เทียบดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคาร คำนวณก่อนยื่นขอพักหนี้ โควิด-19นี้รอด-ไม่รอด
อัพเดทก่อนคำนวณสินเชื่อกัน! อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร ประจำเดือน เดือนเมษายน 2563 ช่วยบรรเทาผลกระทบโควิด-19 แค่ไหน
หน้ากากอนามัยก็ต้องใส่ แอลกอฮอล์เจลก็ห้ามลืมพก เดินห่างกัน 2 เมตร เชื่อว่าหลายๆคนกำลังต้องเผชิญกับการใช้ชีวิตแบบนี้ เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ดูท่าทางแล้วจะอยู่กับคนไทยไปอีกซักพักใหญ่ แม้ว่ารัฐบาลจะขอความร่วมมือ ให้ประชาชนอยู่กับบ้าน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกมาในที่สาธารณะ หรือแม้แต่ออกคำสั่งไปยังพื้นที่ จังหวัดต่างๆในการปิดเมือง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ขยันเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้รัฐบาลจำเป็นจะต้องออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ขึ้นมาคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 โดยค่อยๆเพิ่มจะดับความรุนแรงขึ้น และล่าสุด คือการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกจากบ้านในช่วง 22.00 -4.00 น. ของอีกวัน
แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบไปยังหลายส่วน ที่อาจทำให้มีการหยุดกิจการ บางกิจการต้องเลิกจ้าง ซึ่งผลกระทบมีมาก่อนหน้านี้ และลากยาวมาเรื่อยๆ เมื่อเลิกจ้างหรือลดค่าแรง ก็ขาดรายได้ ดังนั้น มาตรการเยียวยาต่างๆย่อมตามมา แต่ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของบรรดามนุษย์เงินเดือน ที่มีหนี้สิน ก็คือมาตรการจากภาคธนาคาร ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็มีธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ ไปจนถึงพักชำระหนี้ช่วยเหลือลูกค้า เพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมผลกระทบวิกฤตโควิด-19 นี้ จนเกินไป
ซึ่งวันนี้ TNN Online ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร ประจำเดือน เดือนเมษายน 2563 มาฝากกัน
หมายเหตุ: ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเปรียบเทียบจากอัตราในเดือน มี.ค.63
ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากตารางอัปเดต เดือน เมษายน 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับ เดือน มีนาคม 2563 จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะธนาคารส่วนใหญ่มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563ที่ผ่านมาแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้กู้สินเชื่อ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานกาณณ์ Covid-19 ตามมาตรการของรัฐ โดยมีอัตราลดลงอยู่ที่ประมาณ 0.1200% - 0.2500% มี ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารธนชาต ที่ปรับลดดอกเบี้ย และมีการประกาศใช้ดอกเบี้ยใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
เมื่ออัพเดทดอกเบี้ยธนาคารแล้ว จะคำนวณสินเชื่ออย่างไร
ยกตัวอย่างคร่าวๆ ว่า ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเลือกอิงไปที่ MRR ซึ่งแบงค์ชาติกำหนดไว้ที่ 7% ในรายละเอียดของสินเชื่อระบุไว้ว่าผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังนี้: ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 5% ปีที่ 2 MRR-0.25% ปีที่ 3 MRR-0.25%
สมมติว่า นาย เอ มียอดเงินกู้ (principal) คือ 1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยข้างต้น นายเอ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ 1 = 1,000,000 x 5% = 50,000 บาท, ปีที่ 2=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท, ปีที่ 3=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท ดังนั้น ยอดรวมดอกเบี้ย 3 ปี ที่ นายเอ จะต้องชำระคือ 180,000 บาท นั่นเอง
แต่ทั้งนี้ จำนวนดอกเบี้ยจะลดตามเงินต้นที่นายเอ สามารถเอาไปโปะกับธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งจะต้องศึกษาดูสัญญาสินเชื่อให้ดี เพราะบางธนาคารจะมีค่าปรับหากเลือกปิดเงินต้นก่อนระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด และอัตรา MRR, MLR สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเมื่อเราคำนวณได้แล้วก็จะสามารถเอาไปคำนวณรายจ่าย ภาระต่างๆที่ต้องจ่าย หากดูแล้วไม่ไหว ก็ปรึกษาธนาคารเจ้าของหนี้ อาจจะขอพักหนี้ไปก่อน ก็เป็นทางรอดอีกทางในช่วงที่เราต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในยุค โควิด 2019 นี้
มีหลายธนาคารช่วยพักหนี้สูงสุด 3 เดือน
เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นี่เอง ก็ได้ทำให้หลายธนาคารออกมาตรการมาช่วยลูกค้าเช่นกัน ล่าสุด ที่นำร่องพักหนี้ให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติ คือ ธนาคารออมสิน ที่ลูกค้าไม่ต้องเสี่ยงออกมานอกบ้าน เพื่อมายื่นเอกสาร โดยจะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้โดยอัตโนมัติ เป็นเวลา 3 เดือน ให้กับลูกค้าเงินกู้ทุกรายที่มีชำระตรงตามกำหนดทุกเดือน หรือลูกหนี้ชั้นดี จนถึงที่มีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 สำหรับลูกค้าสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเคหะ ที่มีเงินต้นคงเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท และสินเชื่อSMEs ที่มีเงินต้นคงเหลือไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2563
ตามมาด้วย ธนาคารกรุงไทย ที่พักชำระหนี้ให้ 3 เดือนเช่นกัน แต่เจ้านี้จะต้องยื่นเอกสารผ่านเว็บไซต์ และคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งก็ดีไม่น้อยในภาวะแบบนี้ ส่วนลูกค้าธนาคารอื่นๆ ก็สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่แต่ละธนาคารได้ ทั้งคอลเซ็นเตอร์และทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ
เซพค่าใช้จ่ายแล้วอย่าลืมเซพตัวเอง อย่าลืมกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง หากจำเป็นต้องออกไปเผชิญโลกภายนอก โควิด-19 นี้ เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
- ไขข้อข้องใจ!ลงทะเบียนรับเยียวยา 5 พัน แบบไหนสำเร็จ-ไม่สำเร็จ
- รวมให้แล้ว! มาตรการเยียวยาโควิด-19 จากรัฐบาล
- 10 ความจริง "ประกันการใช้ไฟฟ้า" ก่อนลงทะเบียนใช้สิทธิขอคืน
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand