TNN 'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'

TNN

TNN Exclusive

'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'

'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'

'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'


จากกรณีในสังคมออนไลน์ มีการแชร์คลิปชาวต่างชาติขับรถหรู พาสิงโตชมวิวกลางเมืองพัทยา ส่งผลให้ชาวบ้านนักท่องเที่ยวและคนใช้รถใช้ถนนต่างตกใจกลัว จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการนำสัตว์ดุร้ายมาเลี้ยง และมายังแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเกรงว่าจะเกิดอันตราย


จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบ ผู้ขับรถยนต์ คันดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งมีการนำลูกสิงโตซึ่งที่อยู่ระหว่างการขออนุญาตเคลื่อนย้ายมาบนรถในที่สาธารณะ และลูกสิงโตตัวดังกล่าว ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงสถานที่ครอบครอง


นอกจากนี้ตามระเบียบการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงสถานที่จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง และต้องจัดระบบอย่างเหมาะสม ปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้อื่น หรือแม้แต่การนำไปจัดแสดงหรือวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการเลี้ยงให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเคลื่อนย้ายด้วยทุกครั้ง


การกระทำดังกล่าว โดยการนำลูกสิงโต ซึ่งเป็นสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งการครอบครอง ชนิด ก (ดุร้าย) มาโชว์ในที่สาธารณะ ไม่ดูแลรักษาในสถานที่ครอบครองที่แข็งแรงปลอดภัย และเคลื่อนย้ายสิงโต โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการแจ้งและการรับแจ้ง และการครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุม 2565 โดยที่หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


สำหรับในพื้นที่ จ.ชลบุรี มีการครอบครองสิงโตและสิงโตขาวทั้งหมด 5 ราย เป็นคนไทย 4 รายและสวนสัตว์ 1 ราย รวมทั้งสิ้น 15 ตัว


นอกจากนี้ รายงานข่าวยังระบุอีกด้วยว่า สิงโตขาว ตัวนี้ ยังเป็นลูกสิงโตอายุ 5-6 เดือน ราคาจำหน่ายตกที่ตัวละ 500,000 บาท ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยและต่างชาติ



รู้หรือไม่? ‘ไทย’ เลี้ยงสิงโตได้ 


ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2565 ผู้มีสิงโตไว้ในครอบครองต้องทำการแจ้ง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยมีเอกสารหลักฐานการได้มาอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เช่น ใบนำเข้า ใบกำกับการจำหน่าย หรือใบเสร็จจากร้านค้า เพื่อยืนยันการได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ไม่สามารถใช้บันทึกแจงรายละเอียดการได้มาซึ่งสัตว์ป่าควบคุมหรือซากสัตว์ป่าควบคุมได้


ผู้ใดประสงค์ดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสิงโต ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 28 หรือค้าสัตว์ป่าควบคุม มาตรา 30 จะต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาเสนอการออกระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติในการการแจ้งการเพาะพันธุ์และค้าสัตว์ป่าควบคุม (รวมถึงสิงโต) ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และเมื่อผ่านการพิจารณา และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป 


ทั้งนี้ เนื่องจากสิงโต อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าควบคุมชนิด ก จึงต้องมีการพิจารณาจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบคอบ ในการอนุญาตให้เพาะพันธุ์และค้าสิงโตต่อไป


ไม่แจ้งการครอบครองจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'

'จากป่า มาสู่กรุง' เปิดข้อกฎหมาย 'สิงโต' นั่งเบนท์ลีย์ เมื่อ 'สัตว์ป่า' กลายเป็น 'สัตว์เลี้ยง'


เตรียมออกประกาศบุคคล ห้ามครอบครอง สิงโต-สัตว์อันตราย


นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระบุว่า กรมอุทยานฯมีแนวคิดจะห้ามบุคคลไม่ให้ครอบครองสัตว์ดุร้าย ที่อาจจะเป็นอันตรายอีกต่อไป เพราะถือว่าไม่มีความจำเป็น  


ทั้งนี้ กลุ่มสัตว์ขนาดใหญ่ ดุร้าย มี 10 ชนิด 3 กลุ่ม ได้แก่


▪️ กลุ่มสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่: เสือชีต้า / สิงโต / เสือจากัวร์


▪️ กลุ่มลิงขนาดใหญ่: กอริลล่าภูเขา / กอริลล่า / ชิมแพนซีธรรมดา / โบโนโบ้ / อุรังอุตังสุมาตรา / อุรังอุตังบอเนียว


▪️ กลุ่มงูขนาดใหญ่: งูอนาคอนดาเขียว




น่าเศร้า...เจ้าป่าเรา เหลือน้อยเต็มที


ข้อมูลจาก WWF Thailand ระบุว่าสิงโตเหลือน้อยกว่าที่คิด ปัจจุบันจำนวนสิงโตในธรรมชาตินั้นลดลงมามาก มีเหลืออยู่เพียงแค่ 23,000 ตัว ช่างน่าเศร้าที่เจ้าป่าของเรานั้นลดลงจนถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ และสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ของมันนั้นเกิดจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปทำลายที่อยู่อาศัย ล่าสัตว์ที่เป็นเหยื่อของสิงโต ล่าสิงโตอย่างผิดกฎหมาย หรือแม้กระทั่งจากการที่มนุษย์เราฆ่าสิงโตเพื่อที่จะปกป้องตนเองและสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตามถ้าเราช่วยกันเป็นกระบอกเสียงบอกต่อถึงปัญหานี้ เราก็อาจสามารถช่วยสิงโตเหล่านี้กันได้ไม่มากก็น้อย



ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช / WWF Thailand

ภาพ : ประกอบ เฟซบุ๊ก แอน อีสานรัสเซีย

ข่าวแนะนำ