TNN เปิดโผ 15 หุ้นเด่นรับมือความผันผวนศึกรัสเซีย-ยูเครน

TNN

Wealth

เปิดโผ 15 หุ้นเด่นรับมือความผันผวนศึกรัสเซีย-ยูเครน

เปิดโผ 15 หุ้นเด่นรับมือความผันผวนศึกรัสเซีย-ยูเครน

บล.กสิกรไทยมองปมขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนทวีความรุนแรงกดหุ้นไทยร่วงลึก 10% หนุนราคาพลังงาน-สินค้าโภคภัณฑ์พุ่งฉุดเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ชู 15 หุ้นเด่นรับมือความผันผวน

บล.กสิกรไทยระบุว่า ความผันผวนที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดและสถานการณ์ในยูเครนทำให้เรา คงเป้าสิ้นปี 2565 ของ SET Index ที่ 1,680 จุดอิงตามกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ 96.29 บาท และ EYG ที่ -0.875SD 


สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญ:สถานการณ์ในยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง สถานการณ์ในยูเครนยังคงคาดการณ์ลำบาก โดยเราคาดว่า SET Index มีโอกาสลงได้สูงสุดที่ 10% ในกรณีที่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นอีก ซึ่งอาจเป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่สูงขึ้น  กดดันด้านการท่องเที่ยวของไทยและ GDP ที่ลดลง 


ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทุก ๆ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล จะส่งผลกระทบต่อ GDP ของไทยที่ 0.96% และอัตราเงินเฟ้อที่ 0.4%  นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเกิดจากวิกฤติด้านอุปทานไปพร้อมกับอุปสงค์ที่ชะลอตัวลดลงจากราคาสินค้า และบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Stag flation) ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อหุ้นไทย เนื่องจากธนาคารกลางต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อในขณะที่การเติบโตอ่อนแอลง


 แนะนำ “ซื้อเมื่อย่อตัว” 

นอกจากนี้สงครามในยูเครนไม่ได้เป็นไปอย่างที่รัสเซียต้องการ เนื่องจากการต่อต้านอย่างรุนแรงจากประชาชนชาวยูเครนและการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ 2 (ยูเครนยืนหยัดต่อสู้) หรือสถานการณ์ที่ 3 (ปธน.ปูติน และ/หรือ NATO-สหรัฐ-อียู ตอบโต้มากเกินความจำเป็น) 


ซึ่งแย่กว่าสมมติฐานกรณีพื้นฐานของเราคือสถานการณ์ที่ 1 (การทำสงครามที่จำกัดกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในกรุงเคียฟ) เพราะมีโอกาสเกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้นและการตอบโต้ทางทหารซึ่งกันและกัน


ทั้งนี้เราใช้แนวรับหลักที่ 1,580-1,630 จุด (หรือ -0.625SD ถึง -0.75SD) หรือ downside ที่ 5% จากระดับสูงสุดในปี 2565 ที่ 1,720 จุด สำหรับสถานการณ์ที่ 2 และ 1,500-1,540 จุด (หรือ -0.375SD ถึง -0.50 SD) หรือ downside ที่ 10% สำหรับสถานการณ์ที่ 3 


ขณะเดียวกัน เราคงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง เนื่องจาก 1. เฟดมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายที่แข็งกร้าวน้อยลงกว่าที่ตลาดคาดก่อนหน้า 2. แนวโน้ม GDP และ EPS ของไทยที่แข็งแกร่งในปี 2565-66  


3. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นบวกกับกำไรของตลาดหุ้นไทย เพราะถ่วงด้วยกลุ่มพลังงานในสัดส่วนสูง และ 4. การซื้อสุทธิจากต่างประเทศที่เป็นบวกอย่างต่อเนื่อง

 หากยูเครน-รัสเซียสามารถบรรลุข้อตกลงทางการทูตได้ เราจะเห็น upside ต่อ SET Index ที่ 1,740 จุด (หรือ EYG ที่ -1SD) ซึ่งเป็นกรณีที่ดีที่สุดของเรา       

ธีมการลงทุนและหุ้นแนะนำประจำเดือนมี.ค.

-แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่ดีขึ้น 

CPALL   ราคาเป้าหมาย    73.00   บาท 

OSP      ราคาเป้าหมาย    40.50   บาท 

STEC    ราคาเป้าหมาย     21.15   บาท  

คาดว่ารัฐบาลจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและโครงการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศก่อนการเลือกตั้ง 


- Pent-up demand สำหรับการเดินทาง 

AMATA   ราคาเป้าหมาย      27.00 บาท  

CENTEL  ราคาเป้าหมาย     41.55 บาท 

BH         ราคาเป้าหมาย      166.00 บาท 

ทั้งนี้มองว่ายอดขายที่ดินของ AMATA จำนวนคนไข้ของ BH และอัตราการเข้าพักและอัตราห้องพักเฉลี่ยของ CENTEL จะสูงขึ้น หลังวิกฤติโควิด-19 


-ป้องกันความเสี่ยงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น 

 BANPU  ราคาเป้าหมาย 12.00  บาท

 BCP      ราคาเป้าหมาย  31.25 บาท 

 PSL       ราคาเป้าหมาย 24.80  บาท  (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นผลบวกหุ้นดังกล่าว)

 

-หุ้นกลุ่ม Yield play 

 KKP      ราคาเป้าหมาย  80.00  บาท  

ORI       ราคาเป้าหมาย  13.40  บาท  

DTAC     ราคาเป้าหมาย  57.52  บาท 

BAM      ราคาเป้าหมาย   24.00 บาท   คาดว่าหุ้นปันผลจะทำผลงานได้ดีกว่าในช่วงการปรับฐานของตลาด


-อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น 

BLA      ราคาเป้าหมาย  56 บาท  อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นน่าจะช่วยกระตุ้น ROI ของ BLA


-หุ้นกลุ่ม Growth play 

BE8 ราคาเป้าหมาย 40.40  บาท  คาดว่าธุรกิจจะเติบโตที่ 57% ในปี  65 ขณะที่ปี 66 โต 44%  


ที่มา   บล.กสิกรไทย

ภาพประกอบ  บล.กสิกรไทย

ข่าวแนะนำ