TNN รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

TNN

Wealth

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

ค่ายา ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนที่สูงลิ่ว กลายเป็นประเด็นในสังคมที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจังเพื่อจัดการให้การกำหนดราคายาและค่ารักษาของแต่ละโรงพยาบาลเกิดความเหมาะสม ประชาชนได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด

ทำไม?..ราคายา..ถึง..แพง  

        เป็นคำถามที่หลายคนน่าจะเคยตั้งคำถาม ซึ่งแน่นอนว่า ยาจากโรงพยาบาลเอกชนย่อมมีราคาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐหรือร้านขายยาแน่ๆ โดยราคายาจากโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งสูงกว่าราคายาทั่วไปตั้งแต่ 300-16,000 %  ทำให้กลายเป็นเรื่องราวร้องเรียนของบรรดาผู้ป่วยเกี่ยวกับราคายาที่แพงมหาโหดดังกล่าว 

ต้นทุนราคายา

        ในการคิดราคายา ที่แน่นอนว่า โรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพงที่สุดเมื่อเทียบกับร้านขายยาและโรงพยาบาลรัฐ เพราะโรงพยาบาลเอกชนเป็นสถานที่รักษาที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้พร้อมให้บริการ  ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง และแสวงหากำไร ทำให้ราคายาสูงกว่าราคาทั่วไป  

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

แล้วหน่วยงานไหนต้องมาดูแล?

        ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ต้องเข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจัง โดยยกเอาประกาศตามมติคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) ให้นำยารักษาโรค เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล เข้าอยู่ในบัญชีควบคุม โดยผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา  และได้เรียกโรงพยาบาลเอกชน 353 แห่งทั่วประเทศ มารับฟังและชี้แจงว่าต้องทำอะไร  รวมถึงสร้างความเข้าใจและเป็นธรรมระหว่างกัน 

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

โรงพยาบาลเอกชนต้องปฏิบัติตามอย่างไร 

        กรมการค้าภายใน ได้เน้นย้ำในประเด็นทุกโรงพยาบาลต้องแจ้งรายละเอียด ราคาซื้อและจำหน่ายยาในกลุ่มบัญชีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตและรายการยาที่มีการจำหน่ายสูงสุด รวม 3,992 รายการมายังกรมฯภายใน 45 วัน  นับจากออกประกาศ หรือไม่เกินวันที่ 12 กรกฎาคมนี้  ส่วนราคาเวชภัณฑ์ 868 รายการ และค่าบริการอีก 5,286 รายการ  ให้แจ้งภายใน 22 กรกฎาคม โดยกรมฯจะนำมาประมวลกับข้อมูลรอบด้านกับบัญชียาของกรมบัญชีกลาง เป็นต้น   และตรวจสอบว่าราคายาที่แต่ละโรงพยาบาลคิดกับคนป่วยนั้นเหมาะสมและไม่ค้ากำไรเกินควร   จากนั้นจะส่งราคาจำหน่ายถึงผู้ป่วยที่เหมาะสมในยาแต่ละชนิด ว่าไม่ควรจะเกินเท่าไหร่ จากนั้นจะนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์กรมฯ และให้ทุกโรงพยาบาลทำคิวอาร์โค้ด  ให้ผู้ป่วยได้รับทราบ ว่าการเข้ารักษาในโรงพยาบาลต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องยา ค่าบริการ เท่าไหร่ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยจะสามารถเช็คได้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมที่จะถึงนี้  

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

ผู้บริโภคมีทางเลือก หากไม่ต้องการซื้อยาราคาแพงได้

        นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์  ระบุว่า นอกจากรายการยารักษาโรค ยัง ได้ย้ำให้ทุกโรงพยาบาลออกใบสั่งยาที่ระบุว่าเป็นโรคอะไร รายละเอียดของยาและราคายาที่ผู้ป่วยที่เข้ารักษาต้องจ่ายเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้ป่วยมาทางเลือกหากต้องการซื้อยานอกโรงพยาบาล   และหากมีการเปลี่ยนแปลงราคายา ราคาเวชภัณฑ์ หรือค่าบริการสำต้องมีการแจ้งกับกรมฯล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงราคา 15 วัน   หากไม่มีการแจ้งถือว่าผิดกฎกหมายขายเกินราคา มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

        โดยประชาชนหรือผู้ป่วยที่เข้ารับบริการสามารถขอดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆก่อนได้  เช่น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ประเมินค่ารักษา  ค่ายา เพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจได้ ว่าต้องการจะรักษากับโรงพยาบาลนั้นหรือไม่ 

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

กำหนดเพดานกำไรขั้นสูง และราคาจำหน่ายสูงสุดจะเป็นมาตรการสุดท้ายหากจำเป็น

        อธิบดีกรมการค้าภายใน เชื่อว่าหลังวันที่ 12 กรกฎาคม การเก็บค่ายาค่ารักษาเกินพอดีจะไม่มีแล้ว ส่วนเรื่องร้องเรียนยังมีประปรายอาจเพราะต้องรอดูหลังมีผลใช้จริง ซึ่งหากมีผู้ป่วยร้องเรียนจากนี้ก็จะนำเข้าคณะกรรมการดูแลเรื่องนี้โดยตรง พิจารณาเป็นกรณีๆ หากพบพฤติกรรมผิดจริงก็จะส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย  แต่หากยังมีบางโรงพยาบาลยังไม่ปรับราคาใกล้เคียงกับราคาที่กรมฯพิจารณา ก็จะเชิญมาสอบถามและขอความร่วมมือ แต่หากยังฝ่าฝืนก็จะเพิ่มมาตรการกำหนดเพดานกำไรขั้นสูง และราคาจำหน่ายสูงสุด เพื่อให้โรงพยาบาลเก็บราคาจนเกินจริง ซึ่งจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะใช้  

รื้อบัญชียา-ค่ารักษาโรงพยายาบาลเอกชน

        ส่วนแนวคิดทำโครงการโรงพยาบาลธงฟ้านั้น กรมการค้าภายในยังไม่ได้ข้อสรุปว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไร ต้องรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายก่อน เบื้องต้นอาจใช้การจัดเกรดเหมือนโรงแรม แล้วติดดาวแทน  เช่นโรงพยาบาล 5 ดาว โรงพยาบาล 4 ดาว เป็นต้น


ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ