและธุรกิจฝั่งตลาดทุนคาดโตเด่น  

 

อย่างไรก็ตาม ชอบหุ้นกลุ่มธนาคาร และให้น้ำหนัก “มากกว่าตลาด”  คาดจะมีปัจจัยหนุนจากผลดำเนินงานใน 1Q65 ที่ปรับตัวขึ้นได้ดี หลังสินเชื่อกลับมาขยายตัว และการตั้งสำ รองทยอยปรับตัวลง ขณะที่ภาพรวมยังมี Valuation ไม่สูงเทียบกับในอดีต (ปัจจุบันซื้อขายด้วย PBV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง) 


โดยหุ้นแนะนำ เราเลือก KBANK (TP@180) เป็น Top Pick ของกลุ่ม โดยมองเป็นธนาคารที่มีความพร้อมในการขยายการลงทุนด้าน Fintech เพื่อหาเทคโนโลยีมาเสริมศักย ภาพในการแข่งขันให้กับธนาคารในระยะยาว อีกทั้งปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดตั้ง JVAMC ร่วมกับ JMT เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย ทำให้เรามองว่า KBANK จะมีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้เสียดีขึ้นในระยะยาว ขณะที่ในแง่ Valuation ยังซื้อขายด้วย PBV ต่ำเพียง 0.8x 


หุ้นเด่นตัวต่อมาคือ  TTB ([email protected]) เป็นธนาคารขนาดกลางที่น่าสนใจ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการควบรวม และจะเริ่มรับรู้ Synergy ระหว่างทั้ง 2 ธนาคารได้อย่างเต็มประ สิทธิภาพเป็นปีแรก ขณะที่ในแง่ Valuation ซื้อขายด้วย PBV ต่ำเพียง 0.6x 


 ที่มา บล. หยวนต้า (ประเทศไทย)

 ภาพประกอบ  พิกซาเบย์,บล. หยวนต้า (ประเทศไทย)

 

ข่าวแนะนำ