รวมมาตรการช่วย "ลูกหนี้บัตรเครดิต" บรรเทาโควิด-19ระลอกใหม่ มีแบงก์ไหนบ้าง?
รวมมาตรการช่วย"ลูกหนี้บัตรเครดิต" เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 แต่ละแบงก์ช่วยอะไรบ้าง?
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาถึงระลอกที่ 3 นี้ ส่งผลกระทบยาวๆต่อเนื่องกันมาในแทบจะทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ด้วยภาระค่าใช้จ่ายหรือหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ไหนจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต กรณีที่บางรายจำเป็นต้องถูกเลิกจ้างค่าใช้จ่ายหรือสภาพคล่องย่อมสะดุดแน่นอน โดยเฉพาะ "ลูกหนี้บัตรเครดิต" ที่มีดอกเบี้ยที่ต้องชำระสูงอยู่พอสมควร
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เองก็ได้ร่วมกับผู้ให้บริการทางการเงิน ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดย ธปท. ได้กำหนดความช่วยเหลือขั้นต่ำไว้ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ได้เป็น NPL (ค้างจ่ายหนี้มากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน) ณ วันที่ 1 มี.ค. 63 โดยจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และรถจักรยานยนต์, เช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ดังนั้น TNN ONLINE จึงได้รวบรวมมาตรการช่วยเหลือกลุ่ม ลูกหนี้บัตรเครดิต ของแต่ละแบงก์ว่ามีมาตรการเยียวยาช่วยเหลืออย่างไรบ้าง
ลำดับ | สถาบันการเงินที่ร่วมมาตรการช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต | มาตรการสถาบันการเงิน |
1 | ธนาคารกสิกรไทย | - บัตรเครดิตกสิกรไทย พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชี ,เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12%/ปี - บัตรเงินด่วน Xpress Cash พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชี ,เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22%/ปี |
2 | ธนาคารออมสิน |
|
3 | ธนาคารกรุงเทพ | - ไม่ต้องชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บ (Skip Payment) นาน 3 - 6 เดือน - ลดดอกเบี้ยค้างชำระ 1 - 3 เดือน ลง 50% - เปลี่ยนประเภทการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาผ่อนชำระ 48 งวด และลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12% - โอนภาระหนี้บัตรเครดิตค้างชำระเป็นการผ่อนชำระระยะยาว โดยลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12% และสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตส่วนที่เหลืออยู่ได้ - ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลดดอกเบี้ยระหว่างผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่ MRR+2% - MRR+4% ตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ - ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 จนถึง 31 ธ.ค. 64 |
4 | ธนาคารกรุงศรีอยุธยา |
|
5 | ธนาคารทหารไทยธนชาต | บัตรเครดิต : เปลี่ยนยอดคงค้างทั้งหมดเป็นการผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12% นาน 48 เดือน (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) บัตรกดเงินสด :ปรับยอดค้างชำระทั้งหมดเป็นรายการแบ่งชำระรายเดือนนาน 60 เดือน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดเหลือ 22% (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) สำหรับลูกค้าที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยธนาคารสามารถเข้ามาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยลดภาระค่างวดต่อเดือนและภาระดอกเบี้ย |
6 | ธนาคารไทยพาณิชย์ |
|
7 | ธนาคารยูโอบี |
|
8 | ธนาคารไอซีบีซี | - ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำเป็น 0% ตั้งแต่ 1 เม.ย. 63 - 31 ธ.ค. 64 (พักชำระหนี้) - ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น อัตราดอกเบี้ยที่ MRR ของธนาคาร - ขอสงวนสิทธิพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าเป็นรายกรณี |
9 | ธนาคารซิตี้แบงก์ | - เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนนาน 48 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี - บัญชีซิตี้ เรดดี้เครดิต รวมทั้ง เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยอัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี - ผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ย และค่าติดตามทวงถามหนี้จากหนี้ที่ค้างชำระ - ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ในกรณีปิดบัญชีเดิม |
10 | อิออน ธนสินทรัพย์ | - พักชำระหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช) สินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคล และสินเชื่อเงินกู้เอนกประสงค์ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 เป็นต้นไป และ/หรือ ลดค่างวดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 30% - 50% เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลง - เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาวอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% |
11 | เคทีซี | สมาชิกบัตรเครดิต KTC
|
12 | อเมริกัน เอ็กซ์เพรส | บัตรเครดิต - ปรับลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำของยอดใช้จ่ายจากเดิม 10% เป็น 5% โดยมีผลตั้งแต่รอบเดือน เม.ย. 63-31 ธ.ค. 64 โดยบริษัทฯ ได้ทำการยกเลิกยอดเรียกเก็บขั้นต่ำ 500 บาท ตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 เป็นต้นไป - ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 12% เป็นเวลา 48 เดือนตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยสมาชิกบัตรต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับการพิจารณาภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 บัตรประเภทชาร์จการ์ด - สมาชิกบัตรสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับพิจารณาเข้าร่วมรายการแบ่งชำระ 0% นาน 10 เดือน ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 - ดอกเบี้้ยสำหรับบัตรเครดิต และค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดสำหรับบัตรประเภทชาร์จการ์ด จะปรับลดจาก 18% เป็น 16% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป โดยดอกเบี้ยสำหรับรายการค่าสินค้าและบริการของบัตรเครดิตอเมริกัน เอ็กซ์เพรส คงอยู่ที่ 12.99% ต่อปี |
หมายเหตุ:ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากธนาคารเจ้าของสินเชื่อ |
1. ธนาคารกสิกรไทย
- มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 63
บัตรเครดิตกสิกรไทย จาก 18% เป็น 16%
บัตรเงินด่วน Xpress Cash จาก 28% เป็น 25%
สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan จาก 28% เป็น 25% (*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติตั้งแต่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป)
สินเชื่อรถ KLeasing สินเชื่อรถช่วยได้ประเภทจำนำทะเบียนรถ จาก 28% เป็น 24% (*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติตั้งแต่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป)
- มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
บัตรเครดิตกสิกรไทย
ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน (*หากเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง)
ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี (*ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของลูกค้า กรณีเลือกทางเลือกนี้)
บัตรเงินด่วน Xpress Cash
ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน (*หากเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง)
ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี (*ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของลูกค้า กรณีเลือกทางเลือกนี้)
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ ได้แก่
- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์โควิด-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มี.ค. 63
หลักเกณฑ์ทั่วไป
- การเข้ามาตรการไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่คิดค่าปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด
- หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ให้เข้ามาปรึกษาธนาคารเพื่อเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร
ช่องทางลงทะเบียน และรายละเอียดเพิ่มเติม ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 64 โดยให้พิมพ์ @help ผ่าน LINE Kbank Liveหรือสแกน QR CODE หรือ เว็บไซต์ ธนาคารกสิกรไทย คลิกที่นี่
2. ธนาคารออมสิน
มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
โดยธนาคารออมสินจะปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำอัตโนมัติ สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มตั้งแต่ 1 มี.ค. 63-31 ธ.ค. 65
มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน (ลูกหนี้บัตรเครดิต/สินเชื่อบัตรกดเงินสด)
- อัตราดอกเบี้ย 8.5% สำหรับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานลูกจ้างองค์กรของรัฐ และผู้มีรายได้ประจำ
- อัตราดอกเบี้ย 10.5% สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ และผู้ประกอบการ SMEs
- สถานะลูกหนี้ค้างชำระ 30-90 วันนับจากวันครบกำหนดชำระ
- เงินต้นค้างชำระ ณ วันเข้ามาตรการ ให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน สูงสุด 48 งวด
- พักดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค้างชำระทั้งจำนวนชั่วคราว
เงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต/สินเชื่อบัตรเงินสด ได้แก่
- ต้องลงทะเบียนด้วยตนเอง ตามวิธีการที่ธนาคารกำหนด
- ระงับการใช้ “วงเงินส่วนที่เหลือ” (ถ้ามี) ของบัตรเครดิต/สินเชื่อบัตรเงินสด ทุกใบที่ผู้ใช้บัตรมีอยู่กับธนาคารไว้ชั่วคราว ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิต/สินเชื่อบัตรเงินสด ที่มิได้นำมาเข้าร่วมมาตรการผ่อนชำระหนี้ด้วย
- ตั้งพักดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค้างชำระทั้งจำนวน (ถ้ามี) ไว้ชั่วคราว
- หากผิดนัดชำระหนี้ตามมาตรการติตต่อกัน 3 งวด ธนาคารจะยกเลิกสิทธิ
- เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามใบสมัครบัตรเครดิต/ใบสมัครสินเชื่อบัตรเงินสด (แล้วแต่กรณี)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1115 หรือ 022998888 เว็บไซต์ ธนาคารออมสิน คลิกที่นี่
3. ธนาคารกรุงเทพ
มาตรการช่วยเหลือที่ได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียน
โดยธนาคารจะปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธ.ค. 64 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกราย
ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกราย
มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
ธนาคารผ่อนผันไม่ต้องชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บ (Skip Payment) นาน 3 - 6 เดือน โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทางราชการประกาศหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง
ลดดอกเบี้ยค้างชำระ 1 - 3 เดือน ลง 50% โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทางราชการประกาศหรือที่มีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศเขตพื้นที่ควบคุมฯ ของทางราชการ เฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ถูกสั่งปิดกิจการจากหน่วยงานราชการ
เปลี่ยนประเภทการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาผ่อนชำระ 48 งวด และลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12%
โอนภาระหนี้บัตรเครดิตค้างชำระเป็นการผ่อนชำระระยะยาว โดยลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12% และสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตส่วนที่เหลืออยู่ได้ พิจารณาตามประวัติการชำระที่ดีและความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยปกติ
ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลดดอกเบี้ยระหว่างผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่ MRR+2% - MRR+4% ตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร
ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 จนถึง 31 ธ.ค. 64 (สนใจเข้าร่วมมาตรการนี้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2638 4000)
ช่องทางลงทะเบียน และรายละเอียดเพิ่มเติม ที่เว็บไซต์ หรือติดต่อสาขาโทร. 1333 ตั้งแต่ 20 พ.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 เว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ คลิกที่นี่
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตในเครือกรุงศรี มี 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 : ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำอัตโนมัติ สำหรับลูกค้าทุกราย (โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือโทรแจ้งความจำนงกับบริษัท)
บัตรเครดิต: จากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธ.ค. 64
มาตรการที่ 2 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับสมาชิกที่มีสถานะบัญชีปกติ
บัตรเครดิต
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็น 12% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 64 เป็นต้นไป
- ขยายการผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้คงค้าง
เงื่อนไขของโครงการ
- ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
- ไม่เคยมีประวัติค้างชำระ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเฉพาะสมาชิกที่มีบัญชีบัตรกับบริษัทฯ ก่อนเดือน มี.ค. 63
- บัตรคอร์ปอเรท การ์ดและบัตรเครดิตที่อายัดบัญชี ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
- บริษัทสงวนสิทธิ์ในการพิจารณามาตรการช่วยเหลือตามผลกระทบที่สมาชิกได้รับ แล้วแต่กรณี และไม่รับการยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ เมื่อบริษัทได้ดำเนินการตามคำขอนี้แล้ว
มาตรการที่ 3 : ปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระในบัตรเครดิต
ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือน ด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับปรุงโครงสร้างหนี้) พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงมายังบริษัท
ช่องทางลงทะเบียน และรายละเอียดเพิ่มเติม
ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น UCHOOSE ตั้งแต่ 20 พ.ค.-31 ธ.ค. นี้
ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา 02-646-3555
ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน 02-627-8111
ศูนย์บริการสมาชิกบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ 02-345-6789
ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า 1712
เว็บไซต์ธนาคารกรุงศรี คลิกที่นี่
5. ธนาคารทหารไทยธนชาต
มาตรการความช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
การปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำตั้งแต่รอบเดือน เม.ย. 63 เป็นต้นไป
การปรับลดเพดานดอกเบี้ยมีผลกับยอดใช้จ่าย กดเงินสดตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป
มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
บัตรเครดิต : เปลี่ยนยอดคงค้างทั้งหมดเป็นการผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12% นาน 48 เดือน (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
บัตรกดเงินสด :ปรับยอดค้างชำระทั้งหมดเป็นรายการแบ่งชำระรายเดือนนาน 60 เดือน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดเหลือ 22% (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
สำหรับลูกค้าที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยธนาคารสามารถเข้ามาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยลดภาระค่างวดต่อเดือนและภาระดอกเบี้ย
ช่องทางลงทะเบียน และรายละเอียดเพิ่มเติมลงทะเบียนได้ที่ โทร 1428 (ทีทีบี), 1770 (ธนชาต) จนถึง 30 มิ.ย. 64 เว็บไซต์ธนาคารทหารไทยธนชาต คลิกที่นี่
6. ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตเช่นกันได้แก่
มาตรการช่วยเหลือที่ลูกหนี้จะได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ
- บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ทุกประเภทลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจาก 18% เป็น 16%
มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ ได้แก่
- ผู้ที่ผ่อนยอดค้างชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% นาน 48 เดือน*
- ผ่อนยอดค้างชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นานสูงสุด 96 เดือน*
- รวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น
*ทุกหน้าบัตร ยกเว้นบัตร JCB และรายการใช้จ่ายที่ขอใช้บริการดีจังแบ่งชำระรายเดือน
ช่องทางลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถทำได้ผ่านแอป SCB EASY (เฉพาะลูกค้าบุคคล) ผ่านระบบอัตโนมัติ SCB Call Center โทร. 02-777-7777 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ ธนาคารไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่
ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
เช็กเลย!มาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบโควิด-19 ระลอก3 มีอะไรบ้าง??
เช็กที่นี่!มาตรการสินเชื่อ-พักหนี้แบงก์ บรรเทาผลกระทบโควิด-19 ระลอก 3
ดอกเบี้ยบ้านปี 2564 พร้อมวิธีคำนวณอย่างง่าย ไม่ต้องฝ่าโควิด-19ไปแบงก์
7. ธนาคารยูโอบี
มาตรการช่วยเหลือโดยไม่ต้องลงทะเบียน
ธนาคารจะปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าบัตรเครดิตยูโอบี และบัตรกดเงินสดแคชพลัส เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 เป็นต้นไป
มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
- บัตรเครดิตยูโอบี และบัตรกดเงินสดแคชพลัส
- พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี (เฉพาะผู้ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชีมาแล้ว พิจารณาตั้งแต่ปี 2563 ถึงวันที่ร้องขอมาตรการความช่วยเหลือล่าสุด)
- เปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี (ไม่รวมรายการผ่อนชำระรายเดือนที่เกิดขึ้นก่อนเข้าร่วมโครงการนี้)
- สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด จะได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 12% สำหรับบัตรเครดิต และ 22% สำหรับบัตรกดเงินสดแคชพลัส
- ในกรณีที่มีสินเชื่อบ้านกับยูโอบีสามารถใช้วิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation) ได้
ช่องทางลงทะเบียน และรายละเอียดเพิ่มเติม หรือแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโปรแกรมได้จนถึง 31 ธ.ค. 64 (ยกเว้น Debt Consolidation) ที่ http://www.uob.co.th/covid19fap
LINE: @UOBTHAI หรือสแกน QR Code เว็บไซต์ ธนาคารยูโอบี คลิกที่นี่
8.ธนาคารไอซีบีซี
บัตรเครดิต
- ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำเป็น 0% ตั้งแต่ 1 เม.ย. 63 - 31 ธ.ค. 64 (พักชำระหนี้)
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น อัตราดอกเบี้ยที่ MRR ของธนาคาร
**โดยธนาคารขอสงวนสิทธิพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าเป็นรายกรณี
ติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมสาขาของธนาคารหรือ ICBC (Thai) Call Center (0 2629 5588) เว็บไซด์ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) คลิกที่นี่
9.ธนาคารซิตี้แบงก์
บัตรเครดิตซิตี้
มาตรการไม่ต้องลงทะเบียน : ปรับลดอัตรายอดขั้นต่ำที่ต้องชำระจ่ายปกติ 10% ของยอดค้างชำระ ลงเหลือ 5% ตั้งแต่ 1 เม.ย. 63-31 ธ.ค. 64 ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 65 สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตซิตี้ทุกรายโดยอัตโนมัติ โดยลูกค้าไม่ต้องทำการติดต่อธนาคาร
มาตรการต้องลงทะเบียน :
- เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนนาน 48 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี
- บัญชีซิตี้ เรดดี้เครดิต รวมทั้ง เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยอัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี
มาตรการช่วยเหลืออื่นๆ
- ผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ย และค่าติดตามทวงถามหนี้จากหนี้ที่ค้างชำระ
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ในกรณีปิดบัญชีเดิม
ช่องทางลงทะเบียนและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://www.citibank.co.th/th/reliefform/ ลงทะเบียนผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ โทร. 1588 กด 6 เว็บไซต์ธนาคารซิตี้แบงก์ คลิกที่นี่
10.อิออน ธนสินทรัพย์
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตอิออน มี 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 ลดอัตราชำระคืนขั้นต้น โดยไม่ต้องลงทะเบียน
- ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำเดิม 10%
- 5% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พ.ค.63-2 ธ.ค. 64
- 8% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 ม.ค. 65 - 2 ธ.ค 65
- 10% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 ม.ค. 66 เป็นต้นไป
*ยกเว้นบัตรเครดิต AEON CORPORATE CARD ทุกประเภท รวมถึงยกเว้นรายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือน (AEON Happy Plan)
บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)
- ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำเดิม 3%
- 1% แต่ไม่น้อยกว่า 300 บาท* ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พ.ค. 63 - 2 มิ.ย. 64
*ยกเว้น รายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือนของบัตร (AEON Happy Pay) และยอดชำระขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เรียกเก็บในรอบบัญชีนั้น
มาตรการที่ 2 พักชำระหนี้ และหรือลดค่างวด (ต้องลงทะเบียน)
- พักชำระหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช) สินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคล และสินเชื่อเงินกู้เอนกประสงค์
- พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 เป็นต้นไป
- และ/หรือ ลดค่างวดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 30% - 50% เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
- สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลง
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 - 30 มิ.ย. 64 บริษัทจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
*หมายเหตุ การขอพักชำระหนี้ หมายความว่าลูกค้าสามารถหยุดการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่พักชำระหนี้ แต่ทั้งนี้บริษัทฯ มีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่หยุดพักชำระ
มาตรการที่ 3 เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาวอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% (ต้องลงทะเบียน)
- สินเชื่อบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)โดยผู้ที่ถือบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช) สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี อัตราชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน
- สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้รายได้ลดลง ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 - 30 มิ.ย. 64
- บริษัทจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
*หมายเหตุ ลูกค้าต้องขอโอนหนี้เดิมไปเป็นสินเชื่อสินเชื่อระยะยาวใหม่ โดยบริษัทฯ จะระงับการใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนเป็นการชั่วคราว ภายหลังลูกค้าชำระหนี้ปิดบัญชีสินเชื่อระยะยาวครบถ้วนแล้ว ลูกค้าจะสามารถใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนได้ดังเดิม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประวัติการชำระเงินของลูกค้า
รายละเอียดเพิ่มเติม เว็บไซต์ อิออน ธนสินทรัพย์ คลิกที่นี่ โทร 0-2665-0123
11.เคทีซี (KTC)
บัตรเครดิต KTC (ไม่ต้องลงทะเบียน)
- ปรับลดอัตราผ่อนชําระขั้นต่ำของบัตรเครดิต KTC ให้กับสมาชิกบัตรฯ อัตโนมัติ
- อัตราผ่อนชําระขั้นต่ำ 5% มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปรอบบัญชีตั้งแต่ 26 มี.ค. 63 - 31 ธ.ค. 64
- อัตราผ่อนชําระขั้นต่ำ 8% มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปรอบบัญชี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65
- อัตราผ่อนชําระขั้นต่ำ 10% มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปรอบบัญชี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป
หมายเหตุ:
1. ยกเว้นการปรับลดอัตราชําระขั้นต่ำ สําหรับบัตรเครดิต KTC VISA INFINITE ทุกประเภท, KTC – ROYAL ORCHID PLUS WORLD MASTERCARD, KTC UNIONPAY ASIA PRESTIGE DIAMOND, KTC VISA CORPORATE ทุกประเภท และ KTC เพื่อหน่วยงานรัฐ
2. ไม่มีกําหนดขั้นต่ำ 500 บาทต่อรอบบัญชี ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
3. ยกเว้นยอดผ่อนชําระรายเดือนผ่านบัตรเครดิต KTC
4. ยกเว้นกรณีสมาชิกบัตรฯ เลือกชําระเต็มจํานวนผ่านบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ
สมาชิกบัตรเครดิต KTC
- เปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิต
- เป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาว
- ดอกเบี้ยฯ 12% ต่อปี นาน 48 เดือน
เงื่อนไขการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิต KTC
1. การเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาวนี้ จะเป็นยอดหนี้รวมเฉพาะของบัตรเครดิตส่วนบุคคล และบัตรเสริมทุกใบภายใต้บัญชีของบัตรเครดิตหลัก รวมถึงยอดเงินต้นคงค้างที่ยังไม่เรียกเก็บของรายการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต
2. บัตรเครดิตทุกใบภายใต้บัญชีของบัตรเครดิตหลักดังกล่าว จะถูกระงับการใช้ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาวเสร็จสิ้นครบถ้วน รวมถึงไม่สามารถใช้บริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติ (KTC AUTO PAYMENT) ได้ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
3. สมาชิกจะต้องชำระเงินต้นที่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ดอกเบี้ยฯ และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ยังคงค้าง จนถึงวันที่บันทึกรายการเงินกู้ก่อนการดำเนินการเปลี่ยนประเภทหนี้
4. สมาชิกจะต้องชำระค่าอากรแสตมป์สำหรับหนี้เงินกู้จากการเปลี่ยนประเภทหนี้
5. กรณีผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยฯ จะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ 16% ต่อปี ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
6. สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาช่วยเหลือเฉพาะสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยตรง รวมทั้งขอข้อมูลหรือเอกสารประกอบการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ที่เคทีซีกำหนด
สมาชิกบัตรกดเงินสด KTC PROUD
- ผ่อนผันการชำระหนี้บัตรกดเงินสด
- เป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาว
- ดอกเบี้ยฯ 22% ต่อปี นาน 48 เดือน
เงื่อนไขการผ่อนผันการชำระหนี้บัตรกดเงินสด KTC PROUD
1.บัตรกดเงินสดจะถูกระงับการใช้ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาวเสร็จสิ้นครบถ้วน รวมถึงไม่สามารถใช้บริการหักค่าประกันรายเดือนอัตโนมัติได้ตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
2. สมาชิกจะต้องชำระเงินต้นที่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ดอกเบี้ยฯ และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ยังคงค้าง จนถึงวันที่บันทึกรายการเงินกู้ก่อนการดำเนินการผ่อนผันการชำระหนี้
3. กรณีผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยฯ จะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ ปกติของสมาชิกแต่ละราย สูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปีตั้งแต่วันที่บันทึกรายการเงินกู้
4. สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาช่วยเหลือเฉพาะสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยตรง รวมทั้งขอข้อมูลหรือเอกสารประกอบการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ที่เคทีซีกำหนด
ช่องทางการสมัคร:ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการที่จุดบริการ KTC TOUCH สาขาในกรุงเทพฯ ภายในวันและเวลาทำการ หรือเว็บไซต์ของเคทีซี คลิกที่นี่
12. อเมริกัน เอ็กซ์เพรส
บัตรเครดิต
ปรับลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำของยอดใช้จ่ายจากเดิม 10% เป็น 5% โดยมีผลตั้งแต่รอบเดือน เม.ย. 63-31 ธ.ค. 64 โดยบริษัทฯ ได้ทำการยกเลิกยอดเรียกเก็บขั้นต่ำ 500 บาท ตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 เป็นต้นไป
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 12% เป็นเวลา 48 เดือนตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยสมาชิกบัตรต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับการพิจารณาภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64
บัตรประเภทชาร์จการ์ด
สมาชิกบัตรสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับพิจารณาเข้าร่วมรายการแบ่งชำระ 0% นาน 10 เดือน ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64
นอกจากนี้ ดอกเบี้้ยสำหรับบัตรเครดิต และค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดสำหรับบัตรประเภทชาร์จการ์ด จะปรับลดจาก 18% เป็น 16% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป โดยดอกเบี้ยสำหรับรายการค่าสินค้าและบริการของบัตรเครดิตอเมริกัน เอ็กซ์เพรส คงอยู่ที่ 12.99% ต่อปี
หากสมาชิกบัตรที่ได้รับผลกระทบและประสงค์เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับการพิจารณา ติดต่อแผนกบริการสมาชิกบัตรตามหมายเลขด้านหลังบัตร
รายละเอียดเพิ่มเติม เว็บไซต์ อเมริกัน เอ็กซ์เพรส คลิกที่นี่
สำหรับมาตรการช่วย "ลูกหนี้บัตรเครดิต" ทั้ง 12 แบงก์ที่เรานำมาฝากนี้เป็นเพียงข้อมูลในเบื้องต้น หากใครที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจริงๆแล้ว ก็ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารเจ้าของหนี้เพื่อหาแนวทางในการบรรเทาภาระหนี้โดยตรงจะดีที่สุด ซึ่งลูกหนี้แต่ละรายก็จะมีการพิจารณาแตกต่างกันไปหากประสบปัญหาหนักหน่วงจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เคยผิดนัดชำระมาก่อนเลยเชื่อว่า ธนาคารเองก็จะหาทางออกที่ดีที่สุด เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตท่ามกลางวิกฤตนี้ต่อไปได้ แต่ในส่วนของลูกหนี้ที่ยังพอมีความสามารถในการชำระอยู่ก็ขอให้ชำระรายงวดต่อไปจะดีมากกว่า เพราะในอนาคตจะช่วยให้หนี้ก้อนใหญ่ของเรานั้นค่อยๆผ่อนคลายลงเรื่อยๆ จนสามารถปลดหนี้ได้ในที่สุด นั่นเอง!