TNN เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด

TNN

TNN Exclusive

เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด

เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด

เตรียมรับลมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด “กทม.-ปริมณฑล” ต่ำสุด 15-18 องศาฯ

“ฤดูหนาวปีนี้มาช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ คาดการณ์สัปดาห์หน้าจะประกาศอย่างเป็นทางการ ส่วนช่วงนี้ภาคเหนือ ภาคอีสาน เริ่มสัมผัสอากาศเย็นกันบ้างแล้วเนื่องจากมวลอากาศเย็นจากจีนเริ่มแผ่มาปกคลุมแล้ว”

กรมอุตุนิยมวิทยาการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดจะประกาศอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนจะเข้าสู่ฤดูหนาวทางการ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2566 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 2 สัปดาห์ และปีนี้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิจะอุ่นกว่าปีทีผ่านมา


เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด

 

โดยบริเวณประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย  21 - 22 องศาเซลเซียส อุ่นขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.8 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส) ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 9 – 10 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็น ที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567 


เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด


ส่วนยอดดอยและยอดภูรวมทั้งเทือกเขา จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็ง เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง 


โดยเกณฑ์การพิจารณาการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย


1.อุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์ อากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป (อุณหภูมิต่ำสุด < 23.0 เซลเซียส) อย่างต่อเนื่อง

2.ลมระดับล่าง (ที่ความสูงประมาณ 100-3,500 ม.) เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมตะวันออก ส่วนลมระดับบน (ที่ความสูงประมาณ 5,000 ม. ขึ้นไป) เป็นลมฝ่ายตะวันตก

3.ปริมาณและการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง


คาดหมายสถิติอุณหภูมิต่ำสุดช่วงฤดูหนาวปี 2566 – 2567

สถิตินี้ไม่รวมอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งบริเวณเทือกเขา


ภาคเหนือ ( ธันวาคม – มกราคม )

เชียงราย     อุณหภูมิต่ำสุด 9-11 องศาเซลเซียส

เชียงใหม่      อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส

น่าน        อุณหภูมิต่ำสุด 9-11 องศาเซลเซียส

พิษณุโลก    อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ธันวาคม – มกราคม )

สกลนคร    อุณหภูมิต่ำสุด 9-11 องศาเซลเซียส

นครพนม    อุณหภูมิต่ำสุด 9-11 องศาเซลเซียส

นครราชสีมา    อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส

อุบลราชธานี    อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส


ภาคกลาง ( ธันวาคม – มกราคม )

นครสวรรค์    อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส

สุพรรณบุรี    อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส

กาญจนบุรี    อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส

กรุงเทพมหานคร     อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส

จังหวัดปริมณฑล    อุณภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส


ภาคตะวันออก ( ธันวาคม – มกราคม )

สระแก้ว        อุณภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส

ชลบุรี        อุณภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส


ภาคใต้ ( ธันวาคม – มกราคม )

ประจวบคีรีขันธ์    อุณภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส

ภูเก็ต        อุณภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส


โดยเกณฑ์อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาว 

อากาศเย็น อุณหภูมิ 16.0 - 22.9  องศาเซลเซียส

อากาศหนาว อุณหภูมิ  8.0 - 15.9  องศาเซลเซียส

อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่่ากว่า 8.0  องศาเซลเซียส


สำหรับลักษณะอากาศทั่วไป ในช่วงแรกของฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก)  มีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางแห่ง และมีโอกาสเกิดฝนฟ้าคะนองได้ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางและตะวันออก และอาจมีลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทย จากนั้นจนถึงปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น 


เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด


เตรียมหนาวสัปดาห์หน้า เปิดสถิติจังหวัดไหนอุณหภูมิต่ำสุด


ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรง เป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร 


ช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจจะมีหย่อมความกดอากาศต้ำ หรือพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้เกิดขึ้นได้


เรียบเรียงโดย   มัชรี ศรีหาวงศ์ 

ข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพข่าว : ภูมิภาคTNN16


ข่าวแนะนำ