TNN เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร จริงหรือ?

TNN

TNN Fact Check

เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร จริงหรือ?

เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร จริงหรือ?

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร จริงหรือไม่

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ


จากกรณีที่มีการโพสต์ชวนเชื่อเรื่องเล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร โดยระบุว่า ดูแล้วน่ากลัว ระวังกันไว้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ชอบเล่นโทรศัพท์ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตาแต่อย่างใด โดยผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์นาน ๆ จะมีการใช้สายตาเพ่งหน้าจอตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการตาล้า หรือตาแห้ง ตาแดงเนื่องจากมีการกระพริบตาที่น้อยลงอาจทำให้เกิดอาการเคืองตาได้ง่าย


ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตา ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความผิดปกติของเม็ดสีเมลานินในดวงตา หรือเกิดจากความผิดปกติของยีน เป็นต้น สำหรับคนไทยโรคมะเร็งตาในผู้ใหญ่พบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม สามารถพบได้ในเด็กและมักมีอายุต่ำกว่า 5 ปี คือ โรคมะเร็งจอประสาทตา ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ก็เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยเช่นกัน


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ http://www.nci.go.th/th/index1.html หรือ โทร 02-202-6800


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตาแต่อย่างใด แต่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์นาน ๆ จะมีการใช้สายตาเพ่งหน้าจอตลอดเวลา มักจะทำให้เกิดอาการตาล้า หรือตาแห้ง ตาแดงเนื่องจากมีการกระพริบตาที่น้อยลงอาจทำให้เกิดอาการเคืองตาได้ง่าย




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ