หนี้ท่วมใช่ไหม?ปรับโครงสร้างหนี้เถอะ ช่วยให้จ่ายต่อเดือนสบายขึ้น!
แชร์วิธีปรับโครงสร้างหรือ และการรวมหนี้หรือ"debt consolidation "ของสถาบันการเงิน มีประโยชน์อย่างไรเหมาะกับลูกหนี้ประเภทไหน?
ภาระหนี้สินเป็นเรื่องที่ทำให้เครียดอยู่ไม่น้อย ไหนจะหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ยิ่งวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายๆครอบครัวได้รับผลกระทบ บางรายอาจถึงขั้นต้องตกงาน ขณะเดียวกันมาตรการพักชำระหนี้ช่วงโควิด-19 ของหลายๆแบงก์ก็ทยอยสิ้นสุดมาตรการกันไปแล้ว ซึ่งหากกรณีที่เราได้รับผลกระทบหนักจริง ๆ ไม่สามารถจ่ายค่างวดได้เท่าเดิม และใกล้จะเป็นหนี้ NPL เข้าไปทุกที การปรับโครงสร้างหนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้เลยก็ว่าได้
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ทางออกคือต้องรีบแก้!! โดยให้รีบไปเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเจ้าของหนี้ของเรา เพื่อไม่ให้เสียประวัติข้อมูลเครดิต ซึ่งธนาคารอาจพิจารณามาตรการช่วยเหลือที่ต่างกันไปในแต่ละคน แต่ละแบงก์ก็มีหลายทางเลือก เช่น
- การช่วยยืดเวลาผ่อนชำระหนี้ออกไป เพื่อให้เราชำระค่างวดลดลง
- รีไฟแนนซ์ปิดสินเชื่อจากที่เดิม เพื่อใช้สินเชื่อใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่าหรือ ผ่อนต่อเดือนลดลง
- เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อดอกเบี้ยสูง เป็นสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่า
- เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเสริมสภาพคล่อง และสำรองไว้ยามฉุกเฉิน
- ลดอัตราดอกเบี้ยที่เคยตกลง หรือกำหนดไว้ในสัญญา เพื่อลดภาระดอกเบี้ย
- ให้เราปิดหรือชำระหนี้เร็วขึ้น
- ยก หรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้ค่างวดที่ผ่อนเข้ามาสามารถตัดเงินต้นได้มากขึ้น
cr:Pixabay
อย่างไรก็ตามการขอปรับโครงสร้างหนี้นี้ เหมาะกับลูกหนี้ที่มีสินเชื่อประเภทต่าง ๆ กับสถาบันทางการเงินอยู่แล้ว เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด แต่ไม่สามารถผ่อนชำระในอัตราเท่าเดิม แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการอื่น ๆ แล้วก็ตาม อีกทั้งเงื่อนไขหรือระยะเวลายังขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งอีกด้วย
โดยทางเลือกที่ยกตัวอย่างในข้างต้น มีหนึ่งทางเลือกที่ทางแบงก์ชาติและสถาบันการเงินเพิ่งจะออกมาเมื่อไม่นานนี้ นั่นก็คือการทำ "debt consolidation " หรือ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการรวมหนี้ของสถาบันการเงิน
cr:ธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรการนี้สามารถนำสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่เราเป็นหนี้อยู่กับแบงก์นั้นๆ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อ มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อใช้เป็นหลักประกัน ซึ่งจะช่วยให้ลูกหนี้สามารถลดอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น ให้เหลือไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามความสามารถของลูกหนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เช็กก่อน!ข้อดี-ข้อเสีย รีไฟแนนซ์บ้านก่อนยื่นกู้!!
- อยากแก้หนี้?ต้องเริ่มที่ ปรับ'Mindset'
- แชร์เทคนิครีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นหนี้อีก!
ที่สำคัญคือ การทำ"debt consolidation "นี้จะช่วยลดภาระการชำระหนี้โดยที่ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น และยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะหมุนเวียนที่ยังเหลือได้ รวมทั้งไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee) ซึ่งมาตการนี้ ลูกหนี้สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการกับธนาคารเจ้าของหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564
cr:ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.comfacebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE