TNN ธุรกิจเกษตร-อาหาร กับเทรนด์ “Net Zero Emission” ? | TNN Wealth 11-02-65

TNN

Wealth

ธุรกิจเกษตร-อาหาร กับเทรนด์ “Net Zero Emission” ? | TNN Wealth 11-02-65

ธุรกิจเกษตร-อาหาร กับเทรนด์ “Net Zero Emission” ? | TNN Wealth 11-02-65

COVID-19 เป็นตัวเร่งให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุ เป้าหมายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน คือการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

COVID-19 เป็นตัวเร่งให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุ เป้าหมายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน คือการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และเทรนด์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission  ทำให้ภาคเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นต้นตอสำคัญที่ก่อให้เกิด Climate Change  โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก   ต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ Low Carbon Society อย่างเลี่ยงไม่ได้  แล้วผู้ประกอบการเกษตรและอาหารของไทยพร้อมรับมือเทรนด์นี้หรือไม่ มีข้อมูลที่น่าสนใจจากศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย 

ธุรกิจเกษตร-อาหาร กับเทรนด์ “Net Zero Emission” ? | TNN Wealth 11-02-65



แล้วไทยจำเป็นต้องลงทุนมากน้อยแค่ไหนเพื่อรับมือเทรนด์ Net Zero Emission นั้น  Krungthai COMPASS ประเมินว่าหากไทยจะรับมือกับเรื่องนี้มีความจำเป็นต้อง เพิ่มเม็ดเงินลงทุนของธุรกิจเกษตรและอาหารไทยอย่างน้อย 7 แสนล้านบาท ในช่วงปี 2020-2050 ( 2563-2593)  โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลักๆ ได้แก่


(1) การเพิ่มการลงทุนในในด้านการผลิตอาหารจากพืชหรือโปรตรีนจากพืชให้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ให้ได้ 30% ภายในปี 2050 โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 4.8 แสนล้านบาท

(2) การเพิ่มกำรลงทุนในระบบการจัดการปศุสัตว์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผลักดันแนวทางด้านกรอบการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ในด้านระบบสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) อย่างจริงจัง โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 1.8 แสนล้านบาท 

(3) การเพิ่มกำรลงทุนด้ำนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร อาทิ การลงทุนด้านเครื่องจักทำการเกษตร รวมทั้งการใช้นวัตกรรมสำหรับบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท 


อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินเบื้องต้น เนื่องจากต้นทุนของ เทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจกสินค้าเกษตรและอาหารในแต่ละกลุ่มยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก  รวมทั้งแต่ละประเทศอาจมีต้นทุนของเทคโนโลยี ที่แตกต่างกัน หากคำนึงเพียงความคุ้มค่าจากการลดความเสียหายอันเกิด จากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในอีก  30 ปีข้างหน้า Krungthai COMPASS ประเมินว่า “ เม็ดเงินลงทุนวงเงิน 7 แสนล้านบาท ถือว่าคุ้มค่า”  สำหรับประเทศไทย โดยยังไม่คิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านอื่น เพราะใช้เม็ดเงินลงทุนเฉลี่ยเพียงปีละ 2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าผลผลิตที่เสียหายเฉลี่ย ต่อปีที่สูงถึง 1.8-8.4 หมื่นล้านบาท หากปัญหา Climate Change ยังไม่ได้ถูกแก้ไข


ธุรกิจเกษตร-อาหาร กับเทรนด์ “Net Zero Emission” ? | TNN Wealth 11-02-65


สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ภาครัฐ


1) ผลักดันกลไกในการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาครัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีการปล่อยการเรือนกระจก รวมทั้งให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจ เช่น การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมวัดการปล่อยก๊าซมีเทนและติดตามการปล่อก๊าซเรือนกระจำ เป็นต้น  ซึ่งข้อมูลภาพรวมดังกล่าวจะช่วยให้ภาครัฐสามารถกำหนดเป้าหมายและกำหนดเป้าหมาย และออกมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจำได้อย่างมีประสิทธิภาดมากขึ้น

 



2) สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ  และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรยกลางและรายเล็ก  ภาครัฐจึงควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดังกลาวเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ  รวมทั้งสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในวงกว้างเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  เช่น การสนับสนุนเงินทุนตั้งต้นในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุน  การให้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำ การตั้งกองทุนของภาครัฐสำหรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ประกอบการที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ การสรางแรงจูงใจโดยภาครัฐให้ผลประโยชน์ร่วมระหว่างเจ้าของที่ดินและเกษตรกรที่ร่วมมือกันในการลดก๊าซเรือนกระจก 



จึงถึงเวลาที่ภาคธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยต้องใส่ใจเทรนด์ Net Zero Emission อย่างจริงจัง เพื่อให้สอดรับกับ BCG Economy โดยเฉพาะโจทย์ใหญ่ในมิติด้านการค้า  อย่างไรก็ดีเริ่มเห็นผู้เล่นรายใหญ่ตื่นตัวต่อเทรนด์เหล่านี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซในรูปแบบใหม่ๆขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs  ควรเร่งสร้างความตระหนักรู้และตื่นตัวรับกระแส Net Zero Emission ที่จะไม่ใช่เป็นเพียง “ทางเลือก” แต่จะเป็นเหมือน “ทางรอด” ของธุรกิจในยุคที่ BCG Economy กำลังมีบทบาทสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจและสังคมโลกมากขึ้นทุกวัน 

#NetZeroEmission #BCGEconomy #ธุรกิจเกษตรอาหาร #TNNWealth #TNNช่อง16



ติดตามข่าวหุ้นและการลงทุนทางไลน์

• Line @TNNWEALTH : https://lin.ee/TQ14oAe

• Facebook : https://www.facebook.com/TNNWealth


—————————————————————————

ติดตาม TNN Wealth ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

• Website : https://bit.ly/TNNWealthWebsite

• Youtube : https://bit.ly/TNNWealthYoutube

• TikTok : https://bit.ly/TNNWealthTikTok


หรือดูรายการ Live ได้ทาง

https://www.facebook.com/TNN16LIVE/




ข่าวแนะนำ