TNN วัณโรค กินยาไม่ครบ  อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  

TNN

TNN Exclusive

วัณโรค กินยาไม่ครบ  อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  

วัณโรค กินยาไม่ครบ   อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  

วัณโรค กินยาไม่ครบ อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ? ข่าวนี้จริงไหม TNN Exclusive จะพาไปหาคำตอบกับ พญ.วรวรรณ ศิริชนะ สาขาวิชาโรคทางการหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

พญ.วรวรรณ ศิริชนะ ระบุว่า เป็นเรื่องจริง โดยให้ข้อมูลว่า วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ โดยการกินยาให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยหลงลืม หรือกินยาคลาดเคลื่อน ทำให้เชื้อวัณโรคอาจกลายเป็นเชื้อดื้อยาได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้การรักษามีประสิทธิภาพน้อยลง หรืออาจจะรักษาไม่หาย จึงต้องเปลี่ยนยาในการรักษา ทำให้ต้องกินยานานกว่าเดิม 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง ผลข้างเคียงของยาอาจจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยวัณโรคต้องกินยาให้ครบตามที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ 


วัณโรค กินยาไม่ครบ   อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  


วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดต่อที่พบว่าเป็น 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตในคนทั่วโลก เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งไม่เพียงทำให้เกิดวัณโรคปอด แต่ยังส่งผลให้เกิดวัณโรคกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เป็นต้น คุณหมอย้ำว่า สามารถรักษาให้หายได้แต่ระยะเวลาการรักษาอาจจะแตกต่างกัน


วัณโรค กินยาไม่ครบ   อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  



เป็นวัณโรคแล้ว สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ?

พญ.วรวรรณ ยกตัวอย่างกรณีที่รักษาครบแล้ว โรคหายแล้ว อาจจะมีเชื้อบางส่วนซ่อนอยู่ หากภูมิคุ้มกันดี ร่างกายก็จะสามารถควบคุมได้ไม่ทำให้เกิดโรคใหม่ แต่หากภูมิคุ้มกันแย่ลง มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ แต่ถ้าเชื้อเดิมเหลือน้อยมากโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำก็น้อยเช่นกัน ในขณะเดียวกันหากเชื้อดื้อยา ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้กลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นกว่าเดิม 

วัณโรค กินยาไม่ครบ   อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  


แนวทางป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากวัณโรค ?

-หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน 

-หากสัมผัสคนที่เป็นวัณโรค เช่น เพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัว ควรรับการตรวจวินิจฉัย พร้อมสังเกตอาการ เช่น หากมีอาการไอผิดปกติ เกิน 3 สัปดาห์ ควรจะไปพบแพทย์

วัณโรค กินยาไม่ครบ   อาจดื้อยา เสี่ยงเป็นซ้ำ ?  


ผู้ป่วยวัณโรคควรปฏิบัติตนอย่างไร 

-ผู้ป่วยจะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่ผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่รับประทานยา 

-ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หากหยุดยาเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคดื้อยา และจะทำให้การรักษายากกว่าเดิม นอกจากนี้มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อวัณโรคดื้อยาไปสู่ผู้อื่นที่ยังไม่เคยป่วยเป็นวัณโรค ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในปัจจุบัน


เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ 
ผู้สื่อข่าว คอลัมน์ ข่าวนี้จริงไหม ?

getty images
ช่างภาพTNN ช่อง16

#วัณโรค #ดื้อยา #ปอดอักเสบ #หมอจุฬา #ข่าวนี้จริงไหม#เป้ธัญรมณ #tnn #tnnonline 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง