TNN เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

TNN

TNN Exclusive

เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

เช็กสัญญานธุรกิจสายการบินปี 63 หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 มีบริษัทไหนฝ่าพายุเศรษฐกิจนี้มาได้บ้าง โค้งสุดท้ายของปีต้องไปต่ออย่างไร

        วิกฤตของบรรดาสายการบินในช่วงที่ผ่านมาช่างหนักหน่วงเกินต้าน ด้วยพิษโควิด-19 ที่ทำให้แทบจะทุกธุรกิจล้มไปตามๆกัน  สถานการณ์การแพร่ระบาดแม้จะคลี่คลายลงบ้าง แต่การที่แต่ละประเทศยังไม่ไว้วางใจทำให้การเปิดประเทศแบบ 100% ยังเป็นเรื่องยาก ธุรกิจสายการบินที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักจึงยังต้องเจอศึกหนักต่อไป 

สายการบินพากันขาดทุน

        แต่ละสายการบินเริ่มจะเปิดเผยตัวเลยรายได้ของธุรกิจช่วงไตรมาส 3  ออกมา โดยเฉพาะ การบินไทย ที่เป็นการบินที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยสถานการณ์ที่บีบคั้น จากการที่เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัทฯ ดำเนินการฟื้นฟูกิจการ และตั้งผู้ทำแผนตามที่บริษัทฯ เสนอ โดยขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ

        ขณะที่ผลดำเนินงานของการบินไทย ไตรมาสที่ 3 ยังคงขาดทุน  โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,727 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 41,289 ล้านบาท หรือ 91.7% สาเหตุสำคัญเนื่องจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 37,654 ล้านบาท (95.1%) รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 1,718 ล้านบาท (56.2%) สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 19,375 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 28,483 ล้านบาท (59.5%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานผันแปรลดลงจากปริมาณการผลิต ปริมาณการขนส่ง และจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่ที่อยู่ในระดับสูงทำให้การลดลงของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงาน 15,648 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 12,806 ล้านบาท (450.6%)

เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

          ซึ่งบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ประกอบด้วย

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวรจำนวน 444 ล้านบาท

- ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 35 ล้านบาท

- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 5,306 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี

- ผลกำไรสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 32 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 ล้างไพ่! การบินไทย ฟื้นสายการบินแห่งชาติ

 เปิดแนวทางฟื้นฟูการบินไทย ยึดหลักสหกรณ์ชำระหนี้ยุติธรรม

 "สหภาพแรงงานฯการบินไทยสิ้นสภาพ"ส่งผลไหมต่อแผนฟื้นฟู?

        ทำให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2563 จำนวน 21,531 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16,851 ล้านบาท (360.1%) โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 21,536 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 9.87 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 2.14 บาท

เที่ยวในประเทศ ยังไม่ช่วยให้สายการบินในประเทศหนีพ้นขาดทุน

            สายการบิน ไทยแอร์เอเชียร์  ก็เช่นกัน ได้เปิดเผยการดำเนินธุรกิจไตรมาส 3  ปี 2563 เมื่อไม่นานมานี้ว่า มีรายได้รวม 2,403.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากไตรมาสที่ 2 แต่ยังลดลง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการปรับปริมาณที่นั่งให้สอดคล้องกับความต้องการเดินทาง แต่ยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของหนี้สินที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ในไตรมาส 3 ปี 2563 มีการขาดทุนอยู่ที่ 1,836.8 ล้านบาท

         ขณะที่ขาดทุนขั้นต้นของไตรมาสนี้ฟื้นตัวจากไตรมาสที่แล้ว หนุนจากปริมาณที่นั่งภายในประเทศที่กลับมาให้บริการเกือบจะเท่าก่อนการเเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ส่งผลให้สามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า 1.86 ล้านคน โดยมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่65% พร้อมทั้งเปิดฐานปฏิบัติการบินใหม่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเดือนกันยายน สร้างโอกาสขยายฐานลูกค้ามากขึ้น

เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

มองเห็นแสงสว่างมากขึ้นหลังสถานการณ์ทยอยคลี่คลาย

        นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น และ บจ.ไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า การที่รัฐบาลขยายเวลาโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ต่อไปจนถึงสิ้นเดือนมกราคม ปี 2564 รวมทั้งการเริ่มมีนโยบายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในโครงการ Special Tourist Visa (STV) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพำนักและท่องเที่ยวในประเทศไทยระยะยาว ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและพร้อมตอบรับกับมาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย  รวมทั้งมาตรการที่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไปจนถึง 30 เมษายน ปี 2564  เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ จะเป็นสัญญานที่ดีสำหรับกลุ่มธุรกิจสายการบินต่อจากนี้ 

ต้องงัดกลยุทธ์ส่งเสริมการขายออกมาให้หมด  

        จากมาตรการที่รัฐชงมา ทำให้สายการบินเองต้องปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ ที่ต้องขยายการบริการให้เป็นมากกว่าสายการบิน หรือนำเสนอการบริการรูปแบบครบวงจร ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงที่พัก ร้านอาหาร พ่วงดีลไปยังผู้ประกอบการที่อยู่ในวงจรธุรกิจเดียวกันมากขึ้น อีกทั้งในแง่ของผู้บริโภคเองก็คุ้มค่ากว่า ถ้าซื้อบริการแบบเหมาๆ หรือแม้แต่การออกแคมเปญ ลดราคา 20-70%  จูงใจให้คนออกมาเที่ยวและเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้น แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาสายการบินในประเทศนิยมจะจัดโปรฯเรียกแขกกันแบบนี้บ่อยๆ แต่ก็ยังเป็นไม้ตายเดิมๆที่ยังได้ผล ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย  

เมื่อธุรกิจสายการบิน ต้องทำได้มากกว่าขายตั๋ว?

หารายได้เสริมเพิ่มเติมจากขายตั๋ว

        จุดเด่นของสายการบิน นอกจากเรื่องการบริการ ภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปแล้ว แต่ละสายการบินยังมีของเด็ดของตัวเองที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ เช่น บางกอกแอร์เวย์ ที่มีเมนูเด็ดเป็น"ข้าวต้มมัด"  "ตุ๊กตาหมี" ที่จะเปิดขายสินค้าเหล่านี้ในลักษณะดิลิเวอร์รี  และที่ผ่านมา การบินไทย ที่เปิด "ครัวการบิน" ซึ่งนอกจากการขายปาท่องโก๋ ใน 7 สาขา สร้างรายได้เดือนละ 10 ล้านบาท การผลิตกระเป๋าจากชูชีพและผ้าใบยางหมดอายุ เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้คือการปรับตัวของผู้ประกอบการสายการบินในยุค "New Normal" หลังโควิด ที่แท้จริง 




เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ