“ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : วัดเส้าหลิน คัมภีร์ยุทธที่ยังมีชีวิต
“ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : วัดเส้าหลิน คัมภีร์ยุทธที่ยังมีชีวิต
“ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : วัดเส้าหลิน คัมภีร์ยุทธที่ยังมีชีวิต
“เส้าหลิน” วัดจีนที่โด่งดังไปทั่วโลก ต้นกำเนิดตำนานวิทยายุทธที่ยังคงมีชีวิต ด้วยการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนปัจจุบันมีศิษย์ “ตั๊กม้อ” เพิ่มกว่า 1 หมื่นรายในทุกปี
ติดตามได้ใน “ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : ตอน วัดเส้าหลิน คัมภีร์ยุทธที่ยังมีชีวิต
พาออกนอกเมืองลั่วหยาง ติดกันจะเป็นเมืองเจิ้งโจว นครหลวงของมณฑลเหอหนาน เป็นที่ตั้งของวัดเส้าหลิน
เส้าหลิน เป็นวัดพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.1038 จนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1,500 ปีแล้ว ยังมีผู้เลื่อมใส ศรัทธาเข้ามาที่วัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
ชื่อเสียงของวัดเส้าหลินแตกต่างจากวัดทั่วไป เนื่องจากโด่งดังด้วยการฝึกวิทยายุทธ โดยปรมาจารย์ตั๊กม้อ ที่ต้องการให้หลวงจีนมีร่างกายที่แข็งแรง จึงถ่ายทอดวิชาธรรมะ และ วิชากังฟู ให้หลวงจีนในวัด เชี่ยวชาญทั้งบุ๋นบู้ สืบทอดกันมา
กังฟูเส้าหลิน จุดเริ่มต้นเป็นการต่อสู้เลียนแบบสัตว์ 5 ชนิด คือ มังกร ที่มีความฉลาด คล่องแคล่ว ใช้พลังภายในคุมศัตรู พยัคฆ์ ใช้หมัด และกรงเล็บ โจมตีเนื้อ ข้อต่อ เสือดาว รวดเร็ว ทรงพลัง งู ล่อลวง รวดเร็ว แม่นยำ และ นกกระเรียน สง่างาม เน้นใช้ขาในการโจมตี
ทีมข่าว TNNOnline มีโอกาส ติดตามคณะนักธุรกิจ และนักแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ชมการแสดงต้อนรับจากวัดเส้าหลิน พบว่า กังฟูที่เลียนแบบท่าสัตว์ ยังคงถูกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น หมัดพยัคฑ์ หรือ ท่านี้จะ น่าจะเป็นมวยงู ส่วนท่าอื่น ๆ ที่มีการเลียนแบบสัตว์ เพิ่มเติมจาก 5 ชนิดแรก คือ ลิง และ แมงป่อง
นอกจากนี้ ยังมีการแสดงใช้อาวุธต่าง ๆ ซึ่งมีความคล่องแคล่ว และแม่นยำสูง หากไม่มีการฝึกซ้อมอย่างหนัก อาจเกิดอุบัติเหตุได้
วิทยายุทธวัดเส้าหลิน ยังโด่งดังด้านการใช้ลมปราณ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย เช่น การปาเข็มทะลุกระจก วิชาคงกระพัน ร่างกายทนต่อศาสตราวุธ และยังสามารถทำลายหินได้ด้วยมือเปล่า
ปัจจุบัน สำนักเส้าหลิน มีลูกศิษย์จำนวนมาก ทั้งที่บวชและไม่ได้บวช ไม่มีการจำกัดเพศ และอายุ เด็กสุดที่เคยมาฝึกที่นี่ คือ อายุ 3 ขวบ
โดยช่วงเช้าจะท่องตำรา และช่วงบ่ายเป็นเวลาของการฝึกกังฟู แต่ละปี สามารถฝึกทักษะการต่อสู้ได้หลักหมื่นคน มีหลักสูตรระยะสั้น คือ หลักวัน และ ระยะยาว ที่บางรายฝึกมาหลายปี ศูนย์ฝึกกังฟูในเจิ้งโจวมีมากกว่า 20 แห่ง ปั้นจอมยุทธ์น้อยใหญ่ได้หลักแสนรายต่อปี ส่วนใหญ่มาฝึกเพื่อสืบสานทางวัฒนธรรม การแสดงการต่อสู้ รวมถึงรับงาน ทั้งบอดี้การ์ด และสตั๊นแมน ในหนังจีนกำลังภายในต่าง ๆ ซึ่งทุกคนล้วนช่วยสานต่อวิทยายุทธจากต้นตำหรับปรมาจารย์ตั๊กม้อ ให้ยังคงมีชีวิต
สำหรับตอนหน้า การแสดงวัฒนธรรมไทยในลั่วหยาง ทำไมถึงขายบัตรเต็มทั้ง 3 วัน และมีโอกาสเดินหน้าต่อหรือไม่ และเป็นตอนสุดท้ายในซีรี่ส์ลั่วหยางแล้ว พลาดไม่ได้
อ่านตอนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 1 l “ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : ตอน เส้นทางการค้าและเศรษฐกิจจีน 1,400 ปี
ตอนที่ 2 l “ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : ตอน ทำธุรกิจให้ชนะใจจีน จากประสบการณ์เอกชนไทย
ตอนที่ 3 l “ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : เมืองประวัติศาสตร์ สู่จุดหมายดาว Tiktok
ตอนที่ 4 l “ลั่วหยาง” ไข่มุกแห่ง “จงหยวน” : วัดเส้าหลิน คัมภีร์ยุทธที่ยังมีชีวิต